ข้ามไปเนื้อหา

ราชฆาฏ

พิกัด: 28°38′25.8″N 77°14′57.6″E / 28.640500°N 77.249333°E / 28.640500; 77.249333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชฆาฏ
อนุสรณ์มหาตมา คานธี ที่ราชฆาฏ
ราชฆาฏตั้งอยู่ในเดลี
ราชฆาฏ
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทที่ไว้ศพ
ที่ตั้งถนนวงแหวน ชาห์จาฮานาบาด เดลี ประเทศอินเดีบ
พิกัด28°38′25.8″N 77°14′57.6″E / 28.640500°N 77.249333°E / 28.640500; 77.249333
ลงเสาเข็ม1948

ราชฆาฏ (อักษรโรมัน: Raj Ghat) หรือ ราชฆาฏสมาธิปริสร (ฮินดี: राजघाट समाधि परिसर; ราชฆาฏและอนุสรณ์ไว้ศพโดยรอบ) เป็นหมู่อนุสรณ์ไว้ศพ ในเดลี ประเทศอินเดีย อนุสรณ์แรกสุดตั้งขึ้นแด่มหาตมา คานธี โดยเป็นปะรำหินอ่อนดำยกระดับเหนือจุดที่เผาศพคานธี ตั้งขึ้นเมื่อ 31 มกราคม 1948 และที่ปลายฝั่งหนึ่งมีเปลวเพลิงนิรันดร์ คำว่า "ราชฆาฏ" แปลโดยง่ายได้ว่า บันไดหลวง โดยคำว่า "ฆาฏ" หรือบันไดในที่นี้หมายถึงว่าพื้นที่นี้ต้องไต่บันไดขึ้นมาจากริมฝั่งแม่น้ำยมุนา[1]

รายนามอนุสรณ์

[แก้]

นับตั้งแต่การตั้งอนุสรณ์แรกในราชฆาฏแด่มหาตมา คานธี ได้มีการขยับขยายเพื่อตั้งอนุสรณ์ไว้ศพ (สมาธิ) ของผู้นำอีกหลายคนในพื้นที่ราชฆาฏ ภูมิทัศน์และการออกแบบของพื้นที่เดิมที่เป็นแบบแปลนของอัลลอก เพอร์ศี-แลงคัสเตอร์ (Alick Percy-Lancaster) ผู้กำกับการกิจการพืชสวนของรัฐบาลอินเดีย[2][3][4][5]

รายนามอนุสรณ์ 18 จุดสำหรับผู้นำ 18 คนของอินเดียที่อยู่ที่ราชฆาฏ ได้แก่

อนุสรณ์ในราชฆาฏ
ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง วันที่เสียชีวิต ชื่ออนุสรณ์
(คำแปล)
ภาพถ่าย
1 มหาตมา คานธี ผู้นำขบวนการเอกราชอินเดีย 30 มกราคม 1948 ราชฆาฏ
(ปะรำหลวง)
2 ชวาหัรลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่หนึ่ง 27 พฤษภาคม 1964 ศานติวน
(ป่าแห่งสันติ)
3 ลาล บะฮาดูร์ ศาสตรี นายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่สอง 11 มกราคม 1966 วิชัยฆาฏ
(ปะรำแห่งชัยชนะ)
4 สัญชัย คานธี อดีตสมาชิกรัฐสภา (โลกสภา) 23 มิถุนายน 1980 สัญชัย คานธี สมาธิ
(สุสานของสัญชัย คานธี)
5 อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่สาม 31 ตุลาคม 1984 ศักติสถล
(สถานแห่งพลัง)
6 ชัคชีวัน ราม รองนายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่สี่ 6 กรกฎาคม 1986 สมตสถล
(สถานแห่งความเท่าเทียม)
7 จรัน สิงห์ นายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่ห้า 29 พฤษภาคม 1987 กิสันฆาฏ
(ปะรำชาวนา)
8 ราชีพ คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่หก 21 พฤษภาคม 1991 วีรภูมิ
(แดนดินแห่งความกล้า)
9 ลลิตา ศาสตรี คู่ครองของลาล บะฮาดูร์ ศาสตรี 13 เมษายน 1993 ลลิตา ศาสตรี สมาธิ
(สุสานลลิตา ศาสตรี)
10 คิยานี ซาอิล สิงห์ ประธานาธิบดีอินเดียคนที่เจ็ด 25 ธันวาคม 1994 เอกตสถล
(สถานแห่งเอกภาพ)
11 ศังกระ ทยัล ชาร์มา ประธานาธิบดีอินเดียคนที่เก้า 26 ธันวคาม 1999 กรรมภูมิ
(แดนดินแห่งหน้าที่)
12 เทวี ลาล รองนายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่หก 6 เมษายน 2001 สังฆรรษสถล
(สถานแห่งการดิ้นรน)
13 วี พี นรสิงห์ ราว นายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่เก้า 23 ธันวาคม 2004 สมฤติสถล
(สถานแห่งการระลึก)
14 เค อาร์ นารายณัน นายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่สิบ 9 พฤศจิกายน 2005 อุทัยภูมิ
(แดนดินแห่งอาทิตย์อุทัย)
15 จันทระ เศขร นายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่แปด 8 กรกฎาคม 2007 ชนนายกนถล
(สถานแห่งผู้นำประชาชน)
16 อาร์ เวนกตรามัน ประธานาธิบดีอินเดียคนที่แปด 27 มกราคม 2009 เอกตสถล
(สถานแห่งเอกภาพ)
17 อินทร์ กุมาร คุชราล นายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่สิบสอง 30 พฤศจิกายน 2012 สมฤติสถล
(สถานแห่งการระลึก)
18 อตาล พิหารี วัชปายี นายกรัฐมนตรีอินเดียคนที่สิบ 16 สิงหาคม 2018 Sadaiv Atal
(Firm Forever)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Maddipati, Venugopal (January 2017). "When Landscape Became King: A Short Note on the Ascendancy of the Immediate Present as the Sovereign of Rajghat". LA Journal of Landscape Architecture, India. (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
  2. "No space for 'samadhis', VVIPs to share memorial place in Delhi". Rediff.com. 16 May 2013. สืบค้นเมื่อ 30 November 2013.
  3. "'Rajiv' to bloom at Veer Bhumi". The Tribune Trust. 18 August 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-27. สืบค้นเมื่อ 21 December 2008.
  4. "Tearful farewell to S.D. Sharma". The Tribune. The Tribune Trust. 28 December 1999. สืบค้นเมื่อ 21 December 2008.
  5. "Former PM Chandrashekhar's samadhi to be called Jannayak Sthal". The Times of India. 23 April 2015. สืบค้นเมื่อ 19 November 2015.