ฮาจาร์อีม
ด้านหน้าวิหารหลักของฮาจาร์อีม ก่อนการสร้างโครงขึงผ้าใบ | |
ที่ตั้ง | อิล-อเร็นดี มอลตา |
---|---|
พิกัด | 35°49′40″N 14°26′32″E / 35.82778°N 14.44222°E |
ประเภท | วิหาร |
ความเป็นมา | |
วัสดุ | หินปูน |
สร้าง | ประมาณ 3,700–3,200 ปีก่อน ค.ศ. |
สมัย | ระยะจกันตียา |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ขุดค้น | ค.ศ. 1839–1954 |
ผู้ขุดค้น | เจ. จี. แวนซ์ อันโตนีโอ อันเนตโต การัวนา ทิมิสโตคลีส แซมมิต ทอมัส เอริก พีต จอห์น เดวีส์ เอวันส์ |
สภาพ | ซากปรักหักพังที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี |
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ | รัฐบาลมอลตา |
ผู้บริหารจัดการ | เฮริทิจมอลตา |
การเปิดให้เข้าชม | เปิด |
เว็บไซต์ | เฮริทิจมอลตา |
วิหารหินใหญ่แห่งมอลตา (ฮาจาร์อีม) * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ทิวทัศนียภาพฮาจาร์อีมหลังการสร้างโครงขึงผ้าใบ | |
ประเทศ | มอลตา |
ภูมิภาค ** | ยุโรปและอเมริกาเหนือ |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (iv) |
อ้างอิง | 132 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1980 (คณะกรรมการสมัยที่ 4) |
เพิ่มเติม | 1992, 2015 |
พื้นที่ | 0.813 เฮกตาร์ (2.01 เอเคอร์) |
พื้นที่กันชน | 63 เฮกตาร์ (160 เอเคอร์) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ฮาจาร์อีม (มอลตา: Ħaġar Qim; แปลว่า หินตั้ง, หินบูชา) เป็นหมู่วิหารหินใหญ่แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนเกาะมอลตาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีอายุย้อนไปถึงระยะจกันตียา (3,600–3,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[1] ถือเป็นหนึ่งในศาสนสถานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[2] ใน ค.ศ. 1992 ยูเนสโกได้รับรองฮาจาร์อีมและโครงสร้างหินใหญ่อีก 4 แห่งของมอลตาให้เป็นแหล่งมรดกโลกในชื่อ "วิหารหินใหญ่แห่งมอลตา"[3] วี. กอร์ดอน ไชลด์ ศาสตราจารย์สาขาโบราณคดียุโรปก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันโบราณคดีในมหาวิทยาลัยลอนดอนระหว่าง ค.ศ. 1946–1957[4] เยี่ยมชมฮาจาร์อีมและเขียนพรรณนาว่า "ผมไปสำรวจซากปรักหักพังก่อนประวัติศาสตร์มาทั่วเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่เมโสโปเตเมียไปจนถึงอียิปต์ กรีซ และสวิตเซอร์แลนด์ แต่ผมไม่เคยเห็นสถานที่ไหนเก่าแก่เท่านี้มาก่อน"[5]
ผู้สร้างฮาจาร์อีมใช้หินปูนแพลงก์ตอนโกลบิเจอไรนาในการก่อสร้างวิหาร ด้วยเหตุนี้ วิหารจึงประสบปัญหาการผุกร่อนจากลมฟ้าอากาศและการหลุดล่อนของพื้นผิวมาเป็นเวลานับพันปี[6] ใน ค.ศ. 2009 งานขึงผ้าใบป้องกันบริเวณสิ่งก่อสร้างได้เสร็จสิ้น[7]
ภาพรวม
[แก้]หมู่วิหารหินใหญ่ฮาจาร์อีมตั้งอยู่บนขอบด้านใต้ของเกาะมอลตา บนแนวสันที่ปกคลุมด้วยหินปูนโกลบิเจอไรนาซึ่งไม่แข็งมากนัก หินปูนชนิดนี้เป็นหินที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 บนเกาะมอลตา โดยโผล่ขึ้นมาบนพื้นที่ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่เกาะ[8] ผู้สร้างฮาจาร์อีมนำหินปูนชนิดนี้มาใช้ในสถาปัตยกรรมของหมู่วิหารอย่างกว้างขวาง[9] หินทั้งหมดที่โผล่ให้เห็นบนเกาะก่อตัวขึ้นจากการทับถมในสมัยโอลิโกซีนและสมัยไมโอซีนตามการแบ่งมาตราธรณีกาล
ห่างจากหมู่วิหารออกไปไม่กี่ร้อยเมตรเป็นที่ตั้งของแผ่นป้ายอนุสรณ์แด่พลเอก วอลเตอร์ คองกรีฟ (ผู้ว่าราชการมอลตาระหว่าง ค.ศ. 1924–1927) และหอฮัมรียาซึ่งเป็นหนึ่งในหอสังเกตการณ์สิบสามแห่งที่สร้างโดยปรมาจารย์มาร์ติน เด เรดิน ส่วนหมู่บ้านอิล-อเร็นดีตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 2 กิโลเมตร
หมู่วิหาร
[แก้]หมู่วิหารฮาจาร์อีมประกอบด้วยวิหารหลักและโครงสร้างหินใหญ่ด้านข้างอีก 3 โครงสร้าง[10] วิหารหลักสร้างขึ้นในช่วงระหว่าง 3,600 ถึง 3,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช อย่างไรก็ตาม ซากปรักหักพังทางทิศเหนือนั้นมีอายุเก่าแก่กว่ามาก[11]
ด้านหน้าของวิหารมีความโดดเด่นด้วยทางเข้าที่มีโครงสร้างหินสามแท่ง (เสากับทับหลัง) แผ่นหินตั้ง และที่นั่งด้านนอก ทางเข้าจากด้านนอกยังทำหน้าที่เป็นทางเดินภายในและเชื่อมต่อห้องขนาดใหญ่ 6 ห้องเข้าด้วยกัน มุขโค้งด้านขวาสร้างเป็นช่องโค้งเพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นหินตั้งตรงหล่นเข้ามาด้านใน กำแพงด้านนอกซึ่งสร้างจากบล็อกหินตั้งขนาดใหญ่ยื่นมาเข้าด้านใน จึงทำให้อาคารมีความมั่นคงอย่างมาก[12]
จากทางเข้าด้านหน้า ปรากฏลานกว้างพร้อมกำแพงรับน้ำหนักและทางเดินผ่านกลางอาคาร[13] แต่เดิมองค์ประกอบทั้งสองได้รับการออกแบบตามสถาปัตยกรรมหินใหญ่แบบมอลตา แต่เมื่อการก่อสร้างดำเนินไปก็มีการดัดแปลงแบบไปอย่างมาก[1] ทางเข้าอีกทางหนึ่งนำไปสู่บริเวณกั้นล้อมแยกจากกัน 4 บริเวณซึ่งสร้างขึ้นแทนที่มุขโค้งด้านตะวันตกเฉียงเหนือ[14][15]
ฮาจาร์อีมมีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นฐานคล้ายคลึงกับหมู่วิหารลิมนัยดรา, ฮัลตาร์ชีน และจกันตียา รูปร่างพื้นฐานประกอบด้วยลานด้านหน้าและส่วนหน้าของอาคาร ห้องใหญ่ทรงรียาว ห้องเล็กครึ่งวงกลม และทางเดินตรงกลางที่เชื่อมระหว่างห้องต่าง ๆ โครงแบบเช่นนี้มีศัพท์เรียกกันโดยทั่วไปว่า "รูปดอกจิกสามแฉก"[16] มีการเสนอด้วยว่ารูปร่างของวิหารเลียนแบบประติมากรรมศักดิ์สิทธิ์ที่พบภายในวิหารไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง[17]
ลักษณะสถาปัตยกรรมของฮาจาร์อีมเผยให้เห็นความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้กับพิธีกรรมเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์หรือความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่รูปปั้นขนาดจิ๋วที่อ้วนท้วม ร่วมกับการวางตำแหน่งสอดรับกับแสงอาทิตย์และหินตั้งโด่แท่งหนึ่งที่มีการถกเถียงกันว่าสื่อถึงลึงค์หรือไม่[18][19] การปรากฏของแท่นบูชาที่มียอดเว้าบ่งชี้ว่าอาจเคยใช้ประกอบพิธีบูชายัญสัตว์[20] มีข้อเสนอว่าช่องประตูที่มีหินกั้นกลางวิหารอาจเป็นพื้นที่สำหรับโหร[21] ในการขุดค้นทางโบราณคดียังพบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายในพื้นที่หมู่วิหาร ตัวอย่างที่ดีที่สุดสามารถดูได้ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติ[18][21]
ไม่มีการฝังศพในวิหารหรือบริเวณโดยรอบฮาจาร์อีมและยังไม่มีการค้นพบกระดูกมนุษย์ในวิหารใด ๆ ของมอลตา[22] แต่พบกระดูกสัตว์บูชายัญจำนวนมาก คาดกันว่าการสร้างหมู่วิหารฮาจาร์อีมเกิดขึ้นในระยะ 3 ระยะตามการวิเคราะห์ทางทฤษฎี โดยเริ่มต้นจากมุขโค้งของ "วิหารเก่า" ทางทิศเหนือ ตามมาด้วย "วิหารใหม่" และในที่สุดโครงสร้างทั้งหมดก็เสร็จสมบูรณ์[23]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ผังหมู่วิหารฮาจาร์อีม
-
ภาพพิมพ์แกะลายหมู่วิหารใน ค.ศ. 1776 โดยฌ็อง-ปีแยร์ แวล
-
บริเวณหมู่วิหารยามสนธยา
-
โครงสร้างหินสามแท่งที่ทางเข้าวิหารหลัก
-
มุขโค้งห้องโหรในวิหารหลัก
-
แท่งหินและแผ่นหินที่ตกแต่งด้วยการเจาะหลุมเล็ก ๆ บนพื้นผิว
-
แท่นบูชาแกะลายต้นไม้ซึ่งสื่อถึงชีวิต
-
ภาพจำลองการก่อหลังคามุขโค้งต่าง ๆ
-
รูปปั้นหญิงอ้วนที่พบในบริเวณหมู่วิหาร
-
แผ่นหินที่ตกแต่งด้วยการแกะลายก้นหอย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Introduction". Heritage Malta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2013. สืบค้นเมื่อ 14 March 2009.
- ↑ "Malta Temples and The OTS Foundation". Otsf.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2014. สืบค้นเมื่อ 6 May 2009.
- ↑ "Megalithic Temples of Malta - UNESCO World Heritage Centre". Whc.unesco.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2013. สืบค้นเมื่อ 6 May 2009.
- ↑ "Childe, Vere Gordon (1892 - 1957) Biographical Entry - Australian Dictionary of Biography Online". Adb.online.anu.edu.au. 19 October 1957. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2011. สืบค้นเมื่อ 6 May 2009.
- ↑ Joseph S. Ellul; H.B. ExtraReverendDoctorColinJames Hamer; Creativity House; The Neith Network Library. "ÄŚaÄĄar Qim and Mnajdra (1)". Beautytruegood.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2013. สืบค้นเมื่อ 6 May 2009.
- ↑ Trump, David (2002). Malta prehistory and temples. Photographer Daniel Cilia. Midsea Books. p. 142. ISBN 978-99909-93-93-6.
- ↑ "Prehistoric temples get futuristic roof". Times of Malta. 7 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
- ↑ Euro-Mediterranean Water Information System (EMWIS) (2007). "Malta Focal Point: Geology". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2012. สืบค้นเมื่อ 14 March 2009.
- ↑ Trump. "Malta: An archaeological guide": 95.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Hagar Qim". Web.infinito.it. สืบค้นเมื่อ 6 May 2009.
- ↑ "Prehistoric Archaeology of Malta - Hagar Qim and Mnajdra Temple". Bradshawfoundation.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2014. สืบค้นเมื่อ 6 May 2009.
- ↑ "Places of Interest - Hagar Qim". Maltavoyager.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2012. สืบค้นเมื่อ 6 May 2009.
- ↑ Trump, David; Photographer Daniel Cilia (2002). Malta prehistory and temples. Midsea Books. p. 98. ISBN 978-99909-93-93-6.
- ↑ Żammit, Sir T.; K. Mayrhofer (1995). The Prehistoric Temples of Malta and Gozo. Malta.
- ↑ Żammit, Mayrhofer. "The Prehistoric Temples of Malta and Gozo": 31.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ The Megalithic Temples of Malta Draft Description (PDF), HeritageMalta.org, archived from the original เก็บถาวร 20 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Mary Marzo". Goddesshealing.com. 2 August 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2013. สืบค้นเมื่อ 6 May 2009.
- ↑ 18.0 18.1 Sultana, Sharon. The National Museum of Archaeology: The Neolithic Period. Heritage Books, 2006. ISBN 99932-7-076-8
- ↑ Stroud, Katya. Ħaġar Qim & Mnajdra Prehistoric Temples: Qrendi. Heritage Books, 2010. ISBN 978-99932-7-317-2
- ↑ Renfrew, Colin, Morley, Iain and Boyd, Michael (Eds), Ritual, Play, and Belief in Evolution and Early Human Societies, Cambridge University Press 2018, p199, ISBN 978-1-107-14356-2
- ↑ 21.0 21.1 "Places of Interest: Mnajdra". Maltavoyager.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2012. สืบค้นเมื่อ 11 March 2009.
- ↑ "Excerpts from the book". Otsf.org. 9 July 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2012. สืบค้นเมื่อ 6 May 2009.
- ↑ Frederick Muscat. "Maltese Templese". Geocities.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2009. สืบค้นเมื่อ 6 May 2009.