อาคารชุด
อาคารชุด[1][2] หรือ คอนโดมิเนียม[3] (อังกฤษ: condominium) เป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบหนึ่งที่เจ้าของห้องชุดจะต้องแบ่งปันกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของร่วมกับเจ้าของห้องชุดอื่น ๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ทางเดิน บริเวณห้องโถง บันได ลิฟต์ โรงจอดรถ สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น ซึ่งเจ้าของห้องทุกคนจะเป็นเจ้าของร่วมตามกฎหมาย ลักษณะของห้องในอาคารชุดจะเหมือนกับห้องอยู่อาศัย เพียงแต่เราเป็นเจ้าของห้อง ไม่ใช่ผู้เช่า
อาคารชุดเริ่มจากสหรัฐและแคนาดา ธนิดา กิตติอดิสร จากราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า "คำว่าคอนโดมิเนียมในภาษาอังกฤษหมายถึงการถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในอาคารขนาดใหญ่ที่แบ่งซอยเป็นส่วนต่าง ๆ ให้คนต่างครอบครัวพักอยู่ ต่อมามีความหมายถึง อาคารที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน หรืออาคารอื่น ที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง"[4]
ในภาษาอังกฤษ คำเรียกอาคารชุดและกรรมสิทธิ์ร่วมในอาคารชุดนอกเหนือจากคำว่า condominium จะต่างกันไปในแต่ละประเทศหรือภูมิภาค เช่น ในออสเตรเลียและแคนาดาเฉพาะรัฐบริติชโคลัมเบียนิยมเรียกว่า strata title ในขณะที่รัฐเกแบ็กเรียกว่า divided co-property ส่วนในอังกฤษและเวลส์เรียกว่า commonhold ส่วนภาษาฝรั่งเศสจะเรียกว่า copropriété และในรัฐควิเบกอาจเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า copropriété divise
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2554, หน้า 35.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1401.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 247.
- ↑ คอนโด (๒๒ เมษายน ๒๕๕๑)[ลิงก์เสีย] .royin.go.th