ข้ามไปเนื้อหา

ศิลาพิคท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานสร้างแทนของศิลาฮิลตันแห่งแคดโบลล์ ศิลาชั้น 2 ตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งดั้งเดิม ศิลาดั้งเดิมอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สกอตแลนด์

ศิลาพิคท์ (อังกฤษ: Pictish stones) เป็นศิลาจารึกขนาดใหญ่ที่พบในสกอตแลนด์ ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของแนวไคลด-ฟอร์ธ ศิลาเหล่านี้เป็นหลักฐานของชาวพิคท์ และเชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9

จุดประสงค์และความหมาย

[แก้]
ศิลาเคิร์คยาร์ด ศิลาชั้น 2 , ราว ค.ศ. 800 อเบอร์เลมโน

จุดประสงค์ของการสร้างศิลาดังกล่าวเข้าใจกันเพียงเล็กน้อย ที่อาจจะเป็นการสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ส่วนตัว พร้อมด้วยสัญลักษณ์ของตระกูล เชื้อสาย หรือ ผู้เกี่ยวข้อง ศิลาบางแท่งเช่นศิลาอีสซีเป็นภาพประเพณีและพิธีกรรมโบราณ[1] ศิลาเพียงจำนวนไม่กี่แท่งที่พบเกี่ยวข้องกับที่ฝังศพ และก็อาจจะไม่ใช่ที่ตั้งดั้งเดิม นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นเครื่องหมายในการระบุเขตแดนของเผ่าชนก็เป็นได้

อันดับ

[แก้]

ใน “อนุสรณ์สถานของคริสเตียนในสกอตแลนด์” (ค.ศ. 1903) เจ โรมิลลี แอลเลน และ โจเซฟ แอนเดอร์สันจัดศิลาพิคท์เป็นสามอันดับ นักวิจารณ์กล่าวถึงจุดอ่อนของกลุ่มที่จัดขึ้นแต่ก็ยังเป็นที่ใช้กันอยู่

  • อันดับ 1 — ศิลาที่ไม่มีการตกแต่งด้วยสัญลักษณ์หรือรอยสลัก ไม่มีกางเขนปรากฏทั้งสองด้าน ศิลาอันดับ 1 สร้างมาตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8
  • อันดับ 2 — ศิลาที่เป็นสี่เหลี่ยมที่มีกางเขนและสัญลักษณ์ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน สัญลักษณ์หรือลวดลายคริสเตียนแกะเป็นลายนูน และบนตัวกางเขนสลักเป็นลวดลาย ศิลาอันดับ 2 สร้างมาตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9
  • อันดับ 3 — ศิลาอันดับนี้ไม่มีสัญลักษณ์ของพิคท์ ศิลาอาจจะเป็นแผ่นกางเขน, ศิลาแสดงที่ฝังศพ, กางเขนลอย และ สักการะสถาน ศิลาอันดับ 3 สร้างมาตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]