เจ้าชายนโปเลียน พระราชกุมารแห่งฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลุยส์-นโปเลียน
เจ้าชายแห่งฝรั่งเศส
หลุยส์-นโปเลียน ในปี ค.ศ. 1878 เมื่ออายุ 22 ปี
จักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส
ระยะเวลา9 มกราคม ค.ศ. 1873 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1879 (1873-01-09 – 1879-06-01)
ก่อนหน้าจักรพรรดินโปเลียนที่ 3
ถัดไปจักรพรรดินโปเลียนที่ 5
ประสูติ16 มีนาคม ค.ศ. 1856(1856-03-16)
ปารีส จักรวรรดิฝรั่งเศส
สวรรคต1 มิถุนายน ค.ศ. 1879(1879-06-01) (23 ปี)
ใกล้กับ Ulundi อาณาจักรซูลู
ฝังพระศพSt Michael's Abbey, Farnborough
พระนามเต็ม
Napoléon Eugène Louis Jean Joseph
ราชวงศ์โบนาปาร์ต
พระราชบิดาจักรพรรดินโปเลียนที่ 3
พระราชมารดาเออเฌนี เดอ มอนตีโค
ศาสนาโรมันคาทอลิก

เจ้าชายนโปเลียน พระราชกุมาร (ฝรั่งเศส: Napoléon, Prince Imperial) หรือ นโปเลียนที่ 4 เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 กับจักรพรรดินียูเจนีแห่งมอนติโจ หลังจากพระราชบิดาถูกถอดจากราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1870 ก็ได้พาพระราชวงศ์โบนาปาร์ตลี้ภัยไปประทับอยู่ในอังกฤษโดยอยู่ภายใต้พระบรมราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และตัวพระองค์เข้ารับราชการทหารในกองทัพอังกฤษ ภายหลังจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สวรรคตในปี ค.ศ. 1873 พระองค์ก็เป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส

พระองค์พระราชสมภพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1856 โดยมีพระยศว่า เจ้าชายนโปเลียน พระราชกุมาร แต่หลังระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างใน ค.ศ. 1870 พระยศของพระองค์จึงเหลือแค่ หลุยส์-นโปเลียน พระราชกุมาร แต่พวกโบนาปาร์ตนิยมมักจะเรียกพระองค์ว่า นโปเลียนที่ 4 พระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนสยามประเทศเป็นการส่วนพระองค์ใน ค.ศ. 1873

แม้ หลุยส์-นโปเลียน พระราชกุมาร จะทรงรับราชการทหารอยู่ในกองทัพอังกฤษแต่พระนางเจ้าวิกตอเรียไม่ทรงอนุญาตให้เข้าร่วมปฏิบัติการสู้รบใดๆ[1] ถึงกระนั้น เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1879 ขณะพระองค์เข้าเวรอยู่ในค่ายทหาร ณ ราชอาณาจักรซูลู (แอฟริกาใต้ในปัจจุบัน) ทันใดนั้นก็ต้องเผชิญหน้ากับหน่วยสอดแนมของซูลูโดยบังเอิญ หลุยส์-นโปเลียนหนีไม่ทันจึงเข้าต่อสู้และเสด็จสวรรคตในวัยเพียง 23 พรรษา[1] เนื่องจากพระองค์ยังไม่ได้อภิเษกสมรสและไม่มีรัชทายาท ทำให้ราชวงศ์โบนาบาร์ตสายหลุยส์ โบนาปาร์ต ต้องสิ้นสุดที่พระองค์ และสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสตกไปอยู่กับสายเจโรม โบนาปาร์ต พระอนุชาองค์สุดท้องของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ขึ้นอ้างสิทธิ์แทน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ไกรฤกษ์ นานา. "วิบากกรรม "โอรสนโปเลียนที่ ๓" ขอ "พึ่งบารมี" พระเจ้ากรุงสยาม และอวสานราชวงศ์โบนาร์ปาต". ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ พฤษภาคม 2548.
ก่อนหน้า เจ้าชายนโปเลียน พระราชกุมารแห่งฝรั่งเศส ถัดไป
นโปเลียนที่ 3
ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส
จักรพรรดิฝรั่งเศส : โบนาปาร์ตนิยม

(9 มกราคม พ.ศ. 2416 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2422)
นโปเลียนที่ 5 วิคเตอร์