ข้ามไปเนื้อหา

ชาวเศรปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เชอร์ปา)
ชาวเศรปา
ผู้หญิงชาวเศรปาใส่ชุดพื้นเมือง
ประชากรทั้งหมด
520,000[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
เนปาล, จีน (เขตปกครองตนเองทิเบต), บังกลาเทศ, ภูฏาน, อินเดีย (สิกขิม, อรุณาจัลประเทศ, อัสสัม, Darjeeling)
ภาษา
เศรปา, เนปาล, ทิเบต
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (93%) และส่วนน้อยนับถือศาสนาฮินดู, Bön และศาสนาคริสต์
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
Hyolmo, Jirels
ชาวเศรปาลูกหาบของทีมพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์

เศรปา (Sherpa) เป็นชนเผ่าในประเทศเนปาล เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะลูกหาบของทีมพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์

เศรปา มาจากคำในภาษาเศรปาว่า ཤར shar ("ตะวันออก") และ པ pa ("ผู้คน") หมายถึงคนจากทิศตะวันออกของทิเบต ชาวเศรปากลุ่มแรก เริ่มต้นสร้างชุมชนที่หุบเขาคุมบู ทางทิศตะวันออกของเนปาล ซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อค้าเร่ร่อน นำสินค้าพวกเมล็ดพืชและข้าวบาร์เลย์จากพื้นราบไปแลกกับเกลือในแถบทิเบต กระทั่งสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1959 เมื่อจีนเข้ายึดครองทิเบต[2]

ภาษา

[แก้]

ชาวเศรปาใช้ภาษาเศรปาในการสื่อสาร ภาษานี้เป็นสาขาของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า มีลักษณะผสมระหว่างภาษาถิ่นทิเบตตะวันออก (สำเนียงคัม) และภาษาถิ่นทิเบตกลาง อย่างไรก็ตาม ภาษานี้แยกจากภาษาทิเบตมาตรฐาน และไม่สามารถสื่อสารเข้าใจกับผู้พูดในนครลาซ่า[3]

ความเชื่อ

[แก้]

ชาวเศรปาเชื่อว่ายอดเขาทุกยอดล้วนมีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ และเทพเจ้าประจำถิ่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ เทพเจ้าคุมบู ยัวลา มีเทศกาลประจำหมู่บ้านคุมจูง เรียกว่า เทศกาลดุมเจ วันสุดท้ายของจะมีพิธีกรรมเต้นหน้ากาก เป็นการถวายสักการะแด่เทพเจ้าแห่งหุบเขาคุมบู และเพื่อเป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นจากหมู่บ้าน[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. POPULATION MONOGRAPH OF NEPAL VOLUME II (Social Demography). Government of Nepal, Central Bureau of Statistics. 2014. pp. 10–156. ISBN 978-9937-2-8972-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2019.
  2. 2.0 2.1 ประสาน อิงคนันท์ (กรกฎาคม 1999). "เชอร์ปาคนบนหลังคาโลก". สารคดี. Vol. 15 no. 173. ภาพ: ศุภศิริ ชนินทร์วงศ์. ISSN 0857-1538.
  3. "Journée d'étude : Déserts. Y a-t-il des corrélations entre l'écosystème et le changement linguistique ?" (ภาษาฝรั่งเศส). Lacito.vjf.cnrs.fr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]