เฉาก๊วย (พืช)
เฉาก๊วย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Lamiaceae |
สกุล: | Mesona |
สปีชีส์: | M. chinensis Benth.[1] |
เฉาก๊วย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mesona chinensis) (草粿, เพ็งอิม: cao2 guê2) ในภาษาแต้จิ๋ว, เซียนเฉ่า (จีน: 仙草; พินอิน: xiāncǎo) ใน ภาษาจีนกลาง, เซียนเช่า (sian-chháu) ในภาษาฮกเกี้ยน, เหลิ่งฝันโฉว (涼粉草, loeng4 fan2 cou2) ใน ภาษาจีนกวางตุ้ง, เซืองซ้าว (sương sáo) ใน ภาษาเวียดนาม เป็นพืชในสกุล Mesona ในตระกูลเดียวกับมินต์ (พืชจำพวกสะระแหน่) มักพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ไต้หวัน ชอบขึ้นในหุบเขาที่ดินทรายแห้งมีหญ้าขึ้น[2] มีความสูงราว 15–100 ซม. ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ใบมีรูปหยาดน้ำตาและขอบหยักคล้ายใบเลื่อย[2] นิยมปลูกเพื่อใช้ทำเฉาก๊วยรับประทานเป็นอาหารว่าง[1]
การปลูกและการแปรรูป
[แก้]ต้นเฉาก๊วยปลูกบนพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อย ในไต้หวัน พืชชนิดนี้มักปลูกใต้ต้นผลไม้ในสวนผลไม้เพื่อเป็นรายได้เสริม สำหรับขั้นตอนการทำเฉาก๊วยนั้น เริ่มต้นจากการเก็บเกี่ยวส่วนที่อยู่เหนือดินทั้งหมดของต้นเฉาก๊วย จากนั้นนำมาทำให้แห้งบางส่วนและสุมขึ้นเพื่อให้มันรวมตัวกับแก๊สออกซิเจนจนกระทั่งกลายเป็นสีดำ หลังจากรวมตัวกับแก๊สออกซิเจนแล้ว ผลที่ได้จะถูกนำมาทำให้แห้งโดยตลอดและพร้อมที่จะขาย[1]