ข้ามไปเนื้อหา

ว่าด้วยสงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าปก "ว่าด้วยสงคราม" ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก

ว่าด้วยสงคราม (เยอรมัน: Vom Kriege) เป็นตำราพิชัยสงคราม เริ่มแต่งโดยพลตรีคาร์ล ฟ็อน เคลาเซอวิทซ์ เมื่อปีค.ศ. 1827 โดยเรียบเรียงจากสงครามนโปเลียน แต่เขาเสียชีวิตก่อนจะเขียนเสร็จ ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาเยอรมันในปี ค.ศ. 1832

ตำราพิชัยสมัยเก่าโดยเฉพาะของจีน ให้ความสำคัญต่อกษัตริย์และแม่ทัพ ซึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และไม่รวมสถานการณ์ของประชาชนอยู่ในสมการสงคราม อย่างไรก็ตาม เคลาเซอวิทซ์มองว่าสงครามเป็นเครื่องมือเพื่อสนองความต้องการบางอย่างของรัฐ และรากฐานของรัฐก็คือประชาชน ไม่ใช่ผู้ปกครองหรือกองทัพ ดังนั้น อารมณ์ของประชาชนที่มีต่อผู้ปกครองหรือกองทัพ ย่อมมีผลขับเคลื่อนสงครามในทางใดทางหนึ่ง ดังนั้นผู้ปกครองควรมีทักษะในการชักนำความรู้สึกนึกคิดของประชาชน ให้เป็นไปในทางที่ตนเองต้องการ

นอกจากนี้ ในพิชัยสงครามฉบับนี้ เคลาเซอวิทซ์ประดิษฐ์คำว่า "หมอกสงคราม" ซึ่งเขาอธิบายว่าในสนามรบจริง เราไม่อาจเห็นหรือรับรู้ทุกอย่างชัดแจ้ง ที่ทั้งของข้าศึกหรือพวกพ้องในความคลุมเครือ สภาพของข้าศึกหรือพวกพ้องอยู่ในความคลุมเครือ เปรียบดั่งอยู่ท่ามกลางไอหมอก

พิชัยสงครามชุดนี้ประกอบด้วยแปดเล่ม ได้แก่[1]

  • เล่มที่ 1 "ว่าด้วยธรรมชาติสงคราม" (Über die Natur des Krieges)
  • เล่มที่ 2 "ว่าด้วยทฤษฎีสงคราม" (Über die Theorie des Krieges)
  • เล่มที่ 3 "ว่าด้วยยุทธศาสตร์โดยทั่วไป" (Von der Strategie überhaupt)
  • เล่มที่ 4 "การรบ" (Das Gefecht)
  • เล่มที่ 5 "กองทัพ" (Die Streitkräfte)
  • เล่มที่ 6 "การป้องกัน" (Verteidigung)
  • เล่มที่ 7 "การโจมตี" (Der Angriff)
  • เล่มที่ 8 "แผนการสงคราม" (Kriegsplan)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Vom Kriege clausewitz.com