เมืองโบราณแสลงโทน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
เมืองโบราณแสลงโทน ตั้งอยู่หมู่ที่ 1–7 แสลงโทน ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเมืองที่มีการอาศัยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย และมีการทิ้งร้างไประยะหนึ่ง จึงมีชุมชนในละแวกใกล้เคียงเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยซ้อนทับชุมชนเมืองโบราณเดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 เริ่มมีการศึกษาจากกรมศิลปากร
เมืองโบราณแสลงโทน ตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2445 โดยห่างจากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 25 กิโลเมตร
ลักษณะทั่วไป
[แก้]จากภาพถ่ายทางอากาศและหลักฐาน ทางโบราณคดีที่พบแสดงให้เห็นว่า เมืองโบราณแสลงโทน มีการอาศัยมาตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย เป็นเมืองโบราณที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 หรือ ประมาณ 2,000 - 1,500 ปี ช่วงนี้จะอาศัยกันอยู่อย่างไม่หนาแน่นนัก มีการขุดคูน้ำหรือคูเมืองละลม เป็นคูเมืองเก่าล้อมรอบชุมชนและกำแพงดินเป็น 3 ชั้น เพื่อใช้ป้องกันภัยศัตรู ผู้รุกราน และเพื่อกักเก็บน้ำและอาหาร ลักษณะของผังเมืองจะเป็นรูปวงรีวางตามแนวตะวันออก ตะวันตก ขนาดสูงของกำแพงดิน 5-7 เมตร มีพื้นที่ในเขตเมืองโบราณโดยประมาณทั้งสิ้น 1.19 ตารางกิโลเมตร และยังพบหลักฐานต่างๆทางโบราณคดี เช่น ใบเสมาในเขตเมืองโบราณแสลงโทน ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่มคือ ภายในกำแพงเมือง 2 กลุ่ม ที่บริเวณศาลเจ้าพ่อแสลงโทน และโคกพระนอนหน้าโรงพักตำรวจ ส่วนอีกกลุ่มอยู่นอกคูเมืองด้านทิศเหนือ ลักษณะใบเสมาทั้ง 3 กลุ่มเป็นหินทรายสีขาวและแดงแบบรูปทรงธรรมชาติ ปักกระจายทั่วบริเวณหนึ่ง โดยไม่กำหนดทิศทางมีทั้งที่ปักคู่และปักเดี่ยว และยังพบหินศิลาแลง หินทรายสีชมพูในบริเวณศาลเจ้าพ่อแสลงโทนและโคกพระนอนหน้าโรงพักตำรวจ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เทวรูปเก่านอกจากนี้ยังพบหลักฐานอื่นที่สำคัญ คือ สระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมในเขตวัดแสลงโทน 2 สระ เป็นต้น ใกล้คันดินด้านที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงโทนในปัจจุบัน มีเนินดินซึ่งมีก้อนหินศิลาแลงกระจัดกระจายแต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อแสลงโทน เรียกว่า ศาลปู่เจ้าหรือกระท่อมเนียะตา เป็นศาลเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวแสลงโทนและชาวใกล้เคียง สร้างด้วยไม้ระแนง หลังคามุงกระเบื้องและพื้นเป็นปูนซีเมนต์ และบริเวณเนินดินโรงพักตำรวจชุมชนตำบลแสลงโทนเช่นเดียวกัน สันนิษฐานว่าทั้งสองแห่งน่าจะเป็น ปราสาทแสลงโทนและมีพระพุทธรูปบางไสยาสน์ศิลาทราย ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เคยเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชนโบราณ ถูกรื้อหมดสภาพ ทั้งคูน้ำคันดิน (ที่เหลืออยู่ริมทางหลวง) และเนินดินศาลเจ้าพ่อแสลงโทน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว[1][2][3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรมศิลปากร. 2532. "แผนที่ทางโบราณคดีจังหวัดบุรีรัมย์". มปท. หน้า 97
- ↑ วารสารบทความทางวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปกร http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/68_8.pdf
- ↑ ข้อมูลพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา เข้าถึงออนไลน์ทาง http://koratmuseum.com/download/pitakchai.pdf