สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ในจิตวิทยาสังคม สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (อังกฤษ: interpersonal relationship) หรือ มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงการรวมตัวกัน ความสัมพันธ์ และความผูกพันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งมีหลายแง่มุมที่ซ้อนทับกับแนวคิดของความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานที่สุดของการวิเคราะห์ทางสังคมศาสตร์ โดยสัมพันธภาพระหว่างบุคคลจะแตกต่างกันไปตามความใกล้ชิด การเปิดเผยตนเอง ช่วงเวลา การพึ่งพาอาศัยกัน และการกระจายอำนาจ โดยมีหัวข้อหรือแนวโน้มหลักที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ ครอบครัว ความเป็นญาติ มิตรภาพ ความรัก การสมรส การดำเนินธุรกิจ การจ้างงาน ความเป็นเพื่อนบ้าน ค่านิยม การค้ำจุน ความเป็นปึกแผ่น และอาจอยู่ภายใต้กฎหมาย บรรทัดฐาน หรือข้อตกลงร่วมกันระหว่างบุคคล และเกิดเป็นรากฐานของสังคมและกลุ่มทางสังคม และเกิดขึ้นเมื่อบุคคลติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันภายในบริบททางสังคมที่เฉพาะเจาะจง[1] และเติบโตได้ด้วยการประนีประนอมอย่างยุติธรรมกันทุกฝ่าย[2]
การวิเคราะห์สัมพันธภาพระหว่างบุคคลแบบสหวิทยาการจะเกี่ยวข้องกับวิชาต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงมานุษยวิทยา ภาษาศาสตร์ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ การสื่อสาร คณิตศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ และวัฒนธรรมศึกษา และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่วิชาเหล่านั้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ye, Jinhui; Ye, Xiaoting (4 November 2020). "Adolescents' interpersonal relationships, self-consistency, and congruence: Life meaning as a mediator". Social Behavior and Personality. 48 (11): 1–11. doi:10.2224/sbp.9428. S2CID 226526839.
- ↑ Molm, Linda D.; Schaefer, David R.; Collett, Jessica L. (2007). "The Value of Reciprocity". Social Psychology Quarterly. 70 (2): 199–217. doi:10.1177/019027250707000208. JSTOR 20141780. S2CID 146252068.