มิสไซล์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ในการทหารสมัยใหม่ มิสไซล์ (อังกฤษ: missile) หรือศัพท์ทหารคือ อาวุธปล่อย[1] มิสไซล์มีส่วนประกอบหลักอยู่สี่ส่วน คือ ระบบกำหนดเป้าและนำวิถี, ระบบควบคุมทิศทาง, จรวดขับดัน และ หัวรบ มิสไซล์สามารถจำแนกออกได้เป็นหลายประเภทตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น มิสไซล์ผิวพื้นสู่ผิวพื้น, มิสไซล์อากาศสู่ผิวพื้น, มิสไซล์ผิวพื้นสู่อากาศ หรือ มิสไซล์อากาศสู่อากาศ โดยมิสไซล์ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดถูกออกแบบมาให้ใช้พลังงานขับดันจากการทำปฏิกิริยาเคมีภายในเครื่องยนต์จรวด, เครื่องยนต์ไอพ่น หรือเครื่องยนต์ประเภทอื่นๆ
มิสไซล์ถูกใช้งานครั้งแรกโดยเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มิสไซล์แบบแรกของโลกมีชื่อว่า จรวด วี-1 เป็นลูกระเบิดที่ติดปีกและเครื่องไอพ่นเข้าไป ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น จรวด วี-2 ที่รวมเครื่องยนต์ไอพ่นไว้ในตัว และติดตั้งครีบที่ปลายจรวดแทนปีกที่ตัดออก เป็นลักษณะสากลของมิสไซล์ที่ใช้จวบจนปัจจุบัน
การจำแนกพิสัยปฏิบัติการ
[แก้]มิสไซล์แบ่งออกเป็นสองประเภทตามลักษณะการเดินทาง ได้แก่ แบบขีปนวิทยา (ballistic) และแบบครูซ (cruise)
ขีปนาวุธ (ballistic missile)
[แก้]- ขีปนาวุธพิสัยใกล้ (Short-range ballistic missile) พิสัย 300 ถึง 1,000 กม.
- ขีปนาวุธพิสัยกลาง (Medium-range ballistic missile) พิสัย 1,000-3,500 กม.
- ขีปนาวุธพิสัยปานกลาง (Intermediate-range ballistic missile) พิสัย 3,500-5,500 กม.
- ขีปนาวุธข้ามทวีป (Intercontinental ballistic missile) พิสัยเกินกว่า 5,500 กม.
อาวุธปล่อยครูซ (cruise missile)
[แก้]- อาวุธปล่อยพิสัยใกล้ (Short-range missile) พิสัยไม่เกิน 37 กม.
- อาวุธปล่อยพิสัยยิงนอกระยะสายตา (Beyond-visual-range) พิสัยเกินกว่า 37 กม.
เทคโนโลยี
[แก้]มิสไซล์นำวิถีมีจำนวนส่วนประกอบของระบบที่แตกต่างกัน:
- การกำหนดเป้าหมายหรือการนำวิถีมิสไซล์ (missile guidance)
- ระบบการบิน
- เครื่องยนต์
- หัวรบ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พจนานุกรมศัพท์ทหาร อังกฤษ-ไทย ฉบับใช้ร่วมสามเหล่าทัพ พ.ศ. 2558 เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- S. A. Kamal: Incorporating Cross-Range Error in the Lambert Scheme เก็บถาวร 2010-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Proc. 10th National Aeronautical Conf., Edited by Sheikh SR, Khan AM, Pakistan Air Force Academy, Risalpur, KP, Pakistan, 2006, pp 255–263 Free Full Text