ข้ามไปเนื้อหา

สกาย คิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกาย คิม
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเกิดฮานึล คิม
ชื่อเล่นสกาย
สัญชาติออสเตรเลีย
เกิด (1982-11-24) 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 (42 ปี)
แทกู ประเทศเกาหลีใต้
ส่วนสูง183 ซม. (72 in)
น้ำหนัก95 กก. (210 lb)
กีฬา
ประเทศออสเตรเลีย
กีฬายิงธนู
ประเภทธนูโค้งกลับชาย
ผู้ฝึกสอนลี กีซิก
โอ คินมุน
รายการเหรียญรางวัล
ยิงธนู
ตัวแทนของ ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย

ฮานึล "สกาย" คิม (เกาหลี: 하늘 "스카이" 김; อังกฤษ: Ha-Neul "Sky" Kim; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 – ) เป็นนักยิงธนูโอลิมปิกทีมชาติออสเตรเลีย

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

สกายมีชื่อเต็มคือ ฮานึล "สกาย" คิม[1] เขามีพื้นเพมาจากประเทศเกาหลีใต้และเกิดในแทกู ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982[1][2] และใน ค.ศ. 2006 เขาก็กลายเป็นพลเมืองออสเตรเลีย[2] เขามีส่วนสูงที่ 183 เซนติเมตร (6.00 ฟุต) และน้ำหนัก 95 กิโลกรัม (209 ปอนด์)[1] ส่วนพ่อและพี่ชายของเขาต่างก็เป็นนักยิงธนูเช่นเดียวกัน[2] ทั้งนี้ เขาได้แต่งงานกับเพื่อนนักยิงธนูชื่อ จุง ฮยอน-อก ที่เขาได้พบเมื่อช่วงทำการฝึกยิงธนูใน ค.ศ. 2000[3]

การยิงธนู

[แก้]

คิมเข้าแข่งขันในการยิงธนู เขาได้รับทุนสถาบันกีฬาออสเตรเลีย[4] และได้รับการฝึกฝนโดย ลี กีซิก[2] ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมสถาบันกีฬาออสเตรเลียใน ค.ศ. 2005[3] เพื่อช่วยให้เขาได้รับการฝึกยิงธนู เขาได้เรียนรู้จากการปีนเขาและการเล่นกอล์ฟ[3]

ใน ค.ศ. 2004 เขาเป็นแชมป์ยิงธนูของเกาหลี[2][5] ใน ค.ศ. 2007 เขาเข้าแข่งขันรายการทดสอบที่กรุงปักกิ่ง[2] ซึ่งเขาได้รับรางวัลเหรียญทอง[6] ใน ค.ศ. 2008 เขาเข้ารับการฝึกที่สถาบันกีฬาออสเตรเลีย[2] ในการเข้าสู่เกมส์ 2008 เขาได้รับการฝึกสอนโดยโค้ชของสถาบันกีฬาออสเตรเลียที่มีชื่อว่า โอ คินมุน[5] ในการแข่งขันเวิลด์คัพ 2008 ที่ซานโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน เขาได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมออสเตรเลียที่ได้รับรางวัลเหรียญเงิน[7] เขากลับมาร่วมทีมยิงธนูของออสเตรเลียใน ค.ศ. 2011 ภายหลังจากห่างหายไปนับจากโอลิมปิก 2008[8] เขาเข้าเรียนที่ค่ายฝึกอบรมทีมชาติในแคนเบอร์ราในเดือนกันยายน ค.ศ. 2011[9] และเข้าเรียนที่ค่ายดังกล่าวอีกครั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012[9] ในการแข่งขันยิงธนูเป้าหมายชิงแชมป์แห่งชาติ 2012 เขาประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในฐานะสมาชิกของเอเอซีที[10] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 เขาพลาดการเข้าค่ายฝึกอบรมทีมชาติในบูเดอริมเพราะเขามีภาระผูกพันในการทำงาน[11]

โอลิมปิก

[แก้]

ใน ค.ศ. 2004 เขาได้เป็นแชมป์ยิงธนูของประเทศเกาหลี และเขาหวังที่จะได้รับเลือกให้เข้าแข่งขันโอลิมปิกจากประเทศเกาหลีแต่ก็พลาดการคัดเข้าร่วมทีม[2][5] ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง เขาได้เข้าแข่งขันทั้งในประเภททีมและประเภทบุคคลให้แก่ทีมออสเตรเลีย[5] คิมทำคะแนนรวมในรอบจัดอันดับได้ 665 คะแนนโดยอยู่ในอันดับที่ 14 และสามารถเข้าสู่รอบน็อคเอาท์โดยได้พบกับ โรแมง กีรูยย์ ในรอบแรก ที่ซึ่งเขาเป็นฝ่ายชนะนักยิงธนูชาวฝรั่งเศสด้วยคะแนน 112-110[12] ส่วนในรอบที่สองเขาเป็นฝ่ายแพ้ต่อ ยาเคค พรอช ที่คะแนน 111-110[13] เขายังเขามีส่วนในการแข่งขันประเภททีมร่วมกับ แมทธิว เกรย์ และ ไมเคิล นารายณ์ โดยเขาทำได้ 665 คะแนนในรอบจัดอันดับ รวมกับ 654 คะแนนจากเกรย์ และ 658 คะแนนจากนารายณ์ โดยทีมออสเตรเลียอยู่ในอันดับ 9 เมื่อเสร็จสิ้นรอบจัดอันดับ[14] และในคู่แรกของรอบน็อคเอาท์แปดทีม พวกเขาได้แพ้ต่อทีมโปแลนด์ที่คะแนน 223-218 โดยทีมโปแลนด์เองก็ไม่สามารถฝ่ารอบควอเตอร์ไฟนอลไปได้[13] ใน ค.ศ. 2008 นี้เองที่เขาได้เป็นตัวแทนให้แก่ทีมชาติออสเตรเลียในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ของการแข่งขันยิงธนู[2] เขาได้รับการมองว่าเป็นผู้ที่มีโอกาสรับเหรียญรางวัลมากที่สุดของออสเตรเลียจากการแข่งขันดังกล่าว[5] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 เขาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนักยิงธนูเงาของทีมโอลิมปิกออสเตรเลีย[9] ในผลการยิงของการคัดเลือกนักยิงธนูเจ้าแข่งขันโอลิมปิก 2012 เขาจบเกมด้วยอันดับหนึ่งที่ 2,669 คะแนน[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Sky Kim Biography and Olympic Results | Olympics at". Sports-reference.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2020. สืบค้นเมื่อ 7 June 2012.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Gardiner, James; Allen, Rod (19 July 2008). "Archery – Sports – Olympics". Melbourne, Victoria: The Age. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Archery — Sports — Olympics". Melbourne, Victoria: The Age. 4 August 2008. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
  4. "Olympic Games : Australian Institute of Sport : Australian Sports Commission". Ausport.gov.au. 2008-01-09. สืบค้นเมื่อ 2012-06-06.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Kim leads archery hopes for Beijing". Melbourne, Victoria: The Age. 21 กุมภาพันธ์ 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2012.
  6. "Archery : Australian Institute of Sport : Australian Sports Commission". Ausport.gov.au. 2011-01-19. สืบค้นเมื่อ 2012-06-06.
  7. "Archery Australia". Archery.org.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-11. สืบค้นเมื่อ 2012-06-06.
  8. "Archery: Search on for new coach". Wwos.ninemsn.com.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-18. สืบค้นเมื่อ 2012-06-06.
  9. 9.0 9.1 9.2 Warhurst, Lucy (5 September 2011). "Archery Australia High Performance Program Update". Archery Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
  10. "2012 National Target Archery Championships" (PDF). Tuggernong, Australian Capital Territory: Archery Australia. March 2012. สืบค้นเมื่อ 6 June 2012.[ลิงก์เสีย]
  11. Mark Bode (22 May 2012). "Confident Tyack set for Olympics | Shooting". Fraser Coast Chronicle. สืบค้นเมื่อ 6 June 2012.
  12. "Archers on target early for Australia — ABC News (Australian Broadcasting Corporation)". Abc.net.au. 2008-08-13. สืบค้นเมื่อ 2012-06-06.
  13. 13.0 13.1 "Results Beijing 2008". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-07. สืบค้นเมื่อ 2008-09-07.
  14. "Archery — Sports — Olympics". Melbourne, Victoria: The Age. 12 August 2008. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
  15. "Archery Australia". Archery.org.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-24. สืบค้นเมื่อ 2012-06-06.