สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504)
สงครามอิตาลีครั้งที่ 2 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามอิตาลี | |||||||||
ยุทธการที่เชริญโญลา สงครามแรกที่ชนะด้วยปืนใหญ่ขนาดเล็กที่ใส่ดินปืน[1] | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ฝรั่งเศส, สาธารณรัฐเวนิส ราชอาณาจักรอารากอน (ถึง ค.ศ. 1501) |
อาณาจักรดยุคแห่งมิลาน, ราชอาณาจักรเนเปิลส์, ราชอาณาจักรอารากอน (หลัง ค.ศ. 1501) | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
หลุยส์ ดามาญญัค ดยุคแห่งนามูร์† |
กอนซาโล แฟร์นานเดซ เดอ คอร์โดบา บาร์โทโลเมโอ ดาลวิอาโน |
สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1499-1504) หรือ สงครามอิตาลีครั้งที่ 2 หรือ สงครามอิตาลีของหลุยส์ที่ 12 หรือ สงครามชิงเนเปิลส์ (อังกฤษ: Italian War of 1499–1504 หรือ Second Italian War หรือ Louis XII's Italian War หรือ War over Naples) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1559) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1499 จนถึง ค.ศ. 1504 สงครามอิตาลีครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการต่อสู้ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสและพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งสเปนโดยมีผู้สนับสนุนในจากมหาอำนาจในอิตาลี หลังจากสงครามอิตาลีครั้งที่ 1 พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงดำเนินความพยายามในการอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของอาณาจักรดยุคแห่งมิลานและราชอาณาจักรเนเปิลส์ต่อไป
ในปี ค.ศ. 1499 พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับสาธารณรัฐเวนิสและสวิส และทรงนำทัพมารุกรานอาณาจักรดยุคแห่งมิลาน เมื่อลุโดวิโค สฟอร์ซา ดยุคแห่งมิลาน (Ludovico Sforza) กลับมาจาการไปจ้างทหารรับจ้างสวิสก็พบว่ามิลานถูกยึดครองโดยจาน จิอาโคโม ทริวูลซิโอ (Gian Giacomo Trivulzio) ผู้เป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ไม่นานกองทัพของลุโดวิโคก็แตกระส่ำระสาย และลุโดวิโคเองถูกจับตัวไปขังไว้ในฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1501 พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงลงพระนามในสนธิสัญญาเทรนเทกับจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาออสเตรียรับรองการยึดดินแดนของฝรั่งเศสทางตอนเหนือของอิตาลีทั้งหมด
จากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็ทรงมีความมั่นพระทัยจากการที่ทรงได้รับความสำเร็จ จนไปทรงทำพันธสัญญาพันธมิตรกับพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งสเปนเพื่อต่อต้านเนเปิลส์ โดยทรงเสนอแบ่งเนเปิลส์ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงยินดีตกลงตามข้อเสนอในสนธิสัญญากรานาดาที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1500 ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาสเปนสนับสนุนฝรั่งเศสในการอ้างสิทธิในราชอาณาจักรเนเปิลส์ เป็นการแลกเปลี่ยนกับดินแดนที่จะทรงได้รับจากการแบ่ง
ในปี ค.ศ. 1501 กองทัพฝรั่งเศสและสเปนก็ยึดเนเปิลส์ แต่หลังจากนั้นกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ก็ทรงทะเลาะกันเรื่องการแบ่งดินแดนที่ได้มา พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงยืนยันให้ยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ของทั้งเนเปิลส์ และ ซิซิลี ที่เป็นผลให้นำไปสู่สงครามระหว่างฝรั่งเศสและสเปน หลังจากที่ทรงได้รับความพ่ายแพ้ในยุทธการแซรินโยลา (Battle of Cerignola) และ ยุทธการการิกลิอาโน (Battle of Garigliano) ต่อสเปนภายใต้การนำของ กอนซาโล แฟร์นานเดซ เดอ คอร์โดบา พระเจ้าหลุยส์ก็ทรงจำต้องเลิกยึดเนเปิลส์และถอยทัพกลับไปยังลอมบาร์ดี
สนธิสัญญา
[แก้]สนธิสัญญาลิยงส์ที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1504 ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศสทรงยกเนเปิลส์แก่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งสเปน ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาฝรั่งเศสยกเนเปิลส์แก่สเปน นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายก็ยังระบุดินแดนในการปกครองของแต่ละฝ่ายในอิตาลี ฝรั่งเศสได้ดินแดนทางตอนเหนือของอิตาลีตั้งแต่มิลาน ส่วนสเปนได้ซิซิลีและอิตาลีตอนใต้
สนธิสัญญาบลัวส์ที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1504 เป็นสนธิสัญญาที่เสนอการเสกสมรสระหว่างคาร์ลแห่งลักเซมเบิร์กผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ กับ โคลดแห่งฝรั่งเศส พระราชธิดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 และ แอนน์แห่งบริตานี
ในกรณีที่พระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคตโดยไม่รัชทายาทที่เป็นชาย คาร์ลแห่งลักเซมเบิร์กก็จะได้รับสินสอดทองหมั้นเป็นอาณาจักรดยุคแห่งมิลาน, อาณาจักรดยุคแห่งเจนัวและรัฐบริวาร, อาณาจักรดยุคแห่งบริตานี, อาณาจักรเคานท์แห่งอาสตี และ อาณาจักรเคานท์แห่งบลัวส์, อาณาจักรดยุคแห่งเบอร์กันดี, เมืองอุปราชแห่งโอซอน, โอแซร์รัวส์, มาซงเนส์ และ บาร์-เซอร์-แซน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Clodfelter, Micheal (2017). Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492-2015, 4th ed. McFarland. p. 10. ISBN 978-0786474707.
- Phillips, Charles and Alan Axelrod. Encyclopedia of Wars. New York: Facts on File, 2005. ISBN 0-8160-2851-6.