รอยนูนซูปรามาร์จินัล
หน้าตา
Brain: รอยนูนซูปรามาร์จินัล (Supramarginal gyrus) | ||
---|---|---|
มุมมองด้านข้างสมองมนุษย์ รอยนูนหลัก ๆ มีป้ายบอกชื่อ | ||
ผิวด้านข้างของของซีกสมองด้านซ้าย มองจากด้านข้าง รอยนูนซูปรามาร์จินัลมีสีส้ม | ||
Latin | Gyrus supramarginalis | |
Gray's | subject #189 823 | |
NeuroNames | hier-90 |
รอยนูนซูปรามาร์จินัล[1] (อังกฤษ: Supramarginal gyrus, Gyrus supramarginalis) เป็นส่วนหนึ่งของสมองกลีบข้าง ที่น่าจะมีบทบาทในการรับรู้และการประมวลผลทางภาษา รอยโรคในสมองเขตนี้อาจทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความเหตุศูนย์รับความรู้สึก (Receptive aphasia) หรือ transcortical sensory aphasia[2][3]
ภาพต่างๆ
[แก้]-
ตำแหน่งของรอยนูนซูปรามาร์จินัลมีสีแดง
-
รอยนูนบนผิวด้านข้างของซีกสมองด้านซ้ายของมนุษย์ รอยนูนซูปรามาร์จินัลมีสีเขียว
-
รอยนูนในสมองกลีบข้างซีกซ้าย รอยนูนซูปรามาร์จินัลมีป้ายขึ้นต้นว่า **
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ gyrus ว่า "รอยนูน"
- ↑ Transcortical sensory aphasia (ตัวย่อ TSA) มีเหตุเกิดจากความเสียหายบางจุดในสมองกลีบขมับ โดยทั่ว ๆ ไป aphasia หมายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสมองทำให้เกิดความเสียหายในการเข้าใจหรือการใช้ภาษา คนไข้ TSA มีความลำบากในการเข้าใจภาษาและในการเรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ มักจะกล่าวคำพูดลอย ๆ และมีภาวะ paraphasia อาการเหล่านี้คล้ายกับอาการคนไข้ภาวะเสียการสื่อความเหตุศูนย์รับความรู้สึก (Receptive aphasia) แต่ว่าคนไข้ TSA ยังสามารถกล่าวตามคำพูดของคนอื่นและมีอาการพูดเลียน (echolalia) หรือการกล่าวคำพูดเลียนเชิงบีบบังคับ (compulsive repetition)
- ↑ Gazzaniga, M.S., Ivry, R.B. and Mangun, G.R., Cognitive Neuroscience, the Biology of the Mind, third edition, 2009, W.W. Norton, publishers. pgs. 395-401
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ รอยนูนซูปรามาร์จินัล