สาวทเว็นจัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทเว็นจังจีแกหรือซุปทเว็นจังเป็นอาหารที่ถูกที่สุดจานหนึ่งในประเทศเกาหลีใต้
ในประเทศเกาหลีใต้จะมองว่าสตาร์บัคส์เป็นสิ่งหรูหรา

สาวทเว็นจังหรือทเว็นจังนยอ (เกาหลี된장녀) เป็นวลีในประเทศเกาหลีใต้ซึ่งใช้ดูถูกผู้หญิงที่ "ยอมใช้เงินอย่างกระเบียดกระเสียรกับสิ่งจำเป็นเพื่อเอาเงินไปใช้จ่ายซื้อของหรูหรา"[1] ทเว็นจังคือเต้าเจี้ยวชนิดหนึ่งที่ใช้ในอาหารเกาหลี[2] วลีนี้จึงหมายความถึงผู้หญิงที่ยอมทนกินอาหารถูก ๆ อย่างเช่นทเว็นจังจีแก (หรือซุปทเว็นจัง) เพื่อจะได้เอาเงินไปซื้อของราคาแพง[3]

วลีนี้เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงต้นทศวรรษ 2000[4] จี-อึน เรจีนา ซง นักวิจัยด้านเกาหลีศึกษากล่าวว่าสิ่งที่แสดงแนวคิดของสาวทเว็นจังได้ดีที่สุดก็คือ "แก้วกาแฟสตาร์บัคส์ในมือเธอ"[5] ในประเทศเกาหลีใต้ กาแฟกลายเป็นสัญลักษณ์แสดงความมีระดับในสังคมเกาหลีใต้ตั้งแต่ ค.ศ. 1999 ส่วนสตาร์บัคส์ก็เป็นตัวแทนของความใฝ่ฝันที่จะมีฐานะดี และการดื่มกาแฟสตาร์บัคส์ก็ถือเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะ ใน ค.ศ. 2015 สตาร์บัคส์มีสาขาในกรุงโซลมากกว่าเมืองใหญ่อื่น ๆ ในโลก[3]

บทความของบีบีซีบทความหนึ่งกล่าวว่าวลีนี้แฝงนัยยะเหยียดเพศ[4] ในขณะที่ซงมองว่าวลีดังกล่าวสื่อถึงทั้งเพศและสถานะทางสังคม[5] บทความบีบีซีกล่าวว่าวลีนี้อ้างอิงถึงแนวคิดที่ว่า "ต่อให้จะซื้อกระเป๋าชาเนลสักกี่ใบ เธอก็ซ่อนความเป็นเกาหลีไว้ไม่ได้อยู่ดี และนี่คือสิ่งที่สมควรถูกเย้ยหยัน ในภาษาเกาหลีไม่มีวลี 'หนุ่มทเว็นจัง' สำหรับผู้ชาย"[4]

เนื้อหาส่วนใหญ่ของเพลง "คังนัมสไตล์" ล้อเลียนผู้หญิงลักษณะดังกล่าว[1][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Fisher, Max (23 August 2012). "Gangnam Style, Dissected: The Subversive Message Within South Korea's Music Video Sensation". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 2012-09-17.
  2. Doenjang[ลิงก์เสีย] at doopedia (ในภาษาเกาหลี)
  3. 3.0 3.1 3.2 Rothman, Lauren (19 January 2015). "Korean Women Are Starving Themselves to Afford a Cup of Coffee". Vice (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-25.
  4. 4.0 4.1 4.2 Galer, Sophia Smith (8 April 2021). "The languages with built-in sexism". BBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-24.
  5. 5.0 5.1 Song, Jee Eun Regina (Fall 2014). "The Soybean Paste Girl: The Cultural and Gender Politics of Coffee Consumption in Contemporary South Korea". Journal of Korean Studies (ภาษาอังกฤษ). 19 (2): 429–448. doi:10.1353/jks.2014.0026. ISSN 2158-1665.