อาร์บีเอส-15
RBS-15 | |
---|---|
อาร์บีเอส 15 (ขวา) | |
ชนิด | ต่อต้านเรือ และ โจมตีผิวพื้น |
แหล่งกำเนิด | สวีเดน |
บทบาท | |
ประจำการ | 1985- ปัจจุบัน |
ผู้ใช้งาน | ดูที่ ผู้ใช้ |
ประวัติการผลิต | |
บริษัทผู้ผลิต | ซาบโบฟอร์สไดนามิค, Diehl BGT Defence |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 800 กก |
ความยาว | 4.33 ม |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 50 ซม |
หัวรบ | 200 กก ระเบิดแรงสูง ระเบิด |
กลไกการจุดชนวน | ฉนวนกระทบ หรือ proximity |
เครื่องยนต์ | เทอร์โบเจ็ต |
ความยาวระหว่างปลายปีก | 1.4 ม |
พิสัยปฏิบัติการ | 250 กม |
ความสูงปฏิบัติการ | เรี่ยพื้นน้ำ |
ความเร็ว | ต่ำกว่าเสียง |
ระบบนำวิถี | inertial, จีพีเอส, เรดาร์ (เจแบนด์) |
ฐานยิง | เรือผิวน้ำ, อากาศยาน ฐานยิงอาวุธปล่อยบนบก |
อาร์บีเอส-15 (โรบอตซิสเต็ม 15) เป็นอาวุธปล่อยผิวพื้นสู่ผิวพื้น, ผิวพื้นสู่อากาศ และอากาศสู่ผิวพื้น ต่อต้านเรือผิวน้ำระยะไกล ที่พัฒนามาจากรุ่น Mk. III โดยบริษัทซาบโบฟอร์สไดนามิค ประเทศสวีเดน อาร์บีเอส-15 เป็นหนึ่งในผลผลิตอาวุธปราบเรือรบเก่าแก่อีกรุ่นนึงของยุโรปผลิตโดย ซาบ-โบฟอส ไดนามิกส์ ของประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นอาวุธนำวิถีโจมตีเรือยิงจากเรือรบ ฐานยิงชายฝั่ง หรืออากาศยานปีกตรึงก็ได้เช่นกัน จัดเป็นอีกรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงอีกรุ่นนึงของโลกแต่ทำตลาดไม่ค่อยได้ แผนแบบทั่วไปคล้ายคลึงกับออตโตแมตของอิตาลีแต่เล็กกว่าเล็กน้อยและสามารถติดตั้งบนอากาศยานได้
อาร์บีเอส-15 นั้นพัฒนาเพื่อนำมาทดแทน อาร์บีโอ-8เอ กับ อาร์บี-04อี ที่พัฒนาหลังโซเวียตในช่วงทศวรรษที่ 1960 เพื่อติดตั้งกับอากาศยานขับไล่รุ่นใหม่ของสวีเดนอย่าง เจ-37 วิกเก้น และ เจเอเอส-39 กรีเพ้น ของกองทัพอากาศสวีเดน โดยสวีเดนได้ร่วมพัฒนาระบบอาวุธโจมจีเรือที่มีชื้อเสียงอย่างเพนกวิ้น มาร์ค-2 (อาร์บี-12) เฮลไฟร์ เอจีเอ็ม-114บี (อาร์บี-17)ในช่วงปี ค.ศ. 1991-92
อาร์บีเอส-15 เตรียมพัฒนาหลังจากระงับแผนการพัฒนา อาร์บี-08เอ โดยลงนามในปี 1977 พอปี 1979 จึงเริ่มลงทำการผลิตโดยก่อนหน้านี้อเมริกาและฝรั่งเศสเสนอให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ฮาร์พูน และ เอ็กซ์โซเซท ตามลำดับ แต่สวีเดนยังคงพัฒนาอาร์บีเอส-15 ต่อไป โดยในเดือนกรกฎาคมปี 1981 จึงเริ่มทำการทดสอบยิง พอถึงปี 1985 ท.ร.สวีเดนจึงสั่ง อาร์บีเอส-15 มาร์ค-1 เข้าประจำการ
อาร์บีเอส-15 มาร์ค-1 นั้นมีมิติ ดังนี้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 ซ.ม. ความยาว 4.35 ม. น้ำหนักรวมบูสเตอร์ 780 ก.ก. หัวรบระเบิดแรงสูงเจาะเกราะ 250 ก.ก. ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ต ทีอาร์ไอ 60-1-077 แรงขับ 370 ก.ก. ความเร็วโคจร 0.9 มัค ความเร็วเมื่อใช้บุสเตอร์ส่งจากท่อยิง 0.7 มัค ระยะยิง 70 ก.ม. รุ่นใช้ยิงทางอากาศระยะยิง 150 ก.ม. โดยแบ่งรุ่นดังนี้
อาร์บีเอส-15เอ็ม มาร์ค-1 ติดตั้งบนเรือ
[แก้]อาร์บีเอส-15เค มาร์ค-1 ภารกิจยิงจากชายฝั่งใช้รถปฏิบัติการ 4 คัน รถบบรทุกจรวด 2 คันๆล่ะ 4 ท่อยิง 1 คันรถเรดาห์ และ 1 คันรถบังคับการ สวีเดนสั่งเข้าประจำการปี 1993
อาร์บีเอส-15เอฟ มาร์ค-1
[แก้]อาร์บีเอส-15เอฟ มาร์ค-1 ติดตั้งกับอากาศยาน เจ-37 วิกเก้น ในปี 1989
อาร์บีเอส-15มาร์ค-1 นั้นใช้ระบบค้นหาเป้าหมายทางอิเล็คทรอนิคแบบ 9จีอาร์400 เรดาห์ เคยู-แบนด์ความถี่ 0.2-1.0 ไมโครเซค ระบบอำนวยการรบแบบ9 แอลวี200 เรดาห์มีมุมกวาดทางราบ 30 องศา ทางสูง 15 องศา
ในปี 1991 ซาบ กำหนดโครงการอัพเกรด อาร์บีเอส-15 ภายใต้ชื่อทีเอสเอ แผนอัพเกรดเทอร์น่า เพื่อให้อาวุธปล่อยสามารถลิงซ์เชื่อมต่อแก้ไขข้อมูลเป้าหมาย ระบบหัวค้นหาอินฟาเรด กล้องทีวี และระบบเรดาห์แสดงภาพเป้าหมายที่ค้นเจอ เริ่มอัพเกรดปี1993จากมาร์-1เป็นมาร์ค-2 โดยรุ่นยิงจากเรือรบชื่อ อาร์บีเอส-15เอ็ม มาร์ค-2และทำการอัพเกรดมาร์ค-1เป็นมาร์ค-2ทั้งหมดในช่วงปี1994-97ติดตั้งเรดาห์ดิจิตอล เอฟเอ็มดับบิวซี แยกค้นหาและประมวลผลที่จับได้ด้วยการรวมสิ่งที่เรดาห์พบเข้าด้วยกันเช่นฉากหลังของเรือที่จอดชายฝั่งเพื่อการโจมตีเป้าหมายที่แม่นยำ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น800ก.ก. สามารถเลี้ยงหัก90องศาด้วยความเร็วสูงทนแรงจีได้สูงถึง8จี ระยะยิง150ก.ม.
นอกจากนั้น อาร์บีเอส-15ยังมีรุ่นเอเอ็มไอเค ที่ติดตั้งหัวรบค้นหาแบบอินฟาเรดกำลังสูงสำหรับยิงจากอากาศยานใช้แผนแบบการพัฒนา ซีเอเอสโอเอ็ม ของบริติส-แอร์โรว์สเปซ เข้ามาพัฒนาด้วย หัวรบมาสามารถค้นหาด้วยความละเอียด8-12ไมครอน ซึ่งมีขีดความสามารถในการค้นหาและโจมตีเป้าหมายอัตโนมัติ
ในปี1995จึงมีแผนอัพเกรดเป็นรุ่น มาร์ค-3 และลงนามร่วมพัฒนาระหว่าง ซาบของสวีเดนกับ เดลแอล-บีจีที แห่งเยอรมันในปี1999เพื่อทำการอัพเกรดและผลิต มาร์ค-3 ซึ่งใช้เชื้อเพลิงเจพี-10 ระยะยิง200ก.ม. โคจรต่ำเข้าหาเป้าหมายที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล2ม. สามารถกำหนดจุดเลี้ยวเข้าตีเป้าหมายได้ ดัดแปลงช่องรับอากาศเข้าให้มีการสะท้อนเรดาห์ต่ำลงตรวจจับจากข้าศึกได้ยาก ระบบสงครามอิเล็คทรอนิค ระบบเดินอากาศจีพีเอส/ไอเอ็นเอส สำหรับโจมตีเป้าหมายชายฝั่ง บริษัท เดลแอล-บีจีที ดีเฟน์ท ได้รับสัญญาจากท.ร.ในการติดตั้ง อาร์บีเอส-15เอ็ม มาร์ค-3 กับ เรือคอร์เวตชั้น เค-130 ของเยอรมันในวันที่22กันยายนปี2005 พอวันที่6ตุลาคมปี2006 โปแลนด์ลงนามจัดหาอาร์บีเอส-15มาร์ค-3 ไปใช้กับเรือรบ
น้ำหนักตัวจรวดลดลงเหลือ630ก.ก. ไม่รวมบูสเตอร์ ปล่อยความร้อนหรือรังสีอินฟาเรดน้อยมากยากต่อการตรวจจับด้วยระบบเซนเซอร์ความร้อน อายุการใช้งานของอาวุธปล่อยที่30ปี นอกจากนั้นอาร์บีเอส-15มาร์ค-3 ยังเลือกติดตั้งระบบค้นหาและนำทางเป้าหมายแบบเรดาห์และหัวค้นหาอินฟาเรดเพื่อใช้งานคู่กันในการโจมตีเป้าหมายให้แม่นยำมากขึ้น โดยหัวรบมีน้ำหนักลดลงเหลือ200ก.ก.
นอกจากอาร์บีเอส-15มาร์ค-3 จะทนทานต่อการแจมสัญญาณ ก่อกวนด้วยระบบสงครามอิเล็คทรอนิคแล้ว ยังมีโหมดเพื่อใช้ในการโจมตีหลากหลาย เช่นยิงข้ามเกาะที่ฉากบังเรือฝ่ายเราเข้าหาเป้าหมาย ใช้ฮ.หรืออากาศยานลิงซืเชื่อมข้อมูลเป้าหมาย กำหนดเส้นทางโคจร การกำหนดค้นหาพื้นที่เป้าหมาย การซัลโวหาเป้าหมายในทิศทางต่างๆกันเพื่อทำให้ระบบป้องกันเรือเป้าหมายทำงานได้ยาก ซึ่งหากทำการยิงในระยะไม่เกิน165ก.ม. สามารถกำหนดจุดเลี้ยวได้ถึง25จุด
อาร์บีเอส-15เอสเอฟ หรือ มาร์ค-2 ของ ฟินแลนด์นำไปติดตั้งภารกิจป้องกันฝั่งในชื่อ เอ็มทีโอ-85(จำนวน70คัน) ส่วนมาร์ค-3 ใช้ชื่อ เอ็มทีโอ-85เอ็ม(จำนวน48คัน) ส่วนของโครเอเชีย ใช้ชื่อ เอ็มโอแอล สามารถรองรับอาร์บีเอส-15มาร์ค2/3ได้4นัดต่อคัน
อาร์บีเอส-15 มาร์ค-4 เริ่มโครงการพัฒนาไปในปี2003 ระยะยิง400-100ก.ม.
สำหรับกองทัพไทยนั้นได้จัดหา อาร์บีเอส-15เอฟ (ส่วนรุ่นไม่ทราบ แต่น่าจะมาร์ค-3ที่ใช้กันในปัจจุบัน)มาติดตั้งกับบ.ข.แบบ ยาส-39 กริพเพน เพื่อเสริมขีดความสามารถในการโจมตีทางทะเล
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]
อดีตผู้ใช้งาน
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- หน้าผู้ผลิต
- GlobalSecurity.org
- หน้าผู้ผลิตในเยอรมนี เก็บถาวร 2009-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน