ข้ามไปเนื้อหา

สามเหลี่ยมปะการัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สามเหลี่ยมปะการังและประเทศที่มีส่วนร่วมในโครงการฟื้นฟูปะการังข้ามชาติ (Coral Triangle Initiative)[1][2]

สามเหลี่ยมปะการัง (อังกฤษ: Coral triangle) เป็นพื้นที่สามเหลี่ยมโดยประมาณในพื้นทะเลเขตร้อนรอบประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์-เลสเต พื้นที่นี้มีแนวปะการังที่เชื่อมต่อติดกันในแต่ละเขตภูมินิเวศอย่างน้อย 500 ชนิด[3] สามเหลี่ยมปะการังตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย[4] และครอบคลุมภูมิภาคทางชีวภูมิศาสตร์ 2 แห่ง: ภูมิภาคอินโดนีเซีย-ฟิลิปปินส์ และภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ส่วนไกล (Far Southwestern Pacific Region)[5] ในฐานะหนึ่งในแปดเขตแนวปะการังหลังของโลก[6] สามเหลี่ยมปะการังได้รับการยอมรับเป็นศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพทางน้ำ[7] และมีความสำคัญสำหรับการอนุรักษ์ในระดับโลก[8] ความหลากหลายเช่นนี้ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น "ป่าแอมะซอนแห่งทะเล" โดยมีพื้นที่ทะเล 5.7 ล้าน ตารางกิโลเมตร (2,200,000 ตารางไมล์)[9] ใน ค.ศ. 2014 ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) รายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในระบบนิเวศทางทะเลในสามเหลี่ยมปะการังอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี และผลิตอาหารแก่ผู้คนมากกว่า 120 ล้านคน[10][4]

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลได้พิจารณาให้สามเหลี่ยมปะการังมีความสำคัญสูงสุดในการอนุรักษ์ทางทะเล และมีความเสี่ยงที่จะถูกคุกคาม โดยทำการเปิดตัวโครงการสามเหลี่ยมปะการังขึ้น[11]ใน ค.ศ. 2007 ศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพในสามเหลี่ยมนี้อยู่ที่ช่องผ่านเกาะเวร์เดในประเทศฟิลิปปินส์[12] พื้นที่แนวปะการังแห่งเดียวในภูมิภาคที่ได้รับการบรรจุลงในแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกคืออุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮาในประเทศฟิลิปปินส์[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Weeks, Rebecca; Aliño, Porfirio M.; Atkinson, Scott; Beldia, Pacifico; Binson, Augustine; Campos, Wilfredo L.; Djohani, Rili; Green, Alison L.; Hamilton, Richard; Horigue, Vera; Jumin, Robecca; Kalim, Kay; Kasasiah, Ahsanal; Kereseka, Jimmy; Klein, Carissa; Laroya, Lynette; Magupin, Sikula; Masike, Barbara; Mohan, Candice; Da Silva Pinto, Rui Miguel; Vave-Karamui, Agnetha; Villanoy, Cesar; Welly, Marthen; White, Alan T. (4 March 2014). "Developing Marine Protected Area Networks in the Coral Triangle: Good Practices for Expanding the Coral Triangle Marine Protected Area System". Coastal Management. 42 (2): 183–205. doi:10.1080/08920753.2014.877768.
  2. Gray, Alex (13 September 2018). "The 'Coral Triangle' is the largest of its kind, and it's dying". Global Agenda. World Economic Forum. สืบค้นเมื่อ 20 November 2020.
  3. Veron et al. Unpublished data
  4. 4.0 4.1 Asaad, Irawan; Lundquist, Carolyn J.; Erdmann, Mark V.; Hooidonk, Ruben Van; Costello, Mark J. (5 November 2018). "Designating Spatial Priorities for Marine Biodiversity Conservation in the Coral Triangle". Front. Mar. Sci. 5: 400. doi:10.3389/fmars.2018.00400. S2CID 53294894.
  5. Veron, J.E.N. 1995. Corals in space and time: biogeography and evolution of the Scleractinia. UNSW Press, Sydney, Australia: xiii + 321 pp.
  6. Speers, A. E., Besedin, E. Y., Palardy, J. E., & Moore, C. (2016). Impacts of climate change and ocean acidification on coral reef fisheries: an integrated ecological–economic model. Ecological economics, 128, 33-43. Retrieved 26 September 2020
  7. Allen, G. R. 2007 Conservation hotspots of biodiversity and endemism for Indo-Pacific coral reef fishes. Aquatic Conserv: Mar. Freshw. Ecosyst. doi:10.1002/aqc.880
  8. Briggs, J. C. 2005a. The marine East Indies: diversity and speciation. Journal of Biogeography 32: 1517-1522
  9. "ADB to help improve resources management in coral triangle". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-17. สืบค้นเมื่อ 2011-05-23.
  10. "Coral reef destruction spells humanitarian disaster".
  11. WWF Coral Triangle Program
  12. "Verde Island Passage".
  13. ""World Heritage Coral Reefs" Exhibit opens in Paris".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]