สนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันฝรั่งเศส-โซเวียต
สนธิสัญญาให้ความช่วยเหลือระหว่างกันระหว่างฝรั่งเศส-โซเวียต (อังกฤษ: Franco-Soviet Treaty of Mutual Assistance) เป็นสนธิสัญญาสองฝ่ายระหว่างทั้งสองประเทศ มีเป้าหมายที่จะจำกัดวงของการรุกรานจากเยอรมนีในปี ค.ศ. 1935 สนธิสัญญานี้เป็นไปตามนโยบายของ หลุยส์ บาร์ธู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส แต่เขาถูกลอบสังหารเสียก่อนที่การเจรจาจะสำเร็จผล ผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาคือ ปิแอร์ ลาวาล เกิดความสงสัยเกี่ยวกับความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้จากการตกลงเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการประกาศฟื้นฟูกองทัพเยอรมันในเดือนมีนาคม 1935 รัฐบาลฝรั่งเศสก็กดดันให้เขาต้องฝืนใจเจรจากับสหภาพโซเวียตให้สำเร็จ
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 1935 ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตได้ข้อสรุปในการลงนามในสนธิสัญญาให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน ปิแอร์ ลาวาล ได้ยึดหลักปลอดภัยไว้ก่อนเพื่อให้ความมั่นใจว่าข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายนั้นจะตรงกันอย่างแน่นอนกับข้อตกลงของสันนิบาตชาติและสนธิสัญญาโลคาร์โน การให้การสนับสนุนกันทางทหารนั้นจะได้รับในทันทีที่ส่งสนธิสัญญาดังกล่าวให้กับสันนิบาตชาติ และความเห็นพ้องต้องกันกับชาติอื่นๆ ที่ลงนามในสนธิสัญญาโลคาร์โน ประสิทธิภาพของสนธิสัญญาดังกล่าวนั้นได้ถูกบ่อนทำลายโดยการยืนกรานปฏิเสธของรัฐบาลฝรั่งเศสที่จะยอมรับเงื่อนไขของสัญญา ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์กับเยอรมนี
หลังจากสนธิสัญญาดังกล่าว ได้มีการเปรียบเทียบว่าสนธิสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นมากกว่าภัยทางการทูตต่อเยอรมนีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้สังเกตการณ์ได้กล่าวว่าแนวรบทั้งสองด้านจะไม่ส่งผลกระทบต่อเยอรมนีไม่มากนัก และควรที่จะดำเนินการต่อด้วยนโยบายต่างประเทศที่รุนแรง ชาติในสนธิสัญญาโลคาร์โนส่วนใหญ่รู้สึกว่ามันเป็นการกระทำที่จะลากพวกเขาไปสู่ความพินาศ และการเข้าสู่สงครามกับเยอรมนีนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อสหภาพโซเวียตเอง และฮิตเลอร์ยังได้ใช้สาเหตุดังกล่าวในการยึดครองไรน์แลนด์ หลังจากที่เยอรมนีเสียเปรียบอย่างมากจากสนธิสัญญาแวร์ซาย
เนื้อหา
[แก้]มาตราที่ 1
ในกรณีที่ฝรั่งเศสหรือสหภาพโซเวียตนั้นได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งจากรัฐอื่นๆ ภายในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตจะให้ความร่วมมือระหว่างกัน ในความพยายามที่จะดำรงรักษาเนื้อหาในมาตราที่ 10 ของสนธิสัญญาสันนิบาตชาติ
มาตราที่ 2
ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์อย่างที่ได้อธิบายไว้ในมาตราที่ 15 วรรค 7 ของสนธิสัญญาสันนิบาตชาติ ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตจะช่วยเหลือกันในกรณีที่เกิดความขัดแย้งในมหาสมุทรแปซิฟิก และยังคงอยู่ในฐานะผู้ไม่รุกรานของรัฐยุโรป ทั้งสองประเทศก็จะให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน
มาตราที่ 3
การพิจารณาความจริงที่ว่า ตามบทบัญญัติในมาตราที่ 16 ของสนธิสัญญาแห่งสันนิบาตชาติ สมาชิกทุกประเทศซึ่งเข้าสู่สงครามดังที่ได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 12 มาตราที่ 13 หรือมาตราที่ 15 ของสนธิสัญญา คือ ipso facto ซึ่งได้รับการพิจารณาว่าเป็นการกระทำเพื่อการทำสงครามกับประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นสมาชิก ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียต และมอบความช่วยเหลือให้แก่ประเทศที่ถูกโจมตีตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 16 ของสนธิสัญญาแห่งสันนิบาติชาติ การบังคับนี้ยังรวมไปถึงฝรั่งเศสหรือสหภาพโซเวียตด้วย ตามบทบัญญัติในมาตราที่ 17 วรรค 1 และ 3 ของสนธิสัญญาแห่งสันนิบาตชาติ
Protocole de Signature
มาตราที่ 1
เป็นที่เข้าใจกันว่าผลที่ตามมาเนื่องจากบทบบัญญัติในมาตราที่ 3 นั้นจะบังคับให้คู่สัญญาได้มอบความช่วยเหลือระหว่างกันในทันทีทันใด ตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 16 ของสนธิสัญญาแห่งสันนิบาตชาติ
อ้างอิง
[แก้]- Ragsdale, Hugh. The Soviets, the Munich Crisis, and the Coming of World War II