เบลล์ เอเอช-1ซี ไวเปอร์
เอเอช-1ซี ไวเปอร์ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เฮลิคอปเตอร์จู่โจม |
ชาติกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บริษัทผู้ผลิต | เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ |
สถานะ | อยู่ในการพัฒนา |
ผู้ใช้งานหลัก | กองนาวิกโยธินสหรัฐ |
ประวัติ | |
เริ่มใช้งาน | พ.ศ. 2552 |
เที่ยวบินแรก | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2543 |
สายการผลิต | เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา |
เบลล์ เอเอช-1ซี ไวเปอร์ (อังกฤษ: Bell AH-1Z Viper) (บางครั้งก็เรียก"ซูเปอร์คอบรา") เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบสองเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานมาจากเอเอช-1ดับบลิว ซูเปอร์คอบราซึ่งถูกพัฒนาให้กับกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ เอเอช-1ซีมีสี่ใบพัด ระบบใบพัดแบบผสม และระบบจับเป้าแบบใหม่[1] เอเอช-1ซีเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเอช-1 มันยังถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า"ซูลูคอบรา"
การพัฒนา
[แก้]จุดเริ่มต้นของเอช-1ซีย้อนกลับไปถึงเบลล์ 249ในปีพ.ศ. 2522 ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเอเอช-1เอสที่ติดตั้งระบบใบพัดสี่ใบที่มาจากเบลล์ 412 เฮลิคอปเตอร์นี้สาธิตการออกแบบคอบรา 2ในงานฟาร์นโบโรแอร์โชว์ในปีพ.ศ. 2523 คอบรา 2 ติดตั้งขีปนาวุธแบบเฮลไฟร์ ระบบจับเป้าแบบใหม่ และเครื่องยนต์ที่ได้รับการพัฒนา ต่อมาก็มีข้อเสนอของคอบรา 2000 ซึ่งรวมทั้งเครื่องยนต์เจเนรัลอิเลคทริค ที700 และใบพัดสี่ใบ การออกแบบนี้ดึงดูดความสนใจของนาวิกโยธินสหรัฐฯ แต่การให้ทุนก็ยังไม่เกิดขึ้น ในปีพ.ศ. 2536 เบลล์ได้เสนอโครงการสร้างเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบมห่ให้กับสหราชอาณาจักรโดยเป็นรุ่นเอเอช-1ดับบลิว การออกแบบที่พัฒนานี้มีชื่อว่าคอบราวีนอม มันมีห้องนักบินดิจิตอลที่ทันสมัยและสามารถบรรทุกขีปนาวุธโทว์ เฮลไฟร์ หรือขีปนาวุธกำมะถันได้ การออกแบบคอบราวีนอมถูกปรับเปลี่ยนในปีพ.ศ. 2538 โดยการเป็นเป็นระบบสี่ใบพัด อย่างไรก็ตามการออกแบบก็ต้องแพ้ให้กับเอเอช-64ดีในเวลาต่อมา[2]
ในปีพ.ศ. 2539 นาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้เริ่มโครงการพัฒนาเอเอช-1 ขึ้นโดยทำสัญญากับเบลล์ เฮลิคอปเตอร์เพื่อทำการพัฒนาเอเอช-1ดับบลิวจำนวน 180 เครื่องและยูเอช-1เอ็นให้กลายเป็นยูเอช-1วาย[2][3] โครงการเอช-1 ได้สร้างเฮลิคอปเตอร์จู่โจมที่ทันสมัยและมีประโยชน์พร้อมกับการออกแบบที่ลดค่าปฏิบัติการลง เอเอช-1ซีและยูเอช-1วายมีส่วนหาง เครื่องยนต์ ระบบใบพัด อากาศกลศาสตร์ ซอฟต์แวร์ การควบคุม และรูปร่างที่เหมือนกันมากกว่า 84%
เบลล์ได้มีส่วมร่วมกับรัฐบาลทำทีมทดสอบในช่วงการพัฒนาวิศวกรรมการผลิตที่เป็นขั้นตอนหนึ่งของโครงการเอช-1 โครงการเอเอช-1ซีดำเนินไปอย่างช้าๆ ตั้งแต่พ.ศ. 2539 จนถึง 2546 โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการวิจัยและพัฒนา[2] ระบบสองใบพัดแบบกึ่งแข็งถูกแทนที่ด้วยระบบสี่ใบพัดซึ่งช่วยเพิ่มการทำงานให้ดีขึ้น ความเร็วสูงสุด อัตราการไต่ระดับ กระสุน และลดการสั่นสะเทือนของใบพัด[4]
เอเอช-1ซีทำการบินครั้งแรกในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2543[5] อากาศยานต้นแบบสามลำถูกส่งให้กับศูนย์อากาศยานนาวิกโยธินในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 สำหรับการบินทดสอบินเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ การผลิตในระดับต่ำได้เริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 [2]จนถึงพ.ศ. 2561[6]
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เบลล์ได้รับสัญญาสำหรับเอเอช-1ซรจำนวนสี่ลำสุดท้ายเพื่อเข้ามาแทนที่แผนในการสร้างเอเอช-1ดับบลิวใหม่[7] เบลล์ได้ส่งเอเอช-1ซีในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 การผลิตอย่างเต็มกำลังคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อมาในปี 2551[8] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 กองทัพเรือที่จัดซื้ออากาศยานให้กับนาวิกโยธินได้วางแผนเสนอเพิ่มเอเอช-1ซีอีก 46 เครื่องทำให้มีจำนวนทั้งสิ้น 226 เครื่องในการสั่งซื้อ อากาศยานเพิ่มเติมจะออกมาในพ.ศ. 2553[9]
การออกแบบ
[แก้]เอเอช-1ซีมีเทคโนโลยีใบพัดแบบใหม่พร้อมกับอากาศกลศาสตร์ทางทหารที่พัฒนา ระบบอาวุธที่พัฒนา และเซ็นเซอร์แบบอิเลคทรอ-ออพติคอลในระบบอาวุธ มันมีความสามารถในการเอาตัวรอดที่ยอดเยี่ยมและสามารถหาเป้าหมายในระยะทางที่ไกลขึ้นและเข้าโจมตีพวกมันด้วยอาวุธที่มีความแม่นยำ
ระบบใบพัดใหม่ของเอเอช-1ซีมีชิ้นส่วนน้อยกว่า 75% ของระบบใบพัดแบบเก่าที่มีสี่ใบเหมือนกัน ใบพัดทำจากวัสดุผสมซึ่งเพิ่มการเคลื่อนที่ในอากาศและระบพับใบกึ่งอัตโนมัติสำหรับการบรรทุกลงในเรือ ปีกทั้งสองที่ได้รับการออกแบบใหม่ของมันยาวขึ้นพร้อมกับส่วนปลายปีที่ติดตั้งขีปนาวุธอย่างเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ได้ แต่ละปีกจะมีแท่นจรวดสำหรับขีปนาวุธไฮดรา 70 ขนาด 2.75 นิ้วสองชุดหรือเครื่องยิงขีปนาวุธเอจีเอ็ม เฮลไฟร์ 4 ลูก เรดาร์ของลองโบว์ยังสามารถติดตั้งบนปลายปีกได้[2]
แบบซีนั้นระบบการบินที่พัฒนาโดยนอร์ทธรอพกรัมแมน ระบบยังรวมทั้งคอมพิวเตอร์ภารกิจสองเครื่องและระบบควบคุมการบินอัตโนมัติหนึ่งเครื่อง ลูกเรือแต่ละคนจะมีจอแอลซีดีขนาด 8x6 นิ้วสองจอและจอขนาด 4.2x4.2 นิ้วหนึ่งจอ ระบบการสื่อสารเป็นการผสมของวิทยุอาร์ที-1824 ยูเอชเอฟ/วีเอชเอฟ คอมเซค (COMSEC) และโมเด็มในหนึ่งหน่วยที่มาจากกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบบนำร่องยังรวมทั้งจีพีเอส ระบบแผนที่ดิจิตอล และระบบข้อมูลอากาศสำรอง ซึ่งทำให้อาวุธทำงานได้ในขณะที่ลอยตัวอยู่[4]
ลูกเรือจะสวมหมวกแบบ"ท็อปโอว์" (Top Owl)[1] ท็อปโอว์สามารถมองได้ทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืนและกล้องส่องทางไกลที่มองได้ 40° เอเอช-1ซีมีเครื่องมีในการอยู่รอดที่รวมทั้งระบบลออินฟราเรดเวลาลอยตัว (Hover Infared Suppression System) เพื่อปกปิดไอเสียของเครื่องยนต์ ระบบเรดาร์เตือนภัย ระบบเตือนขีปนาวุธ และระบบเตือนเลเซอร์
ระบบจับเป้าของล็อกฮีด มาร์ตินได้ร่วมกับเซ็นเซอร์เอฟแอลไออาร์รุ่นที่สาม ระบบจับเป้าจะค้นหาเป้าหมายได้ทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืนหรือในสภาพอากาศที่ไม่เป็นมิตร ระบบมีแบบการมองที่หลากหลายและสามารถตามเป้าได้ด้วยเอฟเอลไออาร์หรือด้วยโทรทัศน์
ประวัติการใช้งาน
[แก้]เอเอช-1ซีได้ผ่านการทดสอบทางทะเลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548[10] ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2548 กองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้ตกลงรับเฮลิคอปเตอร์เอเอช-1ซีเครื่องแรกเข้ากองเรือ[11] ในช่วงสามเดือนแรกของปีพ.ศ. 2549 อากาศยานดังกล่าวถูกย้ายไปที่หน่วยทำการทดสอบเพื่อทำการทดสอบการบินของมัน[12] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เอเอช-1ซีและยูเอช-1วายเริ่มการทดสอบครั้งที่สองและครั้งสุดท้าย[13]
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]- เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ (226 เครื่อง) [14]
- กองทัพอากาศเช็กเกีย (จัดหา 4 เครื่อง)
- กองทัพอากาศบาเรห์เรน (จัดหา 12 เครื่อง)
เคยจัดหาแต่ถูกยกเลิก
[แก้]- กองทัพบก มีโครงการจัดหา เฮลิคอปเตอร์โจมตี แบบ AH-1Z Viper เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์ AH-1F ที่กองทัพบกมีใช้งานอยู่จำนวน 8 ลำ แต่เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณที่มีการตัดลดงบประมาณในส่วนของงบจัดหาอาวุธจำนวนมากในปี 2564 และกองทัพบกจะถูกตัดอีกในปี 2565 อย่างน้อย 5.9 พันล้านบาท ทำให้กองทัพบกน่าจะยกเลิกการจัดหาเฮลิคอปเตอร์โจมตี และปรับงบประมาณไปจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ UH-60A ซึ่งเป็นอากาศยานมือสองแทน
รายละเอียด
[แก้]- ลูกเรือ 2 นาย; นักบิน 1 นักบินผู้ช่วย/พบปืน 1
- ปริมาณสูงสุดที่รับได้ 3,021 กิโลกรัม
- ความยาว 17.8 เมตร
- เส้นผ่าศูย์กลางใบพัด 14.6 เมตร
- ความสูง 4.37 เมตร
- น้ำหนักเปล่า 5,580 กิโลกรัม
- น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 8,390 กิโลกรัม
- ขุมกำลัง เครื่องยนต์เจเนรัลอิเลคทริค ที700-จีอี-401ซี เทอร์โบชาฟท์ 1,800 แรงม้าสองเครื่อง
- ระบบใบพัด ใบพัดหลักสี่ใบ ใบพัดหางสี่ใบ
- ความเร็วสูงสุด 296 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- พิสัย 685 กิโลเมตร
- ระยะทำการต่อสู้ 231 กิโลเมตรพร้อมกระสุน 1,130 กิโลกรัม
- เพดานบิน 20,000 ฟุต
- อัตราการไต่ระดับ 2,790 ฟุตต่อนาที
- อาวุธ
- ปืนแกทลิ่งแบบเอ็ม197 สามลำกล้องขนาด 20 ม.ม. 1 กระบอกในป้อมแบบเอ/เอ49อี-7 (บรรจุกระสุน 750 นัด)
- จรวดไฮดรา 70 ขนาด 2.75 นิ้ว ติดตั้งในเครื่องยิงแบบแอลเอยู-68ซี/เอ 7 ลูกหรือแอลเอยู-61ดี/เอ 19 ลูก
- ขีปนาวุธ
- ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ 1 ลูกติดอยู่ที่ปลายปีกแต่ละข้าง (ทั้งหมด 2)
- ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นแบบเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ 8 ลูกในเครื่องยิงขีปนาวุธแบบเอ็ม272 ชุดละ 4 ลูกมีสองชุด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Bell AH-1Z page เก็บถาวร 2007-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Bell Helicopter, Retrieved 3 January 2008.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Donald, David. Modern Battlefield Warplanes. AIRTime Publishing, 2004. ISBN 1-880588-76-5.
- ↑ Bishop, Chris. Huey Cobra Gunships. Osprey Publishing, 2006. ISBN 1-84176-984-3.
- ↑ 4.0 4.1 AH-1W/AH-1Z Super Cobra Attack Helicopter, USA, Airforce-Technology.com. Retrieved 14 January 2008.
- ↑ "AH-1Z completes first flight", Bell Helicopter, 7 December 2000.
- ↑ "AH-1Z/UH-1Y complete developmental testing" เก็บถาวร 2008-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy, 6 March 2006.
- ↑ Warwick, Graham. "Bell AH-1Z upgrade to switch to new airframes", Flightglobal.com, 15 February 2008.
- ↑ "Bell H-1 upgrade program delivers two UH-1Y and one AH-1Z in February", Bell Helicopter, 3 March 2008.
- ↑ Trimble, Stephen (2008-08-22). "US Navy proposes more UH-1Ys, AH-1Zs despite test phase setback". flightglogal.com. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.
- ↑ "AH-1Z/UH-1Y complete first sea trials" เก็บถาวร 2008-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy, 13 June 2005.
- ↑ "Bell 449 SuperCobra and KingCobra", Jane's Information Group, 7 December 2005.
- ↑ "AH-1Z/UH-1Y Start OPEVAL" เก็บถาวร 2008-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Navy, 6 May 2006.
- ↑ Warwick, Graham. "US Marine Corps' Bell AH-1Z and UH-1Y enter final test phase", Flightglobal.com, 20 February 2008.
- ↑ "USMC Helos Breach Cost Overrun Law"[ลิงก์เสีย], aviationweek.com, 23 January 2009.