ข้ามไปเนื้อหา

ฮินเดินบวร์คโอเมิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฮินเดินบวร์คโอเมิน (อังกฤษ: Hindenburg Omen) เป็นรูปแบบการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เชื่อว่าสามารถทำนายการตกอย่างรวดเร็วของตลาดหลักทรัพย์ได้[1] สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ จิม เมียกกะ (James Richard Miekka) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามวินาศภัยฮินเดินบวร์คที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 โดยเคนเนดี แกมเมจ (Kennedy Gammage) เพื่อนของเขา

ประวัติ

[แก้]

ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานส่วนใหญ่มาจากดัชนี High Low Logic Index (HLLI) ของนอร์แมน ฟอสแบค (Norman George Fosback)[2] ค่าของ HLLI คือค่าที่น้อยกว่าระหว่างค่าสูงสุดใหม่หรือค่าต่ำสุดใหม่ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก หารด้วยจำนวนของหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาด และทำการปรับเรียบโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอกซ์โพเนนเชียลที่เหมาะสม ทฤษฎีนี้ได้รับการนำเสนอโดยจิม เมียกกะ[3]

กลไก

[แก้]

รูปแบบนี้เป็นการผสมผสานของปัจจัยทางเทคนิคต่าง ๆ ที่พยายามวัดความสมบูรณ์ของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และขยายไปยังตลาดหลักทรัพย์อื่นทั่วไป เป้าหมายของตัวบ่งชี้คือการระบุความน่าจะเป็นที่เพิ่มขึ้นของการตกอย่างรวดเร็วของตลาด

เหตุผลก็คือภายใต้ "สภาวะปกติ" หลักทรัพย์จำนวนมากอาจสร้างจุดสูงสุดใหม่ประจำปีหรือจุดต่ำสุดใหม่ประจำปี แต่ไม่ใช่ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน เนื่องจากตลาดที่ดีมีระดับความสม่ำเสมอไม่ว่าจะขึ้นหรือลง การมีอยู่ของจุดสูงสุดใหม่และจุดต่ำสุดใหม่พร้อมกันอาจส่งสัญญาณถึงปัญหา

หลักเกณฑ์

[แก้]
  1. จำนวนระดับสูงสุดใหม่รายวันของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในรอบ 52 สัปดาห์ และจำนวนระดับต่ำสุดใหม่รายวันของตลาดในรอบ 52 สัปดาห์ ต่างก็มากกว่าเกณฑ์ (เสนอที่ร้อยละ 2.8)
  2. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก มีค่ามากกว่าเมื่อ 50 วันทำการซื้อขายที่ผ่านมา และอัตราการเปลี่ยนแปลง (Rate of Change, ROC) 50 วันควรเป็นค่าบวก เดิมทีค่านี้แสดงเป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 สัปดาห์ที่เพิ่มขึ้น

ตามกฎแล้ว ยิ่งเงื่อนไขที่ระบุไว้ข้างต้นเกิดขึ้นในกรอบเวลาที่สั้นลง และยิ่งจำนวนเงื่อนไขที่สังเกตได้ในกรอบเวลานั้นมากขึ้นเท่าใด ผลกระทบก็จะยิ่งรุนแรงขึ้นเท่านั้น หากมีการสังเกตสภาวะต่าง ๆ (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) เกิดขึ้นซ้ำหลายครั้งภายในไม่กี่สัปดาห์ นั่นเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนกว่าการสังเกตพบสภาวะทั้งหมดได้เพียงครั้งเดียวในช่วงระยะเวลา 30 วัน[4]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ดัชนีวิกซ์ – ดัชนีความผันผวนของตลาดซื้อขายอนุพันธ์ Chicago Board Options Exchange Market

อ้างอิง

[แก้]
  1. Russolillo, Steven (23 สิงหาคม 2010). "Yes Folks, Hindenburg Omen Tripped Again". The Wall Street Journal.
  2. Fosback, Norman (1979). "20". Stock Market Logic. ISBN 0-917604-48-2.
  3. Morris, Gregory (2005). The Complete Guide to Market Breadth Indicators: How to Analyze and Evaluate Market Direction and Strength. McGraw-Hill. p. 219. ISBN 0-07-144443-2.
  4. "Hindenburg Omen entry". Investopedia.