ข้ามไปเนื้อหา

ลลิตวิสตรสูตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลลิตวิสตระสูตร เป็นพระสูตรมหายานภาษาสันสฤตที่เล่าเรื่องราวของพระโคตมพุทธเจ้าในพุทธสมัยของพระองค์ เริ่มตั้งแต่สวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงการเทศนาครั้งแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี พระสูตรนี้มี แบ่ง‌ออก‌เป็น‌ ‌27‌ ‌บท‌ ‌เรียก‌ว่า‌ ‌ปริวรรต‌ ‌หรือ‌อัธยาย[1] ลลิตวิสตระสูตรได้การแปลเป็นภาษาจีนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 แต่ฉบับนี้หายไป จนได้แปลครั้งที่สองในพุทธศตวรรษที่ 9 และฉบับภาษาธิเบตได้แปลในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11[2] ลลิตวิสตระสูตรแต่งขึ้นหลังมีพระพุทธรูปแล้ว (ราวพุทธศตวรรษที่ 5–6) แต่ไม่น่าเกินพุทธศตวรรษที่ 7 เพราะพระอัศวโฆษได้เขียนเรื่องพุทธจริต โดยได้ดำเนินเรื่องจากลลิตวิสตระสูตร

ลลิตวิสตระสูตร แต่งในภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต แต่บางศัพท์ไม่ใช่ทั้งสันสกฤตและบาลี ลักษณะการประพันธ์มีลักษณะเดียวกับคัมภีร์ปุราณะของพราหมณ์ จากลักษณะการใช้ภาษามีลีลาทางภาษาเดียวกันตลอดทั้งเรื่อง แต่ก็น่าจะไม่ใช่แต่งหรือรวบรวมเพียงคนเดียว[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dharmachakra Translation Committee 2013, p. iii-x.
  2. วรรธนะ มูลขำ. "ร่องรอยและอิทธิพลของคติพุทธศานามหายานที่มีความเชื่อและพิธีกรรมพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่" (PDF).
  3. ธีร์ พุ่มทับทิม. "แนวคิดเรื่องความว่างในคัมภีร์ลลิตวิสตระ".

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Dharmachakra Translation Committee, 84000: Translating the Words of the Buddha (2013), A Play in Full: Lalitavistara (PDF), 84000, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-24{{citation}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)