สงครามพิวนิกครั้งที่หนึ่ง
สงครามพิวนิกครั้งที่หนึ่ง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามพิวนิก | |||||||||
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกในปี 264 ก่อนคริสตกาล โรม (แดง), คาร์เธจ (ม่วง), ซีรากูซา (เขียว) | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
สาธารณรัฐโรมัน |
คาร์เธจ ซีรากูซา | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
มาร์คัส แอทิลิอุส เรกูลุส (เชลย) กาอิอุส ลูทาชิอุส คาทูลุส กาอิอุส ดูอิลิอุส |
แฮมิลการ์ บาร์กา แฮนโนผู้ยิ่งใหญ่ แฮสดรูบัลผู้รูปงาม แซนทิปปุส | ||||||||
กำลัง | |||||||||
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
เรือควินเควอรีม 700 ลำ ตาย 400,000 คน (รวมพลเมืองโรมัน 50,000 คน) | เรือควินเควอรีม 500 ลำ |
สงครามพิวนิกครั้งที่หนึ่ง เกิดขึ้นระหว่าง 264–241 ปีก่อนคริสตกาล สงครามครั้งนี้เป็นสงครามครั้งแรกจากทั้งหมดสามครั้งของสงครามพิวนิก ซึ่งเป็นการสู้รบเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก ระหว่างสาธารณรัฐโรมันกับคาร์เธจโบราณ[1]
สงครามเริ่มขึ้นในปี 264 ก่อนคริสตกาล เมื่อโรมและคาร์เธจเข้าแทรกแซงความขัดแย้งระหว่างเมืองเมสซีนาและซีรากูซาบนเกาะซิซิลี[2] ในปี 262 ก่อนคริสตกาล โรมเอาชนะคาร์เธจในยุทธการที่อากรีเจนตัม ทำให้โรมยึดเกาะซิซิลีไว้ได้เกือบทั้งหมด คาร์เธจจึงหันมารบทางทะเลที่พวกตนชำนาญ ด้านโรมซึ่งในขณะนั้นไม่มีกองเรือสร้างเรือเลียนแบบของคาร์เธจและคิดค้น คอร์วัส อุปกรณ์สำหรับขึ้นเรือฝ่ายตรงข้ามเพื่อรบบนเรือแทนการใช้เรือพุ่งชนตามปกติ วิธีนี้ทำให้โรมชนะในยุทธนาวีไมไล[3] ต่อมาฝ่ายโรมพยายามรุกเข้าสู่แอฟริกาเหนือ แต่พ่ายแพ้ในยุทธการที่บากราดาสและแม่ทัพมาร์คัส แอทิลิอุส เรกูลุสถูกจับตัว ทั้งสองฝ่ายผลัดกันแพ้ชนะจนในปี 241 ก่อนคริสตกาล โรมเอาชนะคาร์เธจในการรบทางเรือใกล้หมู่เกาะอีกาเดียน นอกชายฝั่งซิซิลี แฮมิลการ์ บาร์กา แม่ทัพชาวคาร์เธจซึ่งไม่มีกองเรือสนับสนุนถูกบังคับให้ยอมจำนน ทั้งสองฝ่ายลงนามในสนธิสัญญาลูทาชิอุส โดยคาร์เธจต้องถอนกำลังออกจากซิซิลีและจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้โรม[4]
ความพ่ายแพ้ทำให้คาร์เธจประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและทหารรับจ้างคาร์เธจลุกฮือขึ้นก่อสงครามเพราะไม่ได้รับค่าจ้าง ด้านโรมฉวยโอกาสนี้ผนวกคอร์ซิกาและซาร์ดิเนีย ในปี 237 ก่อนคริสตกาล แฮมิลการ์เริ่มขยายอิทธิพลไปในคาบสมุทรไอบีเรียเพื่อสร้างฐานอำนาจใหม่ให้คาร์เธจ อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามพิวนิกครั้งที่สองในอีกยี่สิบปีต่อมา[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Punic Wars". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ July 30, 2018.
- ↑ N.S. Gill (March 8, 2017). "Overview of Events of the First Punic War". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ July 30, 2018.
- ↑ Addington 1990, p. 29 .
- ↑ Lazenby, J. F. First Punic War: A Military History. Stanford University Press, 1996.
- ↑ Astin; และคณะ (1989). The Cambridge Ancient History. Cambridge University Press. p. 42-43. ISBN 9780521234481.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สงครามพิวนิกครั้งที่หนึ่ง
- Mark Cartwright. "First Punic War". Ancient History Encyclopedia.