ข้ามไปเนื้อหา

เคียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคียว

เคียว คือเครื่องมือทางการเกษตรชนิดหนึ่งใช้สำหรับเก็บเกี่ยวพืชผลประเภทข้าวและธัญพืช มีลักษณะเป็นมีดทำด้วยเหล็ก โค้งคล้ายตะขอและมีคมอยู่ด้านใน มีด้ามจับสำหรับถือ มีชื่อที่แตกต่างไปในแต่ละภาค เช่น ตรูด กรูด ผู้ใช้งานจะใช้เคียวเกี่ยวไปที่ฐานของต้นพืชและตัดออก เคียวแบบด้ามสั้นอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังเมื่อใช้เป็นระยะเวลานานเนื่องจากต้องยืนก้มอยู่ตลอด (ด้วยเหตุนี้จึงเรียกชาวนาว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ) จึงมีเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งคือเคียวด้ามยาว (scythe) ซึ่งมีด้ามจับยาวกว่าและไม่ต้องก้มให้ปวดหลัง

ชนิดของเคียว

[แก้]

เคียวที่ใช้ในประเทศไทยมีหลายชนิด ดังนี้ [1]

  • เคียวนกกระยาง รูปร่างคล้ายคอนกกระยาง ด้ามยาว คมค่อนข้างใหญ่ นิยมใช้เกี่ยวข้าวนาดำหรือนาหว่านที่กอไม่ใหญ่นัก
  • เคียวนกกระสา โค้งมากและยื่นยาวอย่างคอนกกระสา คมเคียวเล็กกว่าเคียวนกกระยาง เหมาะกับข้าวนาดำ
  • เคียวงู รูปร่างคล้ายหัวงู วงเคียวแคบกว่าเคียวสองแบบข้างต้น เหมาะกับการเกี่ยวข้าวฟ่าง
  • เคียวขอ มีด้ามไม้โค้งกลับกันคล้ายตัว ร ตัวเคียวเป็นเหล็กบางๆ งอเล็กน้อย คมอยู่ด้านใน เสียบกับด้ามให้โค้งเข้าหาด้ามด้านหนึ่ง นิยมใช้ในพิจิตร พิษณุโลก และบางท้องที่ที่ติดต่อกับกัมพูชา บางครั้งจึงเรียกเคียวเขมร

เทพนิยาย

[แก้]

ในตำนานเทพปกรณัมกรีก มีการปรากฏว่าโครนัส (Cronus) และเพอร์ซีอุส (Perseus) ใช้เคียวเป็นอาวุธ

อ้างอิง

[แก้]
  1. วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. เครื่องมือเกี่ยวข้าวพื้นบ้าน. ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 18 เล่มที่ 7 พฤษภาคม 2540 หน้า 30-33