ข้ามไปเนื้อหา

อะกาโรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจลอะกาโรสในถาดแยกสารด้วยวิธีอิเล็กโตรโฟรีซิส

อะกาโรส (อังกฤษ: Agarose) เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่สกัดได้จากสาหร่ายสีแดง[1] และเป็นพอลิเมอร์เส้นตรงที่เกิดจากรวมกับของอะกาโรบิโอสหลายหน่วย ซึ่งเป็นไดแซ็กคาไรด์ที่เกิดจากการรวมกันของดี-กาแล็กโทส และ 3,6-แอนไฮโดร-L-กาแล็กโทไพราโนส[2] อะกาโรสเป็นหนึ่งในสองส่วนประกอบหลักของอะการ์ ร่วมกับอะกาโรเพกติน[3]

อะกาโรสมักถูกใช้ในชีวโมเลกุลสำหรับการแยกสารโมเลกุลใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดีเอ็นเอ ที่แยกด้วยวิธีอิเล็กโตรโฟรีซิส แผ่นเจลอะกาโรส (ส่วนใหญ่มักใช้ร้อยละ 0.7 - 2) ที่ใช้ในอิเล็กโตรโฟรีซิส ถูกเตรียมให้อุ่นก่อนนำไปใช้เป็นแม่พิมพ์ อะกาโรสจะเห็นช่วงที่แตกต่างกันตามมวลโมเลกุลและสมบัติของการ นอกจากนี้ อะกาโรสยังถูกใช้สร้างประคำและใช้ในวิธีโครมาโทกราฟีเพื่อแยกโปรตีนบริสุทธิ์

โครงสร้าง

[แก้]
โครงสร้างของพอลิเมอร์อะกาโรสหน่วยที่ซ้ำกัน

อะกาโรสเป็นพอลิเมอร์เส้นตรง มีมวลโมเลกุลประมาณ 120,000 ประกอบด้วย ดี-กาแล็กโทส และ 3,6-แอนไฮโดร-แอล-กาแล็กโทไพราโนส เชื่อมต่อโดยพันธะไกลโคซิดิก อัลฟา-(1→3) และเบตา-(1→4) 3,6-แอนไฮโดร-แอล-กาแล็กโทไพราโนส เป็น แอล-กาแล็กโทสประเภทหนึ่ง ที่มีการเชื่อมกันของแอนไฮโดรในตำแหน่งที่ 3 และ 6 แม้ว่าบางหน่วยของ แอล-กาแล็กโทสในพอลิเมอร์ จะไม่มีช่วงที่เชื่อมต่อกันก็ตาม ดี-กาแล็กโทส และ แอล-กาแล็กโทส บางหน่วย อาจถูกทำให้เป็นเมทิล ไพรูเวตและซัลเฟตก็พบได้ในปริมาณน้อย[4]

แต่ละโซ่ของอะกาโรสมีกาแล็กโทสประมาณ 800 โมเลกุล โซ่พอลิเมอร์สานเส้นใยเกลียวที่รวมกับเป็นโครงสร้างขั้นบันได มีรัศมีประมาณ 20-30 นาโนเมตร[5] เส้นใยมีคุณสมบัติคล้ายของแข็ง และมีความยาวที่แตกต่างกันขึ้นกับความเข้มข้นของอะกาโรส[6] เมื่อมันถูกทำให้แข็ง เส้นใยจะสร้างร่างแหสามมิติ มีช่องเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 นาโนเมตร ถึงมากกว่า 200 นาโนเมตร ขึ้นกับความเข้มข้นอะกาโรสที่ใช้ โดยเมื่อความเข้มข้นยิ่งสูง เส้นผ่านศูนย์กลางของรูก็จะยิ่งเล็กลง โครงสร้างสามมิติประกอบเข้ากันได้ด้วยพันธะไฮโดรเจน และถูกทำให้แยกออกได้ด้วยความร้อน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jeppson, J. O.; C. B. Laurell; Bi Franzen (1979). "Agarose gel electrophoresis". Clinical Chemistry. 25 (4): 629–638. PMID 313856.
  2. Agar เก็บถาวร ตุลาคม 16, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at lsbu.ac.uk Water Structure and Science
  3. "Agar". Food and Agricultural Organization of the United Nations.
  4. Rafael Armisen; Fernando Galatas. "Chapter 1 - Production, Properties and Uses of Agar". Fao.org.
  5. Tom Maniatis; E. F. Fritsch; Joseph Sambrook. "Chapter 5, protocol 1". Molecular Cloning - A Laboratory Manual. Vol. 1. p. 5.4. ISBN 978-0879691363.
  6. Alistair M. Stephen; Glyn O. Phillips, บ.ก. (2006). Food Polysaccharides and Their Applications. CRC Press. p. 226. ISBN 978-0824759223.