ส้มผด
ส้มผด | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Anacardiaceae |
สกุล: | Rhus |
สปีชีส์: | R. chinensis |
ชื่อทวินาม | |
Rhus chinensis Mill. | |
ชื่อพ้อง | |
Rhus javanica auct.
|
ส้มผด หรือ "มะผด" ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhus chinensis วงศ์ Anacardiaceae ภาษากะเหรี่ยงเรียกเส่ฉี่สะ เป็นไม้ยืนต้น เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนและก้านใบมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบประกอบ โคนก้านใบประกอบมีปีก หลังใบและท้องใบมีขนสีขาว ดอกช่อ ก้านช่อดอกมีขนปกคลุม มีกาบรองรับ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงมีขน กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้ 5 อันเรียงตรงข้ามกับกลีบดอก อับเรณูสีเหลือง ผลแบบเมล็ดเดียว ขนาดเล็ก สุกแล้วเป็นสีแดง เมล็ดค่อนข้างกลม ชาวกะเหรี่ยงใช้ผลแห้งทำเครื่องดื่ม ผลแช่น้ำใช้ทามือและเท้าที่แตก ยอดอ่อนและช่อดอกนำมายำ [1] ชาวขมุ ชาวลัวะและชาวถิ่น นำผลสดที่มีรสเปรี้ยวใส่แกง[2]
ส่วน โกฐกักกราจีน นั้นจะเป็นเครื่องยาที่ได้มาจากปุ่มหูดของพืชชนิดนี้ ที่เกิดขึ้นจากการที่มีแมลงมาเจาะกิ่งอ่อน แล้วพืชชนิดนี้จะสร้างปุ่มหูดขึ้นมา ภาษาจีนกลางเรียกเครื่องยานี้ว่า อู่เป้ยจื่อ (五倍子) หรือเรียกในภาษาจีนแต้จิ๋วว่า โหงวปวยจื่อ และชื่อสามัญว่า chinese gall โดยจะมักนิยมใช้แก้ไอขับเสมหะ แก้ท้องเสีย รักษาอาการริดสีดวงทวาร [3]
-
ใบ
-
ดอก
-
ผล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล. 2541. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวขมุ ชาวลัวะและชาวถิ่นในบางพื้นที่ของจังหวัดน่านวิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่242 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2020-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548.หน้า 123