เดฟ มัสเทน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดฟ มัสเทน
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเดฟ สก็อต มัสเทน
เกิด13 กันยายน ค.ศ. 1961
ที่เกิดลาเมซา, รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงเฮฟวีเมทัล, แทรชเมทัล
อาชีพนักร้อง, นักกีตาร์, โปรดิวเซอร์เพลง, นักแต่งเพลง, ผู้จัดการวง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง, กีตาร์
ช่วงปีค.ศ. 19782002
ค.ศ. 2004–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงเลาด์, คอมแบท, แรงชุเออรี, โรดดรันเนอร์, เทรดคราฟต์
เว็บไซต์www.megadeth.com

เดวิด สก็อต "เดฟ" มัสเทน (อังกฤษ: Dave Scott Mustaine) หรือ เดฟ มัสเทน (เกิด 13 กันยายน ค.ศ. 1961 – ) เป็นนักกีตาร์และนักร้องชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักในฐานะอดีตมือกีตาร์หลักแห่งวงเมทัลลิกา และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวงเมกาเดธ[2] โดยอยู่ในตำแหน่งนักร้องนำและมือกีตาร์หลัก

มัสเทนเป็นเจ้าของเทคนิค "สไปเดอร์คอร์ด" (Spider chord) ซึ่งได้รับความนิยมช่วงหนึ่งในยุค 80 สำหรับแนวจังหวะเพลงแทรชเมทัล มีลักษณะคือการตัดทอนเสียงจากสายสตริงในขณะริฟฟ์กีตาร์ ที่ต้องการเปลี่ยนคอร์ดสตริงในหลายๆครั้ง[3]

ในเดือนมีนาคม 2004 นิตยสารกีตาร์เวิร์ด ได้มีการจัดอันดับมือกีตาร์เฮฟวีเมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล โดยนิตยสารให้มัสเทนร่วมกับมาร์ตี ไฟรด์แมน อดีตสมาชิกวงเมกาเดธ เป็นมือกีตาร์เฮฟวีเมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันดับร่วม 19 จาก 100[4]

ประวัติ[แก้]

เดวิด มัสเทน เกิดในลาเมซา รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นบุตรชายของ เอมิลี และจอห์น มัสเทน พ่อของเขาเป็นลูกครึ่งฝรั่งเศสและฟินแลนด์ และแม่ของเขาเป็นยิว[5]

การร่วมวง[แก้]

เมทัลลิกา[แก้]

มัสเทน ได้เข้าร่วมวงเมทัลลิกา ในปี 1981 จากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของ เดอะ ไซเคิล (The Cycle) ที่ลาร์ส อุลริช มือกลองและ เจมส์ เฮทฟิลด์ นักร้องนำและริทึมกีตาร์ สองผู้ร่วมก่อตั้งวงเมทัลลิกา ได้ประกาศรับสมัครมือกีตาร์หลักร่วมวง ซึ่งมัสเทนก็ได้เป็นสมาชิกในเวลาต่อมา[6] ตามมาด้วยคลิฟฟ์ เบอร์ตัน มือเบส

ในปี 1982 เมทัลลิกา ก็ได้ออกอัลบั้ม คิลเอ็มออล (Kill 'Em All) ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกของวง ได้สำเร็จ และนับเป็นอัลบั้มเดียวและสุดท้ายที่มัสเทน ร่วมเล่นเป็นมือกีตาร์หลักให้ จากปัญหานิสัยส่วนตัวของมัสเทนและการติดแอลกอฮอล์และสารเสพติดหนัก[7][8] ตำแหน่งมือกีตาร์หลักจึงเปลี่ยนเป็นเคิร์ก แฮมเม็ตต์แทน

เมกาเดธ[แก้]

วงได้ก่อตั้งในปี 1983 ร่วมกับ เดวิด เอลเลฟสัน มือเบส และได้เปิดตัวอัลบั้มแรก "คิลลิงอีสมายบิซซิเนส...แอนด์บิซซิเนสอีสกอด!" (Killing Is My Business... and Business Is Good!) ในปี 1985 โดยได้ คริส โปแลนด์ เป็นมือกีตาร์หลัก และการ์ ซามูเอลสัน เป็นมือกลอง

ในสมัยที่ มาร์ตี ไฟรด์แมน (Marty Friedman) เป็นมือกีตาร์ร่วมกับมัสเทน นับเป็นยุคทองครั้งสำคัญของวงเมกาเดธ ที่มีการออกอัลบั้มฮิตมากมายเช่น "รัสต์อินพีซ" (Rust in Peace) ที่มีเพลงฮิตโดยเฉพาะเพลง "โฮลีวอรส์...เดอะพันนิชเมินท์ดิว" (Holy Wars... The Punishment Due) ที่ใช้จังหวะเปิดด้วยการริฟฟ์กีตาร์คู่ระหว่างไฟรด์แมนและมัสเตนที่รวดเร็วเป็นเวลากว่า 2.26 นาทีและคั่นกลางด้วยกีตาร์โปร่งโดยมาร์ตี ไฟรด์แมน ตามมาด้วยจังหวะช้า ก่อนจะกลับไปสู่จังหวะเร็วตามสไตล์แทรชเมทัลอีกครั้ง อัลบั้ม "เคาท์ดาว์นทูเอ็กซ์ทินชัน" (Countdown to Extinction) เปิดตัวด้วยการติดอันดับที่ 2 บนบิลบอร์ด 200[9] มีเพลงดังอย่าง ซิมโฟนีออฟเดสตรัคชัน (Symphony of Destruction) อัลบั้ม "ยูธานาเซีย" (Youthanasia) อัลบั้ม "คริฟท์ทิง ไรท์ทิง" (Cryptic Writings) ที่มีเพลงดังอย่าง "ทรัสท์" (Trust) ซึ่งประสบความสำเร็จมากที่สุดของเมกาเดธด้วยการไต่อันดับ 5 บนบิลบอร์ดเมนสตรีมร็อคชาร์ท

ภายหลังออกอัลบั้ม "ริสก์" (Risk) ซึ่งเป็นอัลบั้มสุดท้ายที่มีมาร์ตี ร่วมวงด้วย เมกาเดธก็มีการเปลี่ยนแปลงมือกีตาร์รอง รวมถึงมือกลองบ่อยครั้ง แต่วงก็ยังคงออกผลงานอัลบั้มออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีมัสเทนและเอลเลฟสัน เป็นสองสมาชิกที่ยังคงยืนหยัดร่วมกับวงมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องกันเองก็ตามระหว่างเอลเลฟสันกับมัสเทนในปี 2005[10] ทำให้มีช่วงหนึ่งที่เอลเลฟสันออกจากวง ทำให้อัลบั้ม "เดอะซิสเตมแฮสเฟลเลด" (The System Has Failed) อัลบั้ม "ยูไนเต็ด แอบบอมิเนชันส์" (United Abominations) และอัลบั้ม "เอนเกม" (Endgame) แต่สุดท้ายก็กลับมารวมอัดเสียงอีกครั้งในปี 2011 ในอัลบั้ม "เทอร์ทีน" (Thirteen)

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.nme.com/news/megadeth/56538
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-06. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-05.
  4. http://www.blabbermouth.net/news/guitar-world-s-100-greatest-heavy-metal-guitarists-of-all-time/
  5. http://www.spin.com/articles/see-dave-mustaines-10-most-prized-possessions-including-mini-horse/
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-15. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
  8. http://headbangkok.com/dave-mustaine-shouldnt-have-punched-james-hetfield-in-mouth/
  9. http://www.allmusic.com/album/countdown-to-extinction-mw0000082896/awards
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-10. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.