อะบูซิมเบล
ที่ตั้ง | เขตผู้ว่าการอัสวาน, อียิปต์ |
---|---|
ภูมิภาค | นูเบีย |
พิกัด | 22°20′13″N 31°37′32″E / 22.33694°N 31.62556°E |
ประเภท | วิหาร |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 |
สร้าง | ประมาณ 1264 ปีก่อนค.ศ. |
สมัย | จักรวรรดิอียิปต์ |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | กลุ่มอนุสาวรีย์แห่งนูเบียตั้งแต่อะบูซิมเบลจนถึงฟีลาเอ |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | i, iii, vi |
ขึ้นเมื่อ | 1979 (3rd session) |
เลขอ้างอิง | 88 |
แคว้น | รัฐอาหรับ |
อะบูซิมเบล (อาหรับ: أبو سمبل ,أبو سنبل; อังกฤษ: Abu Simbel) เป็นมหาวิหารของอียิปต์โบราณอันประกอบขึ้นจากหินขนาดใหญ่สองก้อน มีลักษณะเป็นรูปปั้นองค์ฟาโรห์ทั้งสี่ ส่วนองค์ที่สองถล่มลงเนื่องจากแผ่นดินไหว ตั้งอยู่ทางใต้ของอียิปต์ บนริมฝั่งตะวันตกของทะเลสาบนัสซอร์ ระยะทางประมาณ 290 กิโลเมตรจากอัสวาน และเป็นโบราณสถานหนึ่งในมรดกโลกขององค์การยูเนสโก นอกจากนี้ยังรู้จักกันในนาม อนุสรณ์สถานแห่งนิวเบีย แต่เดิมมหาวิหารถูกก่อสร้างโดยการเจาะแกะสลักเข้าไปในภูเขาหินในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ในช่วงศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล และยังเป็นอนุสรณ์สถานแห่งสุดท้ายของพระองค์และพระมเหสีของพระองค์นั้นคือพระนางเนเฟอร์ทารี ซึ่งอะบูซิมเบล ยังมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองกับชัยชนะของอียิปต์ที่มีต่อนิวเบียที่สมรภูมิแห่งคาเดส อีกทั้งเพื่อเป็นการข่มขู่นิวเบียไม่ให้มารุกรานอียิปต์ซึ่งเป็นอาณาจักรใกล้เคียง อย่างไรก็ตามมหาวิหารทั้งหมดถูกเคลื่อนย้ายโดยคณะวิศวกรจากสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งใช้เวลาตลอดทั้งทศวรรษที่ 1960 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนอัสวาน อันจะส่งผลให้มหาวิหารและโบราณสถานที่รายรอบอยู่ต้องจมอยู่ก้นทะเลสาบนัสซอร์ ปัจจุบันมหาวิหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากและโด่งดังแห่งหนึ่งของอียิปต์ ซึ่งครั้งหนึ่งนักท่องเที่ยวชาวเยอรมันและญี่ปุ่นเคยถูกลอบสังหารขณะเดินทางไปยังสถานที่แห่งนี้[ต้องการอ้างอิง]
ประวัติศาสตร์
[แก้]การก่อสร้าง
[แก้]การก่อสร้างของมหาวิหารทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นประมาณปี 1224 ก่อนคริศตกาล และเสร็จสมบูรณ์ในอีก 20 ปีต่อมา ในปี 1244 ก่อนคริศตกาล รู้จักกันในนาม "วิหารแห่งรามเสสอันเป็นที่รักของเทพเจ้าอามุน ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในหกวิหารหินแกะสลักที่ก่อสร้างขึ้นในนิวเบียในช่วงระยะเวลาการครองราชย์อันยาวนานของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งอียิปต์โบราณเจตนาให้เป็นที่ประทับใจต่ออาณาจักรเพื่อนบ้านทางใต้ อีกทั้งยังเจตนาเพื่อเป็นการเผยแพร่ศาสนาของชาวอียิปต์เข้าไปในแคว้นทางใต้ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าสถาปัตยกรรมของอะบูซิมเบลยังบ่งบอกถึงความภูมิใจและตัวตนของฟาโรห์รามเสสที่ 2 อยู่เล็กน้อย
การค้นพบ
[แก้]ด้วยกาลเวลาที่ล่วงเลยผ่านไปอย่างยาวนาน มหาวิหารถูกทิ้งร้างและตกอยู่ในสภาพที่ทรุดโทม จนกระทั่งมหาวิหารถูกกลืนกินโดยทรายจากทะเลทรายซาฮาร่า ซึ่งรูปแกะสลักขนาดยักษ์ขององค์ฟาโรห์ทั้งสี่ถูกกลืนกินโดยทรายจนถึงหัวเข่าในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล จนกลายเป็นมหาวิหารที่ถูกหลงลืมกระทั่งปี ค.ศ. 1813 เมื่อนักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันออกชาวสวิสเซอร์แลนด์ โจฮัน ลุดวิก เบิร์คฮารดต์ หรือรู้จักกันในนาม เจแอล เบิร์คฮารดต์ ค้นพบส่วนบนของฟรีส (ลวดลายสลักใต้ชายคาของสิ่งก่อสร้าง) โจฮันได้เล่าถึงการค้นพบของเขาให้แกนักสำรวจชาวอิตาลีที่ชื่อ จิโอวานนี่ บาติสต้า เบลโซนี่ ผู้ที่เดินทางไปยังจุดค้นพบแต่ก็ไม่สามารถขุดไปยังทางเข้าของมหาวิหารได้ เบลโซนี่ได้กลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1817 ครั้งนี้เขาประสบความสำเร็จจากความพยายามที่จะเข้าไปยังมหาวิหารของเขา เขากลับออกมาพร้อมกับข้าวของอันล้ำค่าหรือข้าวของที่สามารถแบกออกมาได้ติดตัวออกมาด้วย ส่วนชื่อ "อะบูซิมเบล" มาจากชื่อของเด็กท้องถิ่นที่เคยนำชมมหาวิหารในช่วงที่มีการสำรวจอีกครั้ง ซึ่งเขาเป็นผู้ค้นพบส่วนที่ถูกฝังของมหาวิหารที่เหลือ จากการที่ทรายได้เคลื่อนตัวเผยให้เห็นส่วนที่เหลือ กระทั่งท้ายที่สุดได้มีการเรียกชื่อตามชื่อของเขา
สมุดภาพ
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อะบูซิมเบล
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
22°20′13″N 31°37′32″E / 22.336944°N 31.625556°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้