หินชนวน
หินแปร | |
หินชนวน | |
องค์ประกอบ | |
---|---|
หลัก | ควอตซ์, มัสโคไวท์/อิลไลท์ |
รอง | ไบโอไทต์, คลอไรต์, ฮีมาไทต์, ไพไรต์ Specific gravity: 2.7 – 2.8 |
หินชนวน (อังกฤษ: Slate) เป็นหินแปรที่มีเม็ดละเอียด มีริ้วขนาน และเป็นเนื้อเดียวกัน มีต้นกำเนิดจากหินตะกอนชนิดดินดานผ่านการแปรสภาพบริเวณไพศาลระดับต่ำ ซึ่งตัวหินตะกอนประกอบด้วยดินเหนียวหรือเถ้าภูเขาไฟ หินชนวนเป็นหินแปรมีริ้วขนานที่มีเม็ดหินเล็กที่สุด[1]
ริ้วขนานของหินชนวนเกิดจากการบีบอัดอย่างรุนแรงจนทำให้สะเก็ดดินเหนียวเม็ดเล็กงอกใหม่เป็นระนาบตั้งฉากกับแรงอัด[1] ทำให้ริ้วขนานไม่สอดคล้องกับชั้นตะกอนเดิม เมื่อกรีดหินทางขนานกับริ้วขนานด้วยเครื่องมือเฉพาะในเหมืองหิน หินชนวนจะแสดงคุณสมบัติที่เรียกว่าแนวแตกถี่ ก่อเป็นแผ่นหินเรียบที่ใช้สำหรับมุงหลังคา ปูกระเบื้องปูพื้น และวัตถุประสงค์อื่น ๆ[1] หินชนวนมักเป็นสีเทาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเห็นคลุมหลังคา อย่างไรก็ตามหินชนวนสามารถเกิดขึ้นในหลากหลายสีแม้จะมาจากที่เดียว ตัวอย่างเช่นหินชนวนจากนอร์ทเวลส์ ซึ่งสามารถพบได้ในเฉดสีเทาหลายเฉดตั้งแต่สีซีดไปจนถึงสีเข้ม และอาจเป็นสีม่วง สีเขียว หรือสีฟ้าได้เช่นกัน หินชนวนมักถูกสับสนกับหินชีสต์หรือหินดินดานซึ่งเป็นที่มาของหินชนวน
นอกจากใช้สำหรับหินแล้ว คำว่า "ชนวน" ยังใช้สำหรับวัตถุบางประเภทที่ทำจากหินชนวนอีกด้วย เช่น กระดานชนวน
การใช้
[แก้]หินชนวนในอาคาร
[แก้]หินชนวนถูกใช้ในการทำหลังคา เมื่อหินชนวนแตกแล้วจะรักษาลักษณะธรรมชาติ ในขณะที่ยังคงค่อนข้างแบนและง่ายต่อการซ้อนกัน มี "Slate Booms" เกิดขึ้นในยุโรปหลายครั้งจากยุค 1870 จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหลังจากการปรับปรุงระบบการขนส่งทางรถไฟ ถนน และทางน้ำ[2] หินชนวนเหมาะสมอย่างยิ่งในการเป็นวัสดุมุงหลังคาเนื่องจากมีดัชนีการดูดซึมน้ำที่ต่ำมากซึ่งน้อยกว่า 0.4% ทำให้วัสดุทนต่อความเสียหายจากน้ำค้างแข็ง[3]
การใช้งานอื่น ๆ
[แก้]เนื่องจากหินชนวนเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีและทนไฟ จึงมักถูกใช้เพื่อสร้างแผงสวิตช์ไฟฟ้าในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และควบคุมรีเลย์สำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่[4] เนื่องจากความเสถียรทางความร้อนและความเฉื่อยต่อสารเคมี หินชนวนถูกนำมาใช้กับส่วนบนโต๊ะในห้องปฏิบัติการและสำหรับโต๊ะบิลเลียด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Essentials of Geology, 3rd Ed, Stephen Marshak
- ↑ Schunck, Eberhard, and Hans Jochen Oster. Roof Construction Manual Pitched Roofs.. Basel: De Gruyter, 2003. 12. Print.
- ↑ Chavez, Mark (2013). "Should I Replace My Slate Roof with a Synthetic?". National Park Service. สืบค้นเมื่อ 28 June 2021.
- ↑ Bowles, Oliver (1922). The Technology of Slate. U.S. Government Printing Office.