แจงเกิลป็อป
แจงเกิลป็อป | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | ป็อปร็อก |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | ปลายทศวรรษที่ 1950 และกลางทศวรรษที่ 1960 สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา |
แจงเกิลป็อป (อังกฤษ: jangle pop) เป็นแนวเพลงย่อยของป็อปร็อก ที่เน้นเสียงกีตาร์ที่แหลมเหมือนระฆัง (มักจะเป็นกีต้าร์ไฟฟ้า 12 สาย[1]) และทำนองเพลงป็อปในทศวรรษ 1960[2] แม้ว่าวง Everly Brothers และ Searchers จะได้วางรากฐานให้กับแจงเกิลป็อป วงเดอะบีเทิลส์ (The Beatles) และเดอะเบิดส์ (The Byrds) มักให้ถูกให้เครดิตในฐานะผู้ริเริ่มที่ทำให้เสียง "jangly" เป็นที่แพร่หลาย โดยเฉพาะเพลง "Mr. Tambourine Man" ที่ชื่อแจงเกิลป็อปได้มาจากเนื้อร้อง "jingle-jangle morning" ที่มาพร้อบเสียงกีตาร์เหมือนระฆัง[1] แม้จะมีวงอื่นในภายหลังที่ได้อิทธิพลจากเดอะเบิดส์ พวกเขาไม่ได้ทำเพลงโฟล์กร็อกเหมือนที่เดอะเบิดส์ทำ[3]
ในช่วงต้นถึงกลางทศวรรษที่ 1980 แจงเกิลป็อป ได้ปรากฏตัวเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวของโพลต์พังก์อเมริกันที่กลับมาใช้เสียง "jangly" จากทศวรรษที่ 1960 ระหว่างปี 1983 ถึง 1987 แจงเกิลป็อป ในอเมริกาใช้ในการอธิบายถึงวงดนตรี เช่น อาร์.อี.เอ็ม. (R.E.M.) และ เลตส์แอคทีฟ (Let's Active) รวมถึง เพสลีย์อันเดอร์กราวนด์ (Paisley Underground) ที่เป็นแนวย่อยซึ่งรวมกับไซเคเดลิก[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 LaBate, Steve (December 18, 2009). "Jangle Bell Rock: A Chronological (Non-Holiday) Anthology… from The Beatles and Byrds to R.E.M. and Beyond". Paste. สืบค้นเมื่อ July 24, 2016.
- ↑ Wilkin, Jeff (August 19, 2015). "British band Life in Film sounds off on 'Jangle Pop'". The Daily Gazette. สืบค้นเมื่อ July 24, 2016.
- ↑ Unterberger, Richie (2003). Eight Miles High: Folk-rock's Flight from Haight-Ashbury to Woodstock. Backbeat Books. pp. 293–. ISBN 978-0-87930-743-1.
- ↑ "Jangle Pop". AllMusic. สืบค้นเมื่อ March 8, 2017.