ข้ามไปเนื้อหา

เผด็จการประชาธิปไตยของปวงชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เผด็จการประชาธิปไตยของปวงชน (จีน: 人民民主专政; พินอิน: Rénmín Mínzhǔ Zhuānzhèng) เป็นถ้อยคำของเหมาเจ๋อตง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน[1] ที่กล่าวไว้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1949 ในโอกาสครบรอบ 28 ปีของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ ต่อมามีการนำคำนี้ไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางพรรคได้ยกคำพูดนี้ดำเนินกิจการของรัฐในนามของประชาชน

เหมาเจ๋อตงมีความเชื่อว่าอำนาจควรอยู่ในมือของชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้น และการที่จะพิทักษ์ระบอบแบบนั้นไว้ได้ การควบคุมแบบเบ็ดเสร็จโดยพรรคคอมมิวนิสต์รวมถึงการใช้อำนาจปราบปรามฝ่ายต่อต้านถือเป็นสิ่งจำเป็น[2] ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์เสื่อมถอยไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเหมาเรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยชนชั้นกระฎุมพี” ซึ่งเป็นระบอบที่เต็มไปด้วยนักการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน และ ขัดแย้งกับวิถีสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "CONSTITUTION OF THE PEOPLE'S REPUBLIC OF CHINA". People's Daily Online. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23. The People's Republic of China is a socialist state under the people's democratic dictatorship led by the working class and based on the alliance of workers and peasants.
  2. Meisner, Maurice, Mao's China and After 3rd Edition, (New York: The Free Press, 1999), pp. 58-60.

ดูเพิ่ม

[แก้]