วิตนีย์ ฮิวสตัน
วิตนีย์ ฮิวสตัน | |
---|---|
ฮิวสตันในปี 1991 | |
เกิด | วิตนีย์ เอลิซาเบธ ฮิวสตัน 9 สิงหาคม ค.ศ. 1963 นวร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา |
เสียชีวิต | 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา | (48 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | จมน้ำเนื่องจากโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจและภาวะโคเคนเป็นพิษ |
สุสาน | สุสานแฟร์วิล เวสต์ฟิลด์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา |
สัญชาติ | สหรัฐ |
การศึกษา | Mount Saint Dominic Academy |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 1977–2012 |
คู่สมรส | บ็อบบี้ บราวน์ (สมรส 1992; หย่า 2007) |
บุตร | บ็อบบี คริสตินา บราวน์ |
บิดามารดา |
|
ญาติ | ดิออน วอร์วิค (ลูกพี่ลูกน้อง) |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง |
|
ค่ายเพลง |
|
เว็บไซต์ | whitneyhouston |
ลายมือชื่อ | |
วิตนีย์ ฮิวสตัน (อังกฤษ: Whitney Houston) หรือชื่อจริงว่า วิตนีย์ เอลิซาเบธ ฮิวสตัน (Whitney Elizabeth Houston; 9 สิงหาคม 2506 — 11 กุมภาพันธ์ 2555) เป็นนักร้อง นักแสดง และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ. 2552 เธอถูกยกให้เป็นศิลปินหญิงที่ได้รับรางวัลมากที่สุดตลอดกาลจากบันทึกสถิติโลกกินเนสส์[1] ฮิวสตันยังเป็นหนึ่งในศิลปินเพลงที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล โดยประมาณ 200 ล้านแผ่นเสียงทั่วโลก[2][3]
ฮิวสตันมีอัลบั้มสตูดิโอ 7 อัลบั้มและอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ 2 อัลบั้ม ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับการรับรองระดับเพชร มัลติแพลทินัม แพลทินัมหรือทองโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) ความนิยมของเธอในชาร์ตเพลงยอดนิยมต่าง ๆ รวมถึงความโดดเด่นของเธอในเอ็มทีวี มีอิทธิพลต่อศิลปินหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาจำนวนมาก
ฮิวสตันเริ่มร้องเพลงในโบสถ์ตั้งแต่ยังเป็นเด็กและกลายเป็นนักร้องเบื้องหลังในช่วงมัธยมปลาย ด้วยคำแนะนำของ Clive Davis ประธานบริษัท Arista Records เธอได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงเมื่ออายุ 19 ปี อัลบั้มสตูดิโอสองชุดแรกของเธอคือ Whitney Houston (1985) และ Whitney (1987) โดยทั้งสองอัลบั้มขึ้นอันดับหนึ่งในบิลบอร์ด 200 และอยู่ในอันดับอัลบั้มยอดขายสูงสุดตลอดกาล เธอเป็นศิลปินเพียงคนเดียวที่มีซิงเกิลอันดับหนึ่ง 7 ครั้งติดต่อกันบนบิลบอร์ดฮอต 100 ของสหรัฐอเมริกา จาก "Saving All My Love for You" ในปี 1985 ถึง "Where Do Broken Hearts Go" ในปี 1988
ฮิวสตันเริ่มต้นการแสดงในภาพยนตร์โรแมนติกเขย่าขวัญเรื่อง The Bodyguard (1992) โดยเธอปล่อยเพลงประกอบภาพยนตร์ทั้งหมด 6 เพลง รวมถึง I Will Always Love You ซึ่งได้รับรางวัลแกรมมี สาขาบันทึกเสียงแห่งปี และกลายเป็นเพลงที่ขายดีที่สุดโดยผู้หญิงคนหนึ่งในประวัติศาสตร์วงการดนตรี อัลบั้มประกอบภาพยนตร์นี้ยังได้รับรางวัลแกรมมี สาขาอัลบั้มแห่งปี และยังคงเป็นอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555 ฮิวสตันถูกพบเสียชีวิตในห้องพักของเธอที่โรงแรมเบเวอร์ลีฮิลตัน ซึ่งตั้งอยู่ในเบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย รายงานการชันสูตรศพได้พิจารณาว่าเธอเสียชีวิตจากการจมน้ำในอ่างอาบน้ำ โดยคาดว่าโรคหัวใจและการใช้โคเคนเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เธอเสียชีวิต[4] การเสียชีวิตของเธอก่อนงานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 54 ในอีกไม่กี่วัน ทำให้สื่อทั่วโลกต่างนำเสนอข่าวอย่างใหญ่โต[5]
ชีวิตในวัยเด็กและการเริ่มต้นอาชีพ
[แก้]วิตนีย์ ฮิวสตันเกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1963 ในครอบครัวที่มีรายได้ปานกลางในเมืองนวร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์[6] เธอเป็นลูกสาวของทหารและผู้บริหาร จอร์จ รัสเซล ฮิวสตัน จูเนียร์ และนักร้องเพลงกอสเปล เอมิลี ซิสซี ฮิวสตัน [7] พี่ชายของเธอชื่อไมเคิลเป็นนักร้อง และพี่น้องร่วมมารดายังเป็นอดีตผู้เล่นบาสเกตบอล แกรี การ์แลนด์[8][9] พ่อแม่ของเธอทั้งสองคนเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาแต่แม่ของเธอมีเชื้อสายดัตช์อีกด้วย[10] ฮิวสตันเป็นลูกพี่ลูกน้องของนักร้อง ดิออน วอร์วิค และดีดี วอร์วิกเมื่อนับจากฝ่ายมารดา ส่วนแม่อุปถัมภ์ของเธอคือ ดารลีน เลิฟ[11] และป้ากิตติมศักดิ์ของเธอคือ อารีทา แฟรงคลิน[12][13] เธอได้พบกับแฟรงคลินเมื่อเธออายุ 8-9 ขวบ เมื่อแม่ของเธอพาเธอยังห้องอัดเพลง[14] หลังจากนั้นครอบครัวของเธอย้ายไปยังอีสต์ออเรนจ์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ เมื่อเธออายุสี่ขวบ[15]
เมื่ออายุ 11 ปี ฮิวสตันเริ่มการแสดงในฐานะศิลปะเดี่ยวกับคณะประสานเสียงกลุ่มกอสเปล ในโบสถ์ New Hope Baptist ในนวร์ก ซึ่งเธอได้เริ่มฝึกเล่นเปียโนเป็นครั้งแรกอีกด้วย[16] ผลงานการแสดงของเธอในโบสถ์คือเพลง "Guide Me, O Thou Great Jehovah"[17] เมื่อโตขึ้น เธอได้เข้าเรียนที่ Mount Saint Dominic Academy และทำให้เธอได้พบ ร็อบบิน แคลทฟอร์ด ซึ่งเธอกล่าวว่าเป็นเพื่อนสนิทที่สุดของเธอ[18] ฮิวสตันกล่าวว่าแม่ของเธอเป็นผู้สอนร้องเพลงและทำให้เธอได้รู้จักเพลงจากศิลปินหลายคน เช่น ชากา คาน, แกลดีส์ ไนต์ และโรเบอร์ตา แฟล็ก ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมามีอิทธิพลต่อเธอในฐานะนักร้องและนักดนตรีอย่างมาก[19]
ฮิวสตันในช่วงวัยเด็กได้ใช้เวลาบางส่วนไปผับที่แม่ของเธอเปิดบริการ โดยเธอมักจะขึ้นไปบนเวทีและทำการแสดงเป็นบางครั้ง ในปี 1977 ขณะอายุ 14 ปี เธอเป็นนักร้องแบ็กอัพให้กับวงไมเคิล เซเจอร์ ในเพลง Life's a Party[20] ในปี 1978 ขณะอายุ 15 ปี เธอได้ร่วมร้องประสานในเพลง I'm Every Woman ของชากา คาน โดยเพลงนั้นได้เริ่มทำให้ฮิวสตันเป็นที่รู้จัก[21][22] เธอยังร้องแบ็กอัพให้กับอัลบั้มของศิลปินอีกหลายคน เช่น Lou Rawls และ Jermaine Jackson[21]
ในต้นยุค 1980 ฮิวสตันทำงานเป็นนางแบบหลังจากที่มีตากล้องไปเห็นเธอใน Carnegie Hall ร้องเพลงกับแม่ ทำให้เธอได้ลงนิตยสารเซเวนทีน[23] และกลายเป็นหนึ่งในผู้หญิงผิวสีคนแรกในหน้าปกของนิตยสาร[24] เธอยังเป็นจุดเด่นในหน้าปกนิตยสารอย่าง Glamour, Cosmopolitan และ Young Miss รวมถึงในโฆษณาเครื่องดื่ม Canada Dry[21] รูปลักษณ์และความมีเสน่ห์ของเธอทำให้เธอกลายเป็นหนึ่งในนางแบบวัยรุ่นที่โด่งดังในช่วงเวลาขณะนั้น[21] ในขณะที่เป็นนางแบบ เธอก็ยังเดินหน้าอัดเพลงโดยมีไมเคิล เบิร์นฮอร์น, บิล ลาสเวล และมาร์ติน บีซีเป็นโปรดิวเซอร์ โดยมี One Down เป็นอัลบั้มแรกจากวงแมททีเรียล หลังจากนั้น ฮิวสตันมีส่วนในการร้องเพลง Memerois เพลงคัฟเวอร์โดยฮิว ฮอปเปอร์ จากวงซอฟท์แมชชีน โดยโรเบิร์ต คริสต์กัล จากวงดิวิลเลจวอยซ์ อธิบายผลงานของเธอว่าเป็น หนึ่งในเพลงที่งดงามที่เคยได้ยิน[25] เธอยังได้ร่วมร้องเพลงในอัลบั้ม Paul Jabara and Friends ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดที่ 4 ของพอล จาบารา วางจำหน่ายโดยโคลัมเบียเรเคิดส์ เมื่อปี 1983[26]
วันที่เสียชีวิต
[แก้]ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 วิทนีย์ถูกพบเสียชีวิตที่โรงแรมเบเวอร์ลีฮิลตัน ในเบเวอร์ลี ฮิลส์, รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของเบเวอร์ลีฮิลส์ระบุว่าพบนักร้องสาวในร่างซึ่งไร้การตอบสนองและได้ทำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพเป็นเวลาประมาณ 20 นาที ก่อนที่จะประกาศว่าเธอได้เสียชีวิตลงแล้ว ณ เวลา 15:55 นาฬิกา[27] ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า "ไม่มีข้อบ่งชี้ใดที่แน่ชัดว่าการเสียชีวิตเป็นเหตุอาชญากรรม"
ผู้มีชื่อเสียงจากหลากหลายแขนงต่างกันร่วมแสดงความเสียใจต่อการตายของวิทนีย์ เช่น ดอลลี พาร์ตันผู้ที่ร้องเพลง ไอวิลออลเวย์สเลิฟยู ซึ่งวิทนีย์นำมาร้องคัฟเวอร์ใหม่แสดงความเห็นว่า "จะยังคงรู้สึกสำนึกและเกรงขามต่อการแสดงอันน่าตื่นตะลึงที่เธอได้กระทำกับเพลงของฉัน และขอพูดมันจากก้นบึ้งของหัวใจ 'วิทนีย์ ฉันจะยังคงรักคุณเสมอไป คุณจะยังคงเป็นที่โหยหาจากผู้คน'." ส่วนแม่บุญธรรมของวิทนีย์ อาเรธา แฟรงคลิน กล่าวว่า "มันเป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อและชวนตกตะลึง ฉันไม่อยากจะเชื่อว่าตัวเองเพิ่งจะได้อ่านข่าวนี้ผ่านหน้าจอโทรทัศน์ไป"[28]
ทางด้านอดีตสามีของวิทนีย์อย่าง บ็อบบี้ บราวน์ ระบุว่าเขา "ร้องไห้ไม่หยุด" หลังจากที่ได้รับทราบข่าวการเสียชีวิต เขาไม่ได้ยกเลิกตารางการแสดงของตัวเองที่กำลังดำเนินอยู่ ภายในหนึ่งชั่วโมงของการตาย บ็อบบี้ได้จุมพิตแล้วโบกไปยังท้องฟ้าพร้อมกับหลั่งน้ำตาก่อนจะพูดว่า "วิทนีย์, ผมรักคุณ" ซึ่งผู้ชมการแสดงของเขาในมิสซิสซิปปีต่างร่วมเป็นสักขีพยาน[29][30][31][32]
ผลงาน
[แก้]สตูดิโออัลบั้ม
[แก้]- Whitney Houston (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2528)
- Whitney (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2530)
- I'm Your Baby Tonight (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2533)
- My Love Is Your Love (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2541)
- Just Whitney... (อัลบั้ม) - (พ.ศ. 2545)
- I Look to You (อัลบั้ม) (พ.ศ. 2552)
ภาพยนตร์
[แก้]ปีที่ฉายหนัง | ชื่อภาพยนตร์ | บทบาท | รางวัล |
---|---|---|---|
2535 | The Bodyguard | ราเชล มอลรอน | * ถูกเสนอชื่อเข้าชิง - 1993 เอ็มทีวี มูฟวี่ อวอร์ด สำหรับบทบาทหญิงยอดเยี่ยม[33]
|
2538 | Waiting to Exhale | ซาวานน่า แจ็คสัน | * ถูกเสนอชื่อเข้าชิง - 1996 NAACP อิมเมจ อะวอร์ดสำหรับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม[36] |
2539 | The Preacher's Wife | จูลี่ บิกสส์ | * เข้าชิงรางวัล - 1997 NAACP อิมเมจ อะวอร์ดสำหรับนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม[37] |
อัลบั้มรวมเพลงอย่างเป็นทางการ
[แก้]- Whitney: The Greatest Hits - 2000
- Love, Whitney - 2001
- Artist Collection: Whitney Houston - 2004
- The Ultimate Collection - 2007
- The Essential Whitney Houston - 2011
- I Will Always Love You: The Best of Whitney Houston - 2012
รายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ Encyclopedia of African American history, 1896 to the present: from the age of segregation to the twenty-first century. Oxford University Press; 2009. ISBN 978-0-19-516779-5. p. 459–460.
- ↑ Dobuzinskis, Alex (2009-09-15). "Whitney Houston says she is "drug-free"". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2009-11-01.
- ↑ Sullivan, Caroline (2012-02-12). "Whitney Houston obituary". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2012-02-12.
- ↑ "Whitney Houston: Cocaine in system not a fatal dose, expert says". Los Angeles Times. April 5, 2012. สืบค้นเมื่อ March 28, 2013.
- ↑ Christopher, Tommy (February 13, 2012). "Howard Kurtz Asks If Whitney Houston's Death 'Is Worth' Intense News Coverage". สืบค้นเมื่อ February 13, 2012.
- ↑ nytimesobit
- ↑ Notable Black American women. VNR AG; 1996. ISBN 978-0-8103-9177-2. p. 304–305.
- ↑ "Top 10 Things You May Not Know About Whitney Houston". ABC. February 16, 2012. Retrieved November 4, 2012.
- ↑ "Michael Houston 'Devastated' At Death Of Sister" เก็บถาวร 2012-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Entertainment Wise. February 12, 2012. Retrieved November 4, 2012.
- ↑ Visionary Project Video Interview (bottom of page) -Cissy Houston: My Family, go to the 1:00 mark. September 2, 2009 [archived 2018-09-21; cited February 11, 2012].
- ↑ Whitney's godmother: 'She was a light'. Nancy Grace spoke with Whitney Houston's godmother and Rock and Roll Hall of Fame singer Darlene Love.. February 13, 2012 [archived 2013-01-02; cited February 17, 2012].
- ↑ The Detroit News. Aretha Franklin recalls meeting a young Whitney Houston [cited February 18, 2012].[ลิงก์เสีย]
- ↑ Whitney Houston Sings Her Way to Stardom. Johnson Publishing Company; August 26, 1985. p. 59.
- ↑ The Detroit News. Aretha Franklin recalls meeting a young Whitney Houston [cited February 18, 2012].[ลิงก์เสีย]
- ↑ Whitney Houston. Chelsea House Publishers; January 1998. ISBN 978-0-7910-4456-8. p. 21.
- ↑ Whitney & Bobby – Addicted to Love. September 2005 [cited March 17, 2007]. Vibe Magazine.
- ↑ Jet. Johnson Publishing Company; February 17, 1986. p. 59.
- ↑ Vibe. Vibe Media Group; June 2007 [cited February 13, 2012]. p. 78.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Whitney Houston: Down and Dirty. Rolling Stone; Jann S. Wenner, editor and publisher. June 10, 1993 [cited March 17, 2007].
- ↑ Bronson, Fred (October 1, 2003). The Billboard book of number 1 hits. Random House Digital. p. 629. ISBN 978-0-8230-7677-2.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 Singer Whitney Houston a Model of Success. Johnson Publishing Company; July 16, 1990. p. 32.
- ↑ Whitney and Cissy Houston on the Joys and Worries of Motherhood. Johnson Publishing Company; May 1995 [cited February 15, 2012]. p. 30–.
- ↑ The Soul of Whitney. December 2023 [cited February 15, 2008]. Essence Magazine.
- ↑ Salon.com. Didn't She Almost Have It All; April 13, 2006 [archived 2008-05-22; cited December 12, 2007].
- ↑ RobertChristgau.com. Material she was a great song writer [cited December 12, 2007].
- ↑ Allmusic. Paul Jabara & Friends Album Review [cited January 14, 2010].
- ↑ February 11, 2012 | 6:32 pm. "Whitney Houston's death: Medics performed CPR for about 20 minutes — latimes.com". Latimesblogs.latimes.com. สืบค้นเมื่อ 2012-02-12.
- ↑ "Singer Whitney Houston dies at 48". Edition.cnn.com. 1963-08-09. สืบค้นเมื่อ 2012-02-12.
- ↑ http://www.dailymail.co.uk/tvshowbiz/article-2100022/Whitney-Houston-dead-Bobby-Brown-makes-tearful-tribute-performs-onstage-shortly-death-ex-wife.html
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/oversea/237818 จบตำนาน วิทนีย์ ฮุสตัน เสียชีวิตแล้ว
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/oversea/237991 อดีตสามีร่ำไห้ หลังทราบข่าว 'วิทนีย์ ฮุสตัน' เสียชีวิต
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/oversea/237886 ปริศนาการตาย 'วิทนีย์ ฮุสตัน' เพราะยาเสพติดทำลายชีวิต?
- ↑ swaptree.com. MTV Movie Awards: Best Female Performance; July 13, 1993 [cited January 11, 2010].
- ↑ swaptree.com. MTV Movie Awards: Best Breakthrough Performance; July 13, 1993 [cited January 11, 2010].
- ↑ swaptree.com. MTV Movie Awards: Best On-Screen Duo; July 13, 1993 [cited January 11, 2010].
- ↑ tv.com. Whitney Houston: Blurbs [archived 2010-12-03; cited January 11, 2010].
- ↑ EBONY's 50th Anniversary Show, Denzel Washington Among NAACP Image Award Winners (p60). March 3, 1997 [cited January 8, 2010].
- ↑ 1996 Blockbuster Entertainment Awards Nominees Announced. February 1, 1997 [cited June 15, 2010].
- ↑ Internet Movie Database. 1997 Kids' Choice Awards [archived 2007-01-12; cited January 13, 2010].
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]
- นักร้องอเมริกัน
- นักแสดงอเมริกัน
- ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
- คริสต์ศาสนิกชนนิกายโปรเตสแตนต์
- ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา
- ชาวอเมริกันเชื้อสายดัตช์
- โปรดิวเซอร์เพลงชาวอเมริกัน
- ศิลปินสังกัดแอริสตาเรเคิดส์
- ผู้ที่ได้รับรางวัลแกรมมี
- นักร้องเสียงเมซโซ-โซปราโน
- บุคคลจากนวร์ก
- เสียชีวิตจากการจมน้ำ
- นักร้องหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2506
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2555