สนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง
สนธิสัญญาระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตว่าด้วยการกำจัดขีปนาวุธพิสัยกลางและพิสัยสั้นกว่าของสองประเทศ
Gorbachev and Reagan sign the INF Treaty.
ประเภทการลดอาวุธนิวเคลียร์
วันลงนาม8 ธันวาคม 2530 เวลา 13:45[1]
ที่ลงนามทำเนียบขาว วอชิงตัน ดี.ซี.
วันมีผล1 มิถุนายน 2531
เงื่อนไขสหภาพโซเวียตกับสหรัฐให้สัตยาบัน
วันหมดอายุ1 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้ลงนาม สหภาพโซเวียต: มีฮาอิล กอร์บาชอฟ
 สหรัฐ: โรนัลด์ เรแกน
ภาษาอังกฤษและรัสเซีย
Text of the INF Treaty

สนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง (อังกฤษ: Intermediate-Range Nuclear Forces Treaty) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตว่าด้วยการกำจัดขีปนาวุธพิสัยกลางและพิสัยสั้นกว่าของสองประเทศ (อังกฤษ: Treaty Between the United States of America and the Union of Soviet Socialist Republics on the Elimination of Their Intermediate-Range and Shorter-Range Missiles) เป็นความตกลงควบคุมอาวุธในปี 2530 ระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียต (และรัฐสืบทอดได้แก่ สหพันธรัฐรัสเซีย) มีการลงนามในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน และเลขาธิการมีฮาอิล กอร์บาชอฟเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2530 วุฒิสภาสหรัฐอนุมัติสนธิสัญญาฯ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2531 และเรแกนและกอร์บาชอฟให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2531

สนธิสัญญาฯ กำจัดขีปนาวุธทิ้งตัวและขีปนาวุธร่อนที่ตั้งอยู่บนพื้นดินทั้งปวง ตลอดจนเครื่องยิงขีปนาวุธ ที่มีพิสัย 500–1,000 กิโลเมตร (พิสัยกลางสั้น) และ 1,000–5,500 กิโลเมตร (พิสัยกลาง) สนธิสัญญาฯ ไม่ครอบคลุมขีปนาวุธที่ยิงจากอากาศหรือทะเล[2][3] ภายในเดือนพฤษภาคม 2534 มีขีปนาวุธถูกกำจัด 2,692 ลูก ตามด้วยการตรวจสอบยืนยันในพื้นที่เป็นเวลา 10 ปี[4]

ประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนสหรัฐจากสนธิสัญญาฯ โดยอ้างว่ารัสเซียไม่ปฏิบัติตาม เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2561[5] สหรัฐระงับสนธิสัญญาดังกล่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562[6] เช่นเดียวกับรัสเซียอีกหนึ่งวันถัดมา[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Garthoff, Raymond L. (1994). The Great Transition: American-Soviet Relations and the End of the Cold War. Washington, DC: Brookings Institution. p. 326. ISBN 978-0-8157-3060-6. The reason for this precision of timing… was a mystery to almost everyone in both governments… Only much later did it become known that the time had been selected as propitious by Nancy Reagan's astrologer
  2. "INF Treaty". United States Department of State. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  3. Kramer, Andrew E.; Specia, Megan (1 February 2019). "What Is the I.N.F. Treaty and Why Does It Matter?" – โดยทาง NYTimes.com.
  4. Stockholm International Peace Research Institute (2007). SIPRI Yearbook 2007: Armaments, Disarmament, and International Security. New York, NY: Oxford University Press. p. 683. ISBN 978-0-19-923021-1.
  5. Pengelly, Martin (20 October 2018). "Trump says US will withdraw from nuclear arms treaty with Russia". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 20 October 2018.
  6. "Pompeo announces suspension of nuclear arms treaty". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-02-01.
  7. "Russia suspends INF treaty in 'mirror response' to US – Putin". Russia Today. 2 February 2019. สืบค้นเมื่อ 2 February 2019.