วงศ์กบนา
วงศ์กบนา | |
---|---|
กบบูลฟร็อก (Lithobates catesbeianus) พบในสหรัฐอเมริกา จัดเป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Amphibia |
อันดับ: | Anura |
วงศ์: | Ranidae Rafinesque, 1814 |
วงศ์ย่อยและสกุล | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
วงศ์กบแท้ (อังกฤษ: True frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ranidae (/รา-นิ-ดี/)
กบในวงศ์นี้มีลักษณะโดยรวม คือ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสหรือเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย กระดูกนิ้วชิ้นสุดท้ายมีส่วนปลายนิ้วเรียวยาวหรือเป็นรูปตัว T ลูกอ๊อดมีช่องจะงอยปากและมีฟัน ช่องเปิดของเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านข้างของด้านซ้ายลำตัว
มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมาก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ กบโกไลแอท (Conraua goliath) ที่พบในทวีปแอฟริกาที่มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ขณะที่บางชนิด บางสกุลมีลำตัวอ้วนป้อมและอาศัยอยู่ในโพรงดิน บางชนิดอาศัยอยู่ในลำธารที่กระแสน้ำไหลแรงและว่ายน้ำได้ดีมาก ก็มีด้วยกันหลายชนิด ในหลายสกุล
การอนุกรมวิธาน
[แก้]แบ่งออกเป็น 6 วงศ์ย่อย ประมาณ 39 สกุล พบทั้งสิ้นประมาณ 623 ชนิด ได้แก่
วงศ์ย่อย
- Petropedetinae (พบในแอฟริกา)
- Ptychadeninae (พบในแอฟริกา)
- Pyxicephalinae
- Raninae (พบทั่วโลกยกเว้นออสเตรเลียและอเมริกาใต้)
- Ranixalinae (พบในอินเดีย)
- Tomopterinae
สกุล
- Afrana
- Amietia
- Amolops
- Anhydrophryne
- Arthroleptella
- Arthroleptides
- Aubria
- Babina (บางครั้งใช้เป็น Rana)
- Batrachylodes
- Cacosternum
- Ceratobatrachus
- Chaparana
- Clinotarsus Mivart, 1869 (อดีตเคยใช้ Rana รวมถึง Nasirana)
- Conraua
- Dimorphognathus
- Discodeles
- Ericabatrachus
- Fagayman
- Glandirana (อดีตเคยใช้ Rana)
- Hildebrandtia
- Huia
- Hylarana Tschudi, 1838 (อดีตเคยใช้ Rana)
- Indirana
- Ingerana
- Lankanectes
- Lanzarana
- Meristogenys (อาจจะเป็นสกุลเดียวกันกับ Huia)
- Micrixalus
- Microbatrachella
- Natalobatrachus
- Nothophryne
- Nyctibatrachus
- Occidozyga
- Odorrana (อดีตเคยใช้ Rana)
- Paa
- Palmatorappia
- Pelophylax Fitzinger 1843 (อดีตเคยใช้ Rana)
- Petropedetes
- Phrynobatrachus
- Phrynodon
- Platymantis
- Pseudoamolops
- Poyntonia
- Pterorana
- Ptychadena
- Pyxicephalus
- Rana
- Sanguirana (อดีตเคยใช้ Rana)
- Staurois
- Strongylopus
- Tomopterna[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หน้า 342-345, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0