ข้ามไปเนื้อหา

อกหัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อกหัก คือวลีทั่วๆไปที่ใช้อธิบายความเจ็บปวดทางอารมณ์อย่างรุนแรง หรือความเจ็บปวดจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากความตาย, การหย่าร้าง, การโยกย้ายที่อยู่, ถูกปฏิเสธ ฯลฯ คำๆนี้เป็นคำที่มีใช้มาแต่โบราณและถูกใช้อย่างกว้างขวาง อย่างน้อยก็มีการกล่าวถึงในวรรณคดีเรื่องรามายณะของอินเดีย ซึ่งถูกแต่งในช่วง พ.ศ. 300-743[1]

โดยทั่วไปแล้ว อกหักมักจะเกี่ยวข้องกับการสูญเสียคู่สมรส หรือ คนที่รัก การสูญเสียผู้ให้กำเนิด, ลูก, สัตว์เลี้ยง หรือ เพื่อนสนิท ก็อาจเรียกได้ว่าอกหักเช่นกัน วลีนี้เกี่ยวข้องถึงความเจ็บปวดบริเวณหน้าอกจากการสูญเสีย และโดยทั่วไป วลีนี้ก็มักจะใช้ในสภาพอาการนี้ ซึ่งถูกเรียกว่า Broken Heart Syndrome (หรือ Takotsubo cardiomyopathy อันมีสาเหตุมาจากการที่สมองหลั่งสารเคมีออกมาเพื่อทำให้เนื้อเยื่อหัวใจอ่อนแอลง[2]

มุมมองในเชิงปรัชญา

[แก้]

คนหลายๆคนไม่รู้ตัวถึงอาการอกหักในทันที แต่ใช้เวลาระยะหนึ่งในการรับรู้ถึงความเจ็บปวดทั้งทางอารมณ์และกายภาพอย่างสมบูรณ์ดั่งที่ Jeffrey Moussaieff Masson กล่าวเอาไว้ว่า:

มนุษย์หาได้รับรู้ถึงความรู้สึกที่ตนมีตลอดเวลา เช่นเดียวกับเดรฉานที่ไม่สามารถแสดงความรู้สึกของมันออกมาเป็นคำพูดได้ นี่มิได้หมายความว่าพวกมันไม่มีความรู้สึก ซิกมุนด์ ฟรอยด์เคยกล่าวเอาไว้ว่า ผู้ชายอาจจะตกหลุมรักผู้หญิงสักคนหนึ่งได้ถึงเวลา 6 ปี โดยไม่รู้ตัวจนกระทั่งหลายอีกปีผ่านไป ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อโลก เขาไม่สามารถบรรยายความรู้สึกที่เขาไม่รู้ออกมาเป็นคำพูดได้ เขามีความรู้สึกแต่เขาไม่รู้จักมัน อาจจะดูเหมือนเป็นการขัดแย้งในตัวเองเพราะเราคิดถึงสิ่งที่เรารู้สึก คิดถึงบางสิ่งที่เรารับรู้อย่างมีสติ ดั่งที่ฟรอยด์กล่าวเอาไว้ในบทความ The Unconscious (จิตไร้สำนึก) "เป็นที่แน่นอนที่สุดว่าแก่นแท้ของอารมณ์ที่เราควรจะตระหนักถึง แต่ก็อีกนั่นแหละ มันยิ่งกว่าคำถามที่ว่าเราสามารถ "มี" ความรู้สึกที่เราไม่รู้..."[3]

ในมุมมองของพุทธศาสนา

[แก้]

ตามแนวคิดของพุทธศาสนานั้น การพลัดพรากจากบุคคลที่รักนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของโลก อันมีผลมาจากผลกรรม[4] ดังที่กล่าวเอาไว้ในพระไตรปิฎกดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิงหรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น.[5]

ในวรรณกรรมคลาสสิก

[แก้]

อาการ

[แก้]

อาการอกหักสามารถปรากฏได้โดยความเจ็บปวดทางจิต แต่ก็มีหลายๆผลกระทบที่ส่งผลเชิงกายภาพ ประสบการณ์อกหักนี้มักจะถูกคำนึงถึงในลักษณะที่อธิบายไม่ได้ รายการต่อไปนี้เป็นรายการของอาการโดยทั่วไปที่อาจเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

  • ปวดแน่นหน้าอก ซึ่งคล้ายคลึงกับ Panic attack
  • ปวดท้อง และ/หรือ ไม่อยากอาหาร
  • นอนไม่หลับ
  • โกรธ
  • ตกใจ
  • ระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต
  • เซื่องซึม
  • รู้สึกเหงา
  • สูญเสียความหวัง และแรงขับเคลื่อน
  • สูญเสียความเคารพและความเชื่อมั่นในตนเอง
  • ความเจ็บป่วยทางการแพทย์และจิตวิทยา
  • มีความต้องการฆ่าตัวตาย
  • เคลื่อนไส้อาเจียน
  • เหนื่อยล้า
  • Thousand-yard stare
  • ร้องไห้ถี่ๆ หรือต่อเนื่อง
  • รู้สึกอ้างว้าง
  • ร้ายแรงที่สุดคือ ตรอมใจตาย [6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Book 4 of 6, page 105.
  2. Mayo Clinic Research Reveals 'broken Heart Syndrome' Recurs In 1 Of 10 Patients[ลิงก์เสีย]
  3. Jeffrey Moussaieff Masson, General McCarthy: When Elephants Weep: The Emotional Lives of Animals ISBN 0-385-31428-0
  4. พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต บท ฐานสูตร
  5. "อกหักทำอย่างไรดี". มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
  6. "Study Suggests You Can Die of a Broken Heart". วอชิงตันโพสต์. 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548. สืบค้นเมื่อ 2006-09-23. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]