อีเห็น
อีเห็น | |
---|---|
อีเห็นข้างลาย (P. hermaphroditus) ซึ่งเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุลนี้เท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Viverridae |
วงศ์ย่อย: | Paradoxurinae |
สกุล: | Paradoxurus Cuvier, 1821[1] |
ชนิด | |
|
อีเห็น หรือ กระเห็น[2] (อีสาน: เหง็น; ใต้: มูสัง) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Paradoxurus ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae)
อีเห็น มีความแตกต่างจากชะมด (Viverra spp.) ซึ่งเป็นสัตว์อีกสกุลในวงศ์นี้ คือ อุ้งตีนมีลักษณะเหมาะสมสำหรับการปีนป่าย โดยเฉพาะนิ้วที่ 3 และ 4 ของตีนหลังบางส่วนมีพังผืดเชื่อมติดกัน อุ้งตีนแยกออกเป็น 4 ส่วน อีเห็นจะมีนิ้วตีนทั้งหมดที่อุ้งตีนข้างละ 5 นิ้ว มีเล็บคมยาวไว้ปีนป่าย ขนาดอุ้งตีนของอีเห็นจะเล็กกว่าชะมด เพราะอีเห็นจะปีนป่ายต้นไม้หากินมากกว่าชะมด ที่หากินตามพื้นดิน แต่ทั้ง 2 สกุลนี้ เมื่อลงพื้นดิน โดยเฉพาะดินที่อ่อนนุ่ม จะฝากรอยเท้าทิ้งเอาไว้ให้สังเกตเห็นได้ง่าย[3]
อีกทั้ง อีเห็นจะเป็นสัตว์กินพืชและผลไม้มากกว่าชะมด ขณะที่ชะมดจะกินสัตว์ต่าง ๆ เช่น กบ หรือเขียด หรือปลา เป็นอาหารมากกว่าพืช[3]
อีเห็น เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ทั้งแต่เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม มีการเลี้ยงอีเห็นในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวาน[4][5][6]
การจำแนก
[แก้]- Paradoxurus hermaphroditus (Pallas, 1777) – อีเห็นข้างลาย, อีเห็นธรรมดา
- Paradoxurus jerdoni Blanford, 1885 – อีเห็นเจอร์ดอน, อีเห็นสีน้ำตาล
- Paradoxurus zeylonensis (Schreber, 1778) – อีเห็นสีทอง
- Paradoxurus aureus F. G. Cuvier, 1822 – อีเห็นสีทองเขตชื้น
- Paradoxurus stenocephalus Colin P. Groves, & al, 2009 – อีเห็นสีทองเขตแล้ง
- Paradoxurus montanus Kelaart, 1852 – อีเห็นสีน้ำตาลศรีลังกา[7][1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Groves CP, Rajapaksha C, Mamemandra-Arachchi K (2009). "The taxonomy of the endemic golden palm civet of Sri Lanka". Zoological Journal of the Linnean Society. 155: 238–251. doi:10.1111/j.1096-3642.2008.00451.x.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ กระเห็น น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ 3.0 3.1 อีเห็นข้างลาย
- ↑ "กาแฟขี้ชะมด สุดยอดแห่งรสชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-24. สืบค้นเมื่อ 2012-12-13.
- ↑ "ชะมดเช็ด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-10. สืบค้นเมื่อ 2012-12-13.
- ↑ [https://web.archive.org/web/20130505044134/http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9520000003482 เก็บถาวร 2013-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "กาแฟขี้เพียงพอน" สินค้าราคาแพงจากเวียดนาม จากผู้จัดการออนไลน์]
- ↑ Wozencraft, W. C. (2005). "Order Carnivora". In Wilson, D. E.; Reeder, D. M. Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 550–551. ISBN 978-0-8018-8221-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Paradoxurus ที่วิกิสปีชีส์