หม่อมเจ้าทินทัต ศุขสวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าทินทัต ศุขสวัสดิ์
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ10 กรกฎาคม พ.ศ. 2433
สิ้นชีพตักษัย27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 (30 ปี)
หม่อมหม่อมผิว ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา
พระบุตรหม่อมราชวงศ์ทินะประภา อิศรเสนา ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์กานดาศรี ศุขสวัสดิ
หม่อมราชวงศ์รุจีสมร สุขสวัสดิ์
ราชสกุลศุขสวัสดิ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
พระมารดาหม่อมแช่ม ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา

ร้อยเอก หม่อมเจ้าทินทัต ศุขสวัสดิ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ประสูติแต่หม่อมแช่ม ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา

พระประวัติ[แก้]

หม่อมเจ้าทินทัต ศุขสวัสดิ เป็นพระโอรสองค์แรกในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ประสูติแต่หม่อมแช่ม ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 มีโสทรขนิษฐาองค์เดียว คือ หม่อมเจ้ารัตจันทน์ ศุขสวัสดิ

หม่อมเจ้าทินทัตทรงรับราชการในกรมทหารม้า และได้เสกสมรสกับหม่อมผิว ธิดาของหลวงนิธิพิมล (พลอย วสุวัต) กับนางสุ่น ขณะมีพระยศเป็นร้อยตรี มีธิดาด้วยกัน 3 คน คือ

  1. ท่านผู้หญิงทินะประภา อิศรเสนา (2 มิถุนายน พ.ศ. 2460 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555) สมรสกับศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา มีบุตรสองคน[1]คือ 1.รองศาสตราจารย์อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตอาจารย์สอนวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 2.คุณหญิงภัทราภา อิศรเสนา ณ อยุธยา ตัณสถิตย์ อดีตราชเลขาธิการ (เสียชีวิต พ.ศ. 2558)
  2. หม่อมราชวงศ์กานดาศรี ศุขสวัสดิ (18 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2541)
  3. หม่อมราชวงศ์รุจีสมร ศุขสวัสดิ (12 กันยายน พ.ศ. 2463 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565)

การทรงงานด้านการทหาร[2][แก้]

พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าทินทัต เปนนักเรียนกระทรวงกลาโหมออกไปศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศเยรมันนี

ต่อมาถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2455 หม่อมเจ้าทินทัตได้เข้าสอบวิชาตามหลักสูตร์กรมทหารกรุงเบอลินสำเร็จ จึงได้เข้ารับราชการเปนฟานเมนยุงแคร์ในกรมทหารม้าที่ 6 เมืองไมนส์ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเปนที่พอใจในความเพียรพยายาม และความอดทนของหม่อมเจ้าทินทัต จึงได้เลื่อนยศขึ้นเปนนายพวก (Gefreiter) แล้วเปนนายสิบ (Unter offizier) มีตำแหน่งผู้บังคับหมู่ จนที่สุดผู้บังคับการกรมทหารบกม้าที่ 6 ได้รายงานขอให้เข้าศึกษาวิชาในโรงเรียนรบต่อไป

ครั้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ได้รับสัญญาบัตร์เปนนายร้อยตรีในกองทัพบกเยรมัน

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2457 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร์ให้หม่อมเจ้าทินทัต เปนนายร้อยตรีในกองทัพบกสยาม แต่งตัวสังกัดกรมทหารบกม้าที่ 2 แต่ยังคงให้ประจำอยู่ในกองทัพบกเยรมันต่อไป เพื่อหาความชำนาญในการฝึกหัดสั่งสอนและวิชาทหาร

ในปลายปี พ.ศ. 2459 หม่อมเจ้าทินทัต ได้สำเร็จการศึกษาแล้ว กลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวดในกรมทหารม้านครปฐม รับพระราชทานเงินเดือนอัตรานายร้อยตรีชั้น 3 กับเงินเพิ่มพิเศษ

ครั้นเดือนมีนาคมปีเดียวกัน ได้ย้ายไปประจำกรมทหารบกม้ากรุงเทพรักษาพระองค์ของพระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานยศเปนนายร้อยโท

พ.ศ. 2463 ได้เลื่อนยศเปนนายร้อยเอก แลเลื่อนตำแหน่งเปนผู้รั้งผู้บังคับการม้านครปฐม กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปนราชองครักษ์เวรด้วย

เมื่อ พ.ศ. 2463 ได้ย้ายกลับมาเปนผู้รั้งผู้บังคับการกรมทหารบกม้ากรุงเทพฯ รักษาพระองค์ ของพระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อมาได้เลื่อยศเป็นร้อยเอก ผู้รั้งผู้บังคับการกรมทหารบกม้ากรุงเทพรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สิ้นชีพิตักษัย[แก้]

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 นายร้อยเอก หม่อมเจ้าทินทัต ประชวรโรคบิดมีตัว ได้รักษาองค์อยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อาการก็ทุเลาเปนลำดับมา และในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 กำหนดว่าในวันรุ่งขึ้นจะได้กลับจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่ครั้น​เวลา 5 นาฬิกา (11 ทุ่มเศษ) พระอาการกลับหนักลงไปอีก แพทย์ได้จัดการรักษาเต็มความสามารถ แต่เปนการพ้นวิสัยที่นายแพทย์จะป้องกันให้กลับคืนได้ หม่อมเจ้าทินทัต สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 ขณะชันษา 30 ปี[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระยศและตำแหน่ง[แก้]

  • 23 พฤษภาคม 2459 – นายร้อยโท[5]
  • – ผู้บังคับกองร้อยกรมทหารม้านครปฐม
  • 20 พฤษภาคม 2462 – รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารม้านครปฐม[6]
  • 10 พฤศจิกายน 2462 – ราชองครักษ์เวร[7]

พระอนุสรณ์[แก้]

ศาลาทินทัต[แก้]

ศาลาทินทัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2465 ตามพระประสงค์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช เพื่อเป็นอนุสรณ์อุทิศประทานแก่ นายร้อยเอก หม่อมเจ้าทินทัต ศุขสวัสดิ พระโอรส ตัวอาคารตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของโรงพยาบาลจุฬาลงการณ์ มีลักษณะที่งดงามด้วยสถาปัตยกรรมล้ำสมัยในเวลานั้น กลมกลืนกับอาคารของโรงพยาบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ศาลาทินทัต ได้รับการบูรณะซ่อมแซมเป็นอาคารสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยคงความงดงามของโครงสร้างเดิมไว้ เพื่อใช้ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน ศาลาทินทัต เป็นที่ตั้งของแผนกอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รับอุทิศร่างกายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์

อ้างอิง[แก้]

  1. "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ดังนี้". สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. 11 มิถุนายน 2556. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. ประชุมพระราชปุจฉา ภาคที่ 5 คำนำ
  3. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  4. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เล่ม 36 หน้า 3325 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 มกราคม 2462
  5. พระราชทานยศนายทหารบก
  6. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายนายทหารรับราชการและออกจากประจำการ
  7. แจ้งความกรมราชองครักษ์ เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร