ข้ามไปเนื้อหา

เทศกาลโคมไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศกาลโคมไฟ
บรรยากาศกลางคืน เทศกาลโคมไฟในไทเป
ชื่อทางการYuánxiāo jié (元宵節) / Shàngyuán jié (上元節)
ชื่ออื่นเทศกาลซ่างหยวน เทศกาลหยวนเซียว
จัดขึ้นโดยชาวจีน
ประเภทวัฒนธรรม, ศาสนา
ความสำคัญMarks the end of ปีใหม่ทางจันทรคติ
การถือปฏิบัติปล่อยโคมกระดาษ
วันที่ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย (ปีจันทรคติ)
วันที่ในปี 20235 กุมภาพันธ์
วันที่ในปี 202424 กุมภาพันธ์
วันที่ในปี 202512 กุมภาพันธ์
ส่วนเกี่ยวข้องChinese people

เทศกาลโคมไฟ เป็นเทศกาลฉลองในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติ เป็นสัญลักษณ์ของวันสุดท้ายในการฉลองเทศกาลปีใหม่ของจีนตามปฏิทินทางจันทรคติ ในเทศกาลโคมไฟ เด็กๆ จะถือโคมไฟกระดาษ ออกไปวัดกันในตอนกลางคืน และพากันทายปริศนาที่อยู่บนโคมไฟ เรียกว่า ไชเติงหมี

ในสมัยโบราณ, โคมไฟจะทำเป็นรูปแบบง่ายๆ จะมีเพียงแต่ของกษัตริย์ และขุนนางเท่านั้นที่จะมีโคมไฟที่หรูหราใหญ่โต แต่ในสมัยปัจจุบัน, โคมไฟได้ถูกประดับประดาด้วยรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น. ตัวอย่างเช่น มักจะทำโคมไฟเป็นรูปสัตว์ต่างๆ โคมไฟมักจะทำเป็นสีแดงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี.

ในฮ่องกง, ยกให้วันนี้เปรียบเสมือนกับวันวาเลนไทน์ ในบางแห่งเทศกาลไหว้พระจันทร์ ก็จะถูกรู้จักกันในชื่อของเทศกาลโคมไฟเหมือนกัน เช่น Singapore และ Malaysia

ประวัติ

[แก้]
Lantern Festival
อักษรจีนตัวเต็ม元宵節
อักษรจีนตัวย่อ元宵节
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม上元節
อักษรจีนตัวย่อ上元节
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2)
ภาษาจีน十五暝
ความหมายตามตัวอักษรfifteenth night

ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติเรียกว่า เดือนหยวน, และในสมัยก่อนเรียกเวลากลางคืนว่า เซียว ในภาษาจีนกลาง ดังนั้น ในประเทศจีนวันนี้จึงถูกเรียกว่า เทศกาลหยวนเซียว ในวันที่ 15 ของเดือนแรกในปีจันทรคตินี้เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ตามประเพณีของลัทธิเต๋าวันที่ 15 ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติ เรียกว่า ซ่างหยวน ตรงกับคำเรียก "เทพแห่งฟ้า" ท่านเป็นผู้ที่ชอบแสงสว่าง และวัตถุแห่งความสุข ดังนั้น ผู้คนจึงได้แขวนโคมไฟสีสันสวยงามนับพันๆ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณท่าน ในปัจจุบันผู้คนจะมีการละเล่นแก้ปริศนาที่อยู่ในโคมไฟ และกินขนมบัวลอยในเทศกาลหยวนเซียว เรียกว่า ขนมทังหยวน และครอบครัวก็มีการมารวมตัวกันอย่างมีความสุข.

ตำนานกำเนิด

[แก้]

มีความเชื่อที่หลากหลายต่างๆ กันเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลโคมไฟ. อย่างไรก็ตาม มีหนึ่งตำนานที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ก่อกำเนิดจริงๆ คือ "ความมืดลงของฤดูหนาว" และ ผู้คนในชุมชนสามารถที่จะ "ลบความมืดนั้นออกไปด้วยแสงสว่างที่เกิดจากฝีมือมนุษย์" ที่เรียกว่า โคมไฟ ในสมัยของราชวงศ์ฮั่น เทศกาลนี้มีความเชื่อมโยงกับเทพเจ้าไท่อี่, เทพเจ้าแห่งดาวขั้วฟ้าเหนือ

Red lanterns, often seen during the festivities in China

มีหนึ่งตำนานบอกว่า มันคือช่วงเวลาของการบูชาเทพเจ้าไท่อี่ เป็นเทพเจ้าแห่งฟ้า เชื่อว่าเทพแห่งฟ้านี้คือผู้กุมโชคชาตะชีวิตของมนุษย์. ท่านมีมังกร16 ตัวอยู่ที่หลัง ยามที่เกิดภัยแล้ง พายุ โรคระบาดในมนุษย์ ก็จะต้องเรียกให้ท่านช่วย นับตั้งแต่กษัตริย์จินซีฮ่องเต้ กษัตริย์องค์แรกของจีน มาจนถึงกษัตริย์ทุกพระองค์จะต้องมีการจัดเทศกาลฉลองอย่างสวยงามในทุกๆ ปี โดยที่กษัตริย์ก็จะขอให้เทพเจ้าไท่อี่ดลบรรดาลให้อากาศดี และสุขภาพร่างกายแข็งแรงจงเกิดกับตัวเขาเองและประชาชน[1]

กษัตริย์ฮั่น หวู่ตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น มีความสนใจในเทศกาลนี้มาก. ในปีคริสต์ศักราช 104 เขาได้ประกาศให้เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดเทศกาลหนึ่ง และให้มีการเฉลิมฉลองกันตลอดทั้งคืน.

ตำนานเทศกาลโคมไฟอีกอันหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับลัทธิเต๋า เทียนกวน เป็นเทพแห่งลัทธิเต๋ารับผิดชอบเกี่ยวความโชคดี ท่านเกิดตรงกับวันที่ 15 ในเดือนแรกของปีจันทรคติ. กล่าวกันว่าท่านเทียนกวนชอบความบันเทิงทุกประเภท ดังนั้นผู้ที่นับถือจึงจัดเตรียมกิจกรรมความสนุกที่หลากหลายในเวลาที่ขอพรให้ตนเองโชคดี.

ตำนวนเทศกาลโคมไฟอีกอันหนึ่ง ก็จะมีที่เกี่ยวข้องกับนักรบที่ชื่อว่า Lan Moon, เขาเป็นผู้นำการก่อกบฏต่อต้านกษัตริย์เผด็จการสมัยจีนโบราณ เขาถูกฆ่าลงท่ามกลางพายุกลางเมือง และการทำกบฏสำเร็จจึงได้ใช้ชื่อเขาเป็นชื่อเทศกาลเพื่อเป็นอนุสรณ์ .

ตำนานเทศกาลโคมไฟอีกอันหนึ่ง กล่าวถึงนกกระเรียนสวยงามที่บินลงมาจากสวรรค์สู่โลกมนุษย์ หลังจากที่บินลงถึงโลกมนุษย์ก็ถูกฆ่าตายโดยชาวบ้านของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทำให้พระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ ที่อยู่บนสวรรค์โกรธมาก เพราะท่านโปรดปรานนกกระเรียนมาก ดังนั้นท่านจึงได้วางแผนจะให้เกิดพายุไฟขึ้นในหมู่บ้านแห่งนั้นในวันที่ 15 เดือนแรกของปีจันทรคติ ลูกสาวของพระเจ้ายวู่ฮ่วงต้าตี้ทราบเข้า จึงได้ไปเตื่อนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนั้น ชาวบ้านต่างวุ่นวายโกลาหลเพราะไม่มีใครรู้ว่าจะหนีจากภัยที่กำลังใกล้เข้ามานี้ได้ยังไง อย่างไรก็ตาม ก็มีชายผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดจากหมู่บ้านอื่นมาแนะนำให้ทุกบ้านจงแขวนโคมไฟสีแดงรอบๆ บ้าน ก่อกองไฟบนถนน และจุดประทัดในวันที่ 14 15 และ 16 แบบนี้ก็จะทำให้หมู่บ้านนี้ปรากฏแสงไฟต่อพระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ และแล้วในวันที่ 15 กองกำลังทหารก็ถูกส่งลงมาจากสวรรค์เพื่อมาทำลายล้างหมู่บ้านนี้ เหล่าทหารก็ได้เห็นว่าหมู่บ้านเต็มไปด้วยแสงไฟที่ร้อนแรง ก็เลยกลับไปรายงานพระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ ทำให้ พระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้เกิดความพอใจ และไม่คิดจะเผาทำลายหมู่บ้านนี้อีก จากวันนั้นเป็นต้นมา ผู้คนก็ฉลองในวันที่ 15 ในเดือนแรกของปีจันทรคติของทุกปี ด้วยการแขวนโคมไฟตามถนน และจุดประทัด ดอกไม้ฟ.[ต้องการอ้างอิง]

ตำนานเทศกาลโคมไฟอีกอันหนึ่ง เกี่ยวข้องกับสาวใช้ที่ชื่อ หยวนเซียว ในสมัยราชวงศ์ฮั่น Han Dynasty, ตงฟางซั่ว Dongfang Shuo คือ ขุนนางคนโปรดของกษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้ ในฤดูหนาวปีหนึ่งเขาได้เดินไปในสวนและได้เห็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่งกำลังร้องไห้ และกำลังจะโดดลงไปในบ่อน้ำเพื่อฆ่าตัวตาย ตงฟางจึงได้ห้ามเธอไว้และถามว่าทำไมจึงคิดฆ่าตัวตาย เธอบอกว่าเธอชื่อหยวนเซียว เป็นสาวใช้ในวัง และตั้งแต่เธอมาทำงานในวัง เธอก็ไม่มีโอกาสได้ไปเยี่ยมครอบครัวเลย ถ้าเธอไม่มีโอกาสได้แสดงความกตัญญู filial piety ต่อครอบครัว เธอก็ตายซะดีกว่า ตงฟางสัญญากับเธอว่าจะหาวิธีทำให้เธอได้กลับไปเยี่ยมครอบครัวให้ได้ ตงฟางจึงแอบออกจากวังและไปตั้งโต๊ะทำนายดวงชะตาบนถนน จากปากต่อปากทำให้ประชาชนต่างมาให้เขาทำนายกันมากมาย แต่ทุกคนก็ได้คำทำนายเดียวกันคือ จะเกิดไฟหายนะในวันที่ 15 ของเดือนแรกในปฏิทินจันทรคติ. ข่าวลือแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว.[ต้องการอ้างอิง]

ทุกคนต่างกังวลเกี่ยวกับคำทำนายและขอให้ตงฟางช่วย ตงฟางจึงบอกว่า ในวันที่ 13 เทพเจ้าแห่งไฟจะส่งนางฟ้าชุดแดงขี่ม้าดำลงมาเผาเมือง. เมื่อประชาชนเห็นนางฟ้าจะต้องร้องขอความเมตตาจากท่าน ในวันนั้นหยวนเซียวแกล้งปลอมตัวเป็นนางฟ้าชุดแดง. เมื่อประชาชนร้องขอให้เธอช่วย เธอบอกว่าเธอได้รับคำสั่งจากเทพเจ้าแห่งไฟให้มาจับตัวกษัตริย์ไป หลังจากที่เธอจากไป ประชาชนจึงเข้าไปในวังและกล่าวทูลว่าบ้านเมืองจะถูกเผาในวันที่ 15. กษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้ขอคำแนะนำจากตงฟางว่าควรทำอย่างไรดี ตงฟางบอกว่าเทพเจ้าแห่งไฟชอบกินทังหยวน tangyuan (sweet dumplings). หยวนเซียวควรจะทำทังหยวนในวันที่ 15 และกษัตริย์ควรจะต้องสั่งให้ทุกบ้านทำทังหยวนเพื่อบูชาแก่เทพเจ้าแห่งไฟในวันนั้นด้วย และในเวลาเดียวกันทุกบ้านควรจะต้องแขวนโคมไฟสีแดงและจุดประทัด. และท้ายสุดคือทุกคนในวัง และประชาชนภายนอกในเมืองควรจะถือโคมไฟของตนเองเดินไปตามถนนเพื่อชมการตกแต่งโคมไฟและดอกไม้ไฟ. พระเจ้ายวู่ฮวงต้าตี้ก็จะถูกหลอกจากอุบายกลลวงนี้และทุกคนก็จะรอดพ้นจากไฟไหม้.

กษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้พอใจกับแผนการนี้. โคมไฟถูกประดับไปทั่วเมืองในคืนวันที่ 15 ประชาชนเดินไปตามถนน เสียงประทัดดังไปทั่ว มันดูราวกับว่าในเมืองถูกไฟเผา พ่อแม่ของหยวนเซียวเข้ามาในวังเพื่อดูการตกแต่งโคมไฟจึงทำให้ได้เจอกับลูกสาวอีกครั้ง. กษัตริย์ฮั่นหวู่ตี้ได้สั่งให้ประชาชนควรจะต้องทำแบบนี้ทุกๆ ปี และนับตั้งแต่นั้นมาที่หยวนเซียวได้ทำขนมทังหยวน ประชาชนก็เลยต่างพากันเรียกเทศกาลนี้ว่า เทศกาลหยวนเซียว.

ตามหาความรัก

[แก้]

ในวันแรก หนุ่มสาวจะออกมาเดินตามท้องถนนเพื่อหวังที่จะตามหารัก แม่สือต่างทำงานกันวุ่นวายในการจับคู่ ความสว่างของโคมไฟเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความโชคดีและความหวัง เมื่อเวลาผ่านไป แม้ระยะเวลาในการเฉลิมฉลองจะสั้นลงแต่เทศการนี้ก็ยังคงมีความสำคัญในประเทศจีน และยังคงเปรียบเสมือนเทศกาลแห่งความรัก Valentine's Day ในฮ่องกงอีกด้วย.

หยวนเซียว

[แก้]

菜饭吃ในเทศกาลโคมไฟ, ทังหยวน '湯圓' คือ ข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ ข้างในใส่ไส้ถั่วแดงหวานๆ, งา หรือ ถั่วเนย ลงไป.[2] ชาวจีนมีความเชื่อว่ารูปร่างกลมๆ ของทังหยวนและชามกลมๆ ที่บรรจุทังหยวน เป็นสัญลักษณ์ของการอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวของคนในครอบครัว และการกินทังหยวนจะเป็นการนำความสุข และ โชคดีให้กับครอบครัวในปีใหม่.[3]

ในศตรวรรษที่ 6 และหลังจากนั้น

[แก้]
Lanterns in Qinhuai Lantern Fair

จนกระทั่งถึงยุคของราชวงศ์สุย Sui Dynasty ในศตวรรษที่ 6 กษัตริย์หยางตี้ Yangdi ได้เชิญทูตจากประเทศอื่นๆ มายังประเทศจีน เพื่อมาร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ และชมแสงสีอันสวยงามจากการแสดงโคมไฟ.[4]

ในช่วงเริ่มต้นของราชวงศ์ถัง Tang Dynasty ในศตวรรษที่ 7, จะมีการฉลองโคมไฟกันนานถึง 3 วัน กษัตริย์ยกเลิกเคอร์ฟิว และอนุญาตให้ประชาชนสนุกสนานกับเทศกาลโคมไฟทั้งกลางวันและกลางคืน ดังนั้นจึงไม่ยากเลยที่จะหาบทกลอนจีนที่บรรยายถึงบรรยากาศความสุขของเทศกาลนี้.[4]

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง Song Dynasty, จะมีการฉลองเทศกาลโคมไฟนาน 5 วัน และกิจกรรมได้เริ่มมีการแพร่กระจายไปยังเมืองใหญ่ๆ ในจีน. แก้วสีสันสวยงาม และแม้กระทั่งหยก jade ก็ได้ถูกนำมาทำเป็นโคมไฟ พร้อมด้วยภาพวาดพื้นบ้านลงบนโคมเหล่านั้น.

อย่างไรก็ตาม การฉลองเทศกาลโคมไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 15. โดยมีระยะเวลาการฉลองยาวนานถึง 10 วัน. กษัตริย์เฉิงจู่ Emperor Chengzu ได้ให้จัดพื้นที่ใจกลางเมืองเป็นศูนย์กลางการจัดแสดงโคมไฟ. แม้แต่ในวันนี้ ก็ยังคงมีสถานที่ในปักกิ่ง Beijing ที่เรียกว่า เติงซื่อโข่ว Dengshikou. ในภาษาจีน Chinese, เติง deng หมายถึง โคมไฟ และ ซื่อ shi หมายถึงตลาด. พื้นที่นี้กลายเป็นตลาดที่จำหน่ายโคมไฟในตอนกลางวัน ส่วนตอนกลางคืนประชาชนก็จะมาที่นั่นเพื่อชมความสวยงามของแสงจากการแสดงโคมไฟ.

ในวันนี้ การแสดงโคมไฟก็ยังคงเป็นการจัดงานที่สำคัญในวันที่ 15 ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติทั่วทั้งประเทศจีน. ตัวอย่างเช่น เมืองเฉิงตู Chengdu ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวนของจีน China's Sichuan Province, มีการแขวนโคมไฟทุกปีในสวนสาธารณะ. ในช่วงของเทศกาลโคมไฟ สวนสาธารณะนี้จะเต็มไปด้วยทะเลโคมไฟ. รูปแบบโคมไฟแบบต่างๆ เป็นที่ดึงดูดผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก. โคมไฟที่เป็นจุดสนใจที่สุดคือ โคมไฟมังกรขั้วโลก. มันเป็นโคมรูปร่างมังกรทองที่ม้วนตัวขึ้นไปบนเสาสูง 38 เมตร และพ่นไฟออกจากปากของมัน. เมืองหางโจว Hangzhou และ เซี่ยงไฮ้ Shanghai มีการนำไฟฟ้าและนีออนมาทำโคมไฟโดยใช้กระดาษและไม้พื้นเมืองมาเป็นส่วนประกอบคู่กัน. กิจกรรมที่เป็นที่นิยมในเทศกาลนี้คือ การเดาปริศนาที่อยู่ในโคมไฟ (ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลนี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง Tang Dynasty).[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งโคมไฟจะบรรจุภายในไปด้วยข้อความที่แสดงถึงความโชคดี ความกลมเกลียวในครอบครัว การเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง และความรัก.[ต้องการอ้างอิง] เหมือนกับฟักทองแกะสลักลงในโคมไฟแจ๊คในเทศกาลฮาโลวีนของโลกตะวันตก, ส่วนพ่อแม่ชาวเอเซียบางทีจะสอนเด็กๆ ให้แกะสลักลงตรงกลางที่กลวงของหัวไช้เท้า Oriental radish /mooli/ หัวไช้เท้าในโคมไฟไช้เท้า daikon into a Cai-Tou-Lantern (จีนตัวย่อ: 营菜头灯; จีนตัวเต็ม: 營菜頭燈; พินอิน: yíng cai tóu dēng) ในเทศกาล.

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "元宵节来历:曾是中国狂欢节 古时曾放假十天" (ภาษาจีนตัวย่อ). 凤凰网. 2012-02-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-06. สืบค้นเมื่อ 2012-02-06.
  2. World Religions at Your Fingertips. Penguin Group.
  3. Wei, Liming (2011). Chinese Festivals. Cambridge University Press. pp. 25–28. ISBN 9780521186599. สืบค้นเมื่อ February 15, 2014.
  4. 4.0 4.1 Ning, Qiang (2011). Art, Religion, and Politics in Medieval China: The Dunhuang Cave of the Zhai Family. University of Hawaii Press. p. 131.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]