เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โขนเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
| |
ประวัติ | |
---|---|
ประเทศไทย | |
ชื่อ |
|
ตั้งชื่อตาม | โขนเรือที่จำหลักและปิดทองเป็นรูปนาคจำนวนมาก |
สัญลักษณ์ | |
ลักษณะเฉพาะ | |
ประเภท: | เรือพระที่นั่งศรี |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 15 ตัน |
ความยาว: | 45.5 เมตร |
ความกว้าง: | 3.15 เมตร |
กินน้ำลึก: | 0.46 เมตร |
ความลึก: | 1.11 เมตร |
ลูกเรือ: | 75 |
หมายเหตุ: |
ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธง 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน ฉัตร 7 คน |
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งรอง ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ลักษณะเด่นคือมีโขนเรือเชิดเรียว ไม่ได้สร้างเป็นรูปสัตว์ในตำนาน แต่จำหลักและปิดทองเป็นรูปนาคจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า อเนกชาติภุชงค์ (อเนก หมายถึง จำนวนมาก, ชาติภุชงค์ หมายถึง เผ่าพันธุ์นาค)
ประวัติ
[แก้]เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านี้ไม่ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่งลำนี้ จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรี ในลำดับชั้นรอง ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินลำลอง ภายหลังนำเข้าขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง
โขนเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปนาคเล็ก ๆ จำนวนมาก ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีชมพู ยาว 45.50 เมตร กว้าง 3.15 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก .46 เมตร กำลัง 3.50 เมตร ใช้ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คน ถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน
คนเห่ คือ พนักงานขานยาว คนถือธง เรียกว่า นักสราช เรือพระที่นั่งศรี หรือ เรียกเต็ม ๆ คือ เรือพระที่นั่งศรีสักราช
ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ริมคลองบางกอกน้อย ใกล้สะพานอรุณอมรินทร์
วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567 การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เสด็จประทับเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์