หญ้าหนวดแมว
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
หญ้าหนวดแมว | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Lamiaceae |
เผ่า: | Ocimeae |
สกุล: | Orthosiphon |
สปีชีส์: | O.aristatus |
ชื่อทวินาม | |
Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. |
หญ้าหนวดแมว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Orthosiphon aristatus; ชื่อพ้อง: O. grandiflorus Bold, O. stamineus Benth.) หรือ พยับเมฆ (กรุงเทพฯ), อีตู่ดง (เพชรบูรณ์), บางรัก (ประจวบคีรีขันธ์) อยู่ในวงศ์ Lamiaceae (Labiatae)[1] ซึ่งเป็นพืชที่จัดอยู่ในพวกเดียวกับกะเพราและโหระพา
หญ้าหนวดแมว เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นสี่เหลียม มีสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบตรงข้ามสลับตั้งฉาก (decussate) รูปร่างใบแบบ รูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ช่อดอกแบบกระจุก ปลายยอดคล้ายฉัตร ออกบริเวณปลายยอด และปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้าง กลีบดอกมีสีขาว และสีม่วง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นรูปปากเปิด
การขยายพันธุ์
[แก้]- ใบ : รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ อาการปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ขับกรดยูริกออกจากไต
- ราก : ขับปัสสาวะ
- ต้น : ขับปัสสาวะ โรคนิ่ว โรคเยื่อจมูกอักเสบ
- ยอดอ่อนนำมาหั่นตากให้แห้ง ใช้ ประมาณ 2 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว
- ต้น สด ใช้ประมาณ 90-120 กรัม แห้ง ใช้ประมาณ 40-50 กรัม ชงกับน้ำ 1 แก้ว วันละ 3 ครัง ก่อนอาหาร
ข้อควรระวัง
[แก้]- ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต ห้ามรับประทาน เนื่องจากในหญ้าหนวดแมวมี โพแทสเซียมสูงมากถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกมาได้ ทำให้เกิดโทษกับร่างกาย[1]
- ไม่ควรใช้การต้ม ให้ใช้การชง และควรใช้ใบอ่อน เพราะใบแก่จะมีความเข้มข้นอาจทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ[5]
- ควรใช้ใบตากแห้ง เพราะใบสดจะทำให้มีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่น[5]
- ไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน เพราะสารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น[5]
สารเคมี
[แก้]- ต้น Hederagenin, Beta-Sitosterol, Ursolic acid
- ใบ Glycolic acid, Potassium Salt Orthosiphonoside, แทนนิน (Tannin), Flavone Organic acid และน้ำมันหอมระเหย[1]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด". www.rspg.or.th.
- ↑ "หญ้าหนวดแมว". ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชสวน.
- ↑ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอ่างทอง https://www.opsmoac.go.th/angthong-article_prov-preview-431391791815
- ↑ "หญ้าหนวดแมว : ขับปัสสาวะ". ข้อมูลสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 https://www.thaihealth.or.th/ระวัง-ดื่มน้ำไม่สะอาดเส/