รัฐธรรมนูญเม็กซิโก
รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐเม็กซิโก | |
---|---|
ปกของรัฐธรรมนูญเม็กซิโก | |
ให้สัตยาบัน | 5 กุมภาพันธ์ 1917 |
ที่ตั้ง | General Archive of the Nation ในLecumberri Palace |
ผู้เขียน | Constituent Congress of 1917 |
ผู้ลงนาม | Constituent Congress of 1917 |
วัตถุประสงค์ | รัฐธรรมนูญที่ใช้เปลี่ยนกับรัฐธรรมนูญประจำปีค.ศ.1857 |
รัฐธรรมนูญเม็กซิโก มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธรรมนูญการเมืองแห่งสหรัฐเม็กซิโก (สเปน: Constitución Política de los Estados Unidos Mexicanos) เป็นรัฐธรรมนูญเม็กซิโกฉบับปัจจุบัน ร่างในเมืองซานเตียโกเดเกเรตาโร รัฐเกเรตาโร โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญระหว่างการปฏิวัติเม็กซิโก ได้รับอนุมัติโดยสภารัฐธรรมนูญ (Constitutional Congress) เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 เป็นฉบับสืบทอดจากรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1857 และหลายฉบับก่อนหน้า
รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 ฉบับปัจจุบัน เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในโลกที่กำหนดสิทธิทางสังคม ใช้เป็นตัวแบบสำหรับรัฐธรรมนูญไวมาร์ ค.ศ. 1919 และรัฐธรรมนูญรัสเซีย ค.ศ. 1918[1][2][3][4] บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดบางข้อ ได้แก่ มาตรา 3, 27 และ 124 ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งในปรัชญาการเมืองเม็กซิโกซึ่งช่วยกำหนดกรอบฉากหลังทางการเมืองและสังคมแก่ประเทศเม็กซิโกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาตรา 3 มุ่งจำกัดคริสตจักรโรมันคาทอลิกในเม็กซิโก และสถาปนาฐานสำหรับการศึกษาแบบฆราวาสภาคบังคับให้เปล่า[5] มาตรา 27 นำมาซึ่งรากฐานสำหรับการปฏิรูปที่ดิน และมาตรา 123 ออกแบบมาเพื่อเสริมอำนาจภาคแรงงาน ซึ่งกำเนิดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และสนับสนุนกลุ่มแยกที่เป็นฝ่ายชนะในการปฏิวัติเม็กซิโก[6][7]
มาตรา 3, 5, 24, 27 และ 130 จำกัดคริสตจักรโรมันคาทอลิกในเม็กซิโกอย่างรุนแรง[8] และความพยายามใช้บังคับมาตราเหล่านี้อย่างเข้มงวดโดยประธานาธิบดีปลูตาร์โก กาเยส (ค.ศ. 1924–28) ใน ค.ศ. 1926 นำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงชื่อ สงครามกริสเตโร[8]
ใน ค.ศ. 1992 ในรัฐบาลการ์โลส ซาลินัส เด กอร์ตาริ มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างมีนัยสำคัญ โดยแก้ไขมาตรา 27 ให้รับประกันสิทธิทรัพย์สินเอกชนดีขึ้นและยุติการนำที่ดินมาจัดสรรใหม่ และมาตราที่จำกัดคริสตจักรโรมันคาทอลิกในเม็กซิโกถูกยกเลิกเป็นส่วนใหญ่[9][10][11][12][13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Catholic University of America. Dept. of Canon Law (1942). The jurist, Volume 2. School of Canon Law, the Catholic University of America. p. 172.
- ↑ Héctor Aguilar Camín, Lorenzo Meyer (1993). In the shadow of the Mexican revolution: contemporary Mexican history, 1910–1989. University of Texas Press. p. 63. ISBN 0-292-70451-8.
- ↑ Laurence French, Magdaleno Manzanárez (2004). NAFTA & neocolonialism: comparative criminal, human & social justice. University Press of America. p. 24. ISBN 0-7618-2890-7.
- ↑ 8.0 8.1 Soberanes Fernández, José Luis, Mexico and the 1981 United Nations Declaration on the Elimination of All Forms of Intolerance and of Discrimination Based on Religion or Belief เก็บถาวร 2012-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, pp. 437–438 nn. 7–8, BYU Law Review, June 2002
- ↑ Roberto Blancarte (1993). "Recent Changes in Church-State Relations in Mexico: An Historical Approach". Journal of Church & State. 35 (4).
- ↑ Jorge A. Vargas (1998). "Freedom of Religion and Public Worship in Mexico: A Legal Commentary on the 1992 Federal Act on Religious Matters". BYU Law Review (2): 421–481.
- ↑ Jorge A. Vargas (1996). "Mexico's Legal Revolution: An Appraisal of Its Recent Constitutional Changes, 1988–1995". Georgia Journal of International and Comparative Law. 25: 497–559.
- ↑ Ricardo Hernández-Forcada (2002). "The Effect of International Treaties on Religious Freedom in Mexico". BYU L. Rev. 2002 (2).
- ↑ Victor Gabriel Muro, "Catholic Church: Mexico" in Encyclopedia of Mexico vol. 1, p. 222. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.