หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์
หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ | |
---|---|
เกิด | 25 ตุลาคม ค.ศ. 1856 |
เสียชีวิต | 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 (62 ปี 115 วัน) ลอนดอน |
สาเหตุเสียชีวิต | ไข้หวัดใหญ่สเปน |
คู่สมรส | แคโรไลน์ น็อกซ์ รีตา เมย์ |
บุตร | โทมัส "จอร์จ" น็อกซ์ ลีโอโนเวนส์ แอนนา แฮร์เรียต ลีโอโนเวนส์ |
บิดามารดา |
|
หลุยส์ ทอมัส กันนิส ลีโอโนเวนส์ (อังกฤษ: Louis Thomas Gunnis Leonowens; 25 ตุลาคม 1856 – 17 กุมภาพันธ์ 1919) นักธุรกิจชาวอังกฤษผู้เป็นบุตรชายของแอนนา ลีโอโนเวนส์ หรือ แหม่มแอนนา พระอาจารย์สอนภาษาอังกฤษของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทั้งสองเป็นตัวละครเอกในนวนิยายเรื่อง แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม ที่ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1944
เดินทางมาสยามพร้อมมารดาเมื่ออายุ 7 ปี ในเวลาต่อมาหลุยส์ได้เข้ารับราชการเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ก่อนจะลาออกจากราชการมาเปิดบริษัทแลกเปลี่ยนสินค้าที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันคือ บริษัท หลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ จำกัด
อาชีพ
[แก้]ใน ค.ศ. 1881 ขณะอายุได้ 25 ปี หลุยส์เดินทางกลับมายังสยามอีกครั้งหลังเดินทางออกจากสยามไปหลายปีโดยได้รับตำแหน่งกัปตันในกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมาใน ค.ศ. 1884 เขาลาออกจากกองทัพและเริ่มต้นธุรกิจค้าไม้สักกระทั่ง ค.ศ. 1905 หลุยส์ได้ตั้งบริษัท หลุยส์ โทมัส ลีโอโนเวนส์ จำกัดขึ้นก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ จำกัด ในภายหลัง เป็นธุรกิจสัมปทานไม้สัก รับเป็นผู้แทนบริษัทผลิตซีเมนต์ นำเข้าแชมเปญ วิสกี้ เครื่องพิมพ์ดีด ผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรม และธุรกิจประกันภัย[1] และได้เดินทางออกจากสยามเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อ ค.ศ. 1913 โดยมิได้เดินทางกลับมายังสยามอีกเลยจนสิ้นชีวิต
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]หลุยส์ โทมัส กันนิส ลีโอโนเวนส์แต่งงานทั้งหมด 2 ครั้งกับ
- แคโรไลน์ น็อกซ์ (1856–1893) บุตรสาวคนเล็กของเซอร์โทมัส ยอร์ช น็อกซ์ กงสุลอังกฤษประจำสยามผู้มีชีวิตอยู่ระหว่าง 1824 ถึง 1887 และภรรยา ปราง เย็น สตรีชั้นสูงชาวสยาม[2][3][4][5][6] ทั้งคู่มีบุตรชาย 1 คนคือ โทมัส ("ยอร์ช") น็อกซ์ ลีโอโนเวนส์ (1888–1953) ซึ่งตั้งชื่อตามผู้เป็นตาและบุตรสาว 1 คนคือ แอนนา แฮร์เรียต ลีโอโนเวนส์ (1890–?) ซึ่งตั้งชื่อตามผู้เป็นย่า[7]
- รีตา เมย์ (1880–1936) แต่งงานเมื่อ ค.ศ. 1900 ทั้งคู่ไม่มีบุตร–ธิดาด้วยกัน[8]
หลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษระหว่างเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกของไข้หวัดใหญ่สเปน โดยศพของเขาถูกฝังเคียงข้างกับภรรยาคนที่สองที่สุสานบรอมพ์ตันในกรุงลอนดอน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติบริษัทหลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ จำกัด
- ↑ Bradford Smith, "It Was Love, Love, Love", The New York Times, 16 September 1962
- ↑ R. J. Minney, Fanny and the Regent of Siam (The World Publishing Company, 1962
- ↑ "A Dark Tragedy in Siam: The Execution of Pra Preecah — A Native Nobleman Beheaded for Marrying A British Officer's Daughter—How a Cruel King Can Retain A Grudge For Years—Medieval Horrors in the Nineteenth Century". The New York Times. 12 April 1880.
- ↑ W. S. Bristowe, Louis and the King of Siam (Chatto and Windus, 1976)
- ↑ Alec Waugh, Bangkok: Story of a City (W. H. Allen, 1970), pages 84-85
- ↑ The Wheaton College Archives & Special Collections: Margaret and Kenneth Landon Papers, 1824–2000, "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-06. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ W. S. Bristowe, Louis and the King of Siam (Chatto and Windus, 1976), page 101