สภาผู้แทนราษฎรภูฏาน
สภาผู้แทนราษฎรภูฏาน འབྲུག་གི་རྒྱལ་ཡོངས་ཚོགས་འདུ་ | |
---|---|
ประเภท | |
ประเภท | |
ผู้บริหาร | |
ประธานสภา | ลังเตน โดรจิ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 |
รองประธานสภา | ซันเกย์ คานดุ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 |
นายกรัฐมนตรี | เชอริง ต๊อบเกย์ 28 มกราคม พ.ศ. 2567 |
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร | เปมา เชวัง 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 |
สมาชิก | 47 คน พรรค PDP 30 ที่นั่ง พรรค BTP 17 ที่นั่ง |
ที่ประชุม | |
อาคารรัฐสภา กรุงทิมพู |
สภาผู้แทนราษฎรภูฏานเป็นสภาล่างที่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งของรัฐสภาภูฏานอันเป็นระบบสภาคู่ใหม่ของประเทศภูฏาน ซึ่งยังประกอบด้วยพระมหากษัตริย์และสภาแห่งชาติ
สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน
[แก้]สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบันมีสมาชิก 47 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 และ 9 มกราคม พ.ศ. 2567 พรรคประชาธิปไตยประชาชนของภูฏาน ที่มีเชอริง ต๊อบเกย์เป็นหัวหน้า ชนะการเลือกตั้งโดยได้ 30 ที่นั่งในสภา พรรคภูฏานเทรนเดลโดยมี เปมา เชวัง เป็นหัวหน้าพรรคได้อีกสิบเจ็ดที่นั่งที่เหลือ
ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสูงสุด 47 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองแต่ละเขตเลือกตั้งในเขต (Dzongkhag)[1] ภายใต้ระบบเลือกตั้งผู้ชนะคนเดียวนี้ แต่ละเขตเลือกตั้งจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หนึ่งคน จาก 20 เขตต้องมีผู้แทนอยู่ระหว่าง 2-7 คน ทุก 10 ปีจะมีการกำหนดจำนวนผู้แทนในแต่ละเขตเลือกตั้งใหม่[1] สภาผู้แทนราษฎรประชุมกันอย่างน้อยปีละสองครั้ง และเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรจากสมาชิก สมาชิกและผู้สมัครได้รับอนุญาตให้สังกัดพรรคการเมือง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Constitution of the Kingdom of Bhutan (English)" (PDF). Government of Bhutan. 2008-07-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "เว็บไซต์ทางการ". สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.