ข้ามไปเนื้อหา

หอดูดาวโรเกเดโลสมูชาโชส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอดูดาวโรเกเดโลสมูชาโชส
Observatorio del Roque de los Muchachos
กล้องโทรทรรศน์ต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในหอดูดาวโรเกเดโลสมูชาโชส
หน่วยงานสถาบันวิจัยฟิสิกส์ดาราศาสตร์กานาเรียส
ที่ตั้งเกาะลาปัลมา แคว้นกานาเรียส ธงของประเทศสเปน สเปน
พิกัด28°46′N 17°53′W / 28.767°N 17.883°W / 28.767; -17.883
ระดับความสูง2396 ม.[1]
เว็บไซต์เว็บไซต์ของ IAC

หอดูดาวโรเกเดโลสมูชาโชส (สเปน: Observatorio del Roque de los Muchachos, ORM) เป็นหอดูดาวที่ตั้งอยู่เกาะลาปัลมา ในแคว้นกานาเรียสของประเทศสเปน หอดูดาวนี้บริหารจัดการโดยสถาบันวิจัยฟิสิกส์ดาราศาสตร์กานาเรียสในเกาะเตเนริเฟ และเป็นส่วนหนึ่งของหอดูดาวเหนือยุโรป

ค่าความมองเห็นในพื้นที่นี้เป็นรองเพียงหอดูดาวเมานาเคอาบนเกาะฮาวาย สำหรับในซีกโลกเหนือ เหมาะสำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ด้วยแสงที่มองเห็นได้และอินฟราเรด มีเครื่องมือทางดาราศาสตร์ที่ทันสมัยที่สุดจำนวนมากในซีกโลกเหนือ ตัวอย่างเช่น กล้องโทรทรรศน์สุริยะสวีเดนที่ใช้ระบบอะแดปทิฟออปติก สามารถให้ภาพดวงอาทิตย์ที่มีความละเอียดสูงสุดและ กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่กานาเรียสขนาด 10.4 เมตร ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์แบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี 2009[2]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เกาะลาปาลเริ่มมีการตั้งกล้องโทรทรรศน์ตั้งแต่ปี 1979 โดยเริ่มจากกล้องโทรทรรศน์ไอแซก นิวตันของหอดูดาวกรีนิช โดยย้ายจากที่ตั้งเดิมที่อยู่ในซัสเซกซ์ของอังกฤษ กระบวนการย้ายนี้ค่อนข้างยาก ทำให้เป็นที่รู้กันว่าการสร้างกล้องโทรทรรศน์ใหม่นั้นค่าใช้จ่ายถูกกว่าการย้ายที่ตั้ง

หอดูดาวนี้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในเมืองซันตากรุซเดลาปัลมา โดยแรกเริ่มมี สเปน สวีเดน เดนมาร์ก และ สหราชอาณาจักร ต่อมามี เยอรมนี อิตาลี นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และ สหรัฐอเมริกา เข้าร่วมแผนนี้ด้วย

วันที่เปิดอย่างเป็นทางการของหอดูดาวแห่งนี้คือวันที่ 29 มิถุนายน 1985 โดยราชวงศ์สเปนและประมุขแห่งรัฐ 6 แห่งในยุโรป ทั้งยังได้ตั้งค่าลานจอดเฮลิคอปเตอร์เจ็ดแห่งสำหรับการใช้งานวีไอพี

ไฟไหม้บนไหล่เขาในปี 1997 ได้ทำลายกล้องโทรทรรศน์รังสีแกมมาไป 1 ตัว แต่ไฟไหม้อีกครั้งในเดือนกันยายน 2005 ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับตัวอาคารหรือกล้องโทรทรรศน์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Observatorio del Roque de los Muchachos" (ภาษาอังกฤษ). iac.es. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-26. สืบค้นเมื่อ 2016-05-31.
  2. Klotz, Irene (2009-07-24). "New telescope is world's largest ... for now". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-26. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.