ยุทธการสนามเพลาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามสนามเพลาะ (มุสลิม ปะทะ กุเรช)
ส่วนหนึ่งของ สงครามระหว่างชาวมุสลิมกุเรช

การต่อสู้ระหว่างอะลี อิบน์ อบีฏอลิบ (ซ้าย) และอัมร์ อิบน์ วุด (ขวา) ในสงครามสนามเพลาะ
วันที่เชาวาล – ซุลกิอฺดะฮฺ ฮ.ศ.5[1] (มกราคม – กุมภาพันธ์ ค.ศ.627)
สถานที่
รอบๆ เมืองมะดีนะฮ์
ผล ล้มเหลว ฝ่ายมุสลิมชนะ
เผ่าต่างๆ ถอนตัวจากการรบ
คู่สงคราม

ชาวมุสลิม รวมถึง

เผ่าต่างๆ รวมถึง

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มุฮัมมัด
อะลี
ซัลมาน ฟารซี[2]
อบูซุฟยาน
อัมร์ อิบน์ วุด
ตุลัยฮา
กำลัง
3,000[3] 10,000[3]
ความสูญเสีย
น้อย[4] เสียหายมาก[4]

สงครามสนามเพลาะ (อาหรับ: غزوة الخندق) รู้จักกันในชื่อ สงครามพันธมิตร (อาหรับ: غزوة الاحزاب) เป็นสงครามที่นานถึง 30 วันในช่วงที่ล้อมเมืองยัษริบ (ปัจจุบันคือ มะดีนะฮ์) โดยชาวอาหรับ และชาวยิว โดยกองทัพสมาพันธ์มีทหารประมาณ 10,000 นาย และทหารม้ากับอูฐอีก 600 นายในขณะที่ชาวมะดีนะฮ์มีทหารประมาณ 3,000 นาย

ขาวมุสลิมได้ทำตามศาสดามุฮัมหมัดให้ขุดสนามเพลาะตามคำแนะนำของซัลมาน ฟารซี[5] และปราการธรรมชาติในมะดีนะฮ์ทำให้ทหารม้า (รวมถึงม้าและอูฐ) ของสมาพันธ์ไร้ประโยชน์ และได้ชักชวนเผ่าบนูกุร็อยเซาะฮ์ให้โจมตีฝ่ายมุสลิมทางตอนใต้ แต่อย่างไรก็ตาม แผนทางการทูตของมูฮัมหมัดได้ทำให้ฝ่ายสมาพันธ์แตกแยกโดยสิ้นเชิง พร้อมกับสภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้สงครามนี้สิ้นสุดลง

หลังจากที่ชาวมักกะฮ์แพ้สงครามแล้ว พวกเขาสูญเสียทั้งการค้าขายและศักดิ์ศรี[4]

ชื่อ[แก้]

สงครามนี้ได้ชื่อว่า "สนามเพลาะ" หรือ คอนดัค เนื่องจากเป็นการขุดสนามเพลาะโดยชาวมุสลิม คำว่า คอนดัค (خندق) เป็นคำในอาหรับถูกยืมมาจากเปอร์เซียว่า คันดาก (หมายถึง "บริเวณที่ถูกขุด")[6] ซัลมาน ฟารซีได้แนะนำให้มุฮัมหมัดขุดสนามเพลาะทั่วเมือง สงครามนี้ได้ชื่อว่า สงครามสมาพันธ์ (غزوة الاحزاب) ในกุรอานมีซูเราะฮ์ที่มีชื่อว่า สมาพันธ์ (الاحزاب) ในซูเราะฮ์ อัล-อะฮ์ซาบ

เหตุผลในการต่อสู้[แก้]

เหตุผลส่วนใหญ่นั้น คือการแก้แค้นจากชาวกุเรช เพราะชาวมุสลิมไปสู้รบกับบนูก็อยนูกอ และบนูนาดีร[7][8] อิบน์ คอตีรได้ตอบว่า: "เหตุผลในการทำสงครามครั้งนี้เพราะกลุ่มของผู้นำจากบนูนาดีร เป็นเผ่าที่ศาสนทูตของอัลลอฮ์ ให้เนรเทศออกจากมะดีนะฮ์ไปที่ค็อยบัร คนที่มามักกะฮ์คือซัลลาม อิบน์ อัล-ฮูก็อยก์, ซัลลาม อิบน์ มิชกาม และกินานาฮ์ อิบน์ อัร-ราบี โดยพวกเขามาเพื่อที่จะให้ผู้นำของมักกะฮ์ประกาศสงครามต่อท่านศาสดา"[9]

สมาพันธ์ของเผ่า[แก้]

ทหารในสมาพันธ์ของเผ่าถูกรวบรวมโดยชาวกุเรชแห่งมักกะฮ์ นำโดยอบูซุฟยาน มีทหารเดินเท้า 4,000 นาย, ทหารม้า 300 นาย และทหารบนอูฐ 1,000–1,500 นาย[10]

ส่วนบนูนาดีรได้รวบรวมเผ่าเร่ร่อนแถวแคว้นนัจญ์ โดยเกณฑ์ทหารจากบนูคอตาฟานแล้วจ่ายไปครึ่งหนึ่ง[6][11], ทหาร 2,000 นาย และทหารม้า 300 นาย นำโดยอุนัยนา อิบน์ ฮะซัน ฟาซารี เผ่าบนีอะซัดได้เข้าร่วม[10] แต่เผ่าบนีอะมีร ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม เนื่องจากมีข้อตกลงกับมุฮัมหมัด[12] ส่วนเผ่าอื่นเช่นบนูมุรรานำโดยฮารส์ อิบน์ เอาฟ์ มุรรีพร้อมกับทหาร 400 นาย และบนูชูญานำโดยซุฟยาน อิบน์ อับดุลชามพร้อมกับทหาร 700 นาย

ถ้านำมารวมแล้ว ไม่มีใครรู้ว่าจำนวนทหารของสมาพันธ์มีอยู่เท่าใด จึงมีการประมาณว่า มีทหารอยู่ 10,000 นาย และทหารม้า 600 นาย โดยมีอบูซุฟยานเป็นแม่ทัพ[3]

การป้องกันของฝ่ายมุสลิม[แก้]

ผู้ชายจากเผ่าบนูคุซาอ์ได้มาหามุฮัมหมัดในเวลา 4 วัน เพื่อเตือนถึงกองทัพสมาพันธ์ที่กำลังมาที่นี่ภายในหนึ่งสัปดาห์[12] มุฮัมหมัดจึงเรียกชาวมะดีนะฮ์เพื่อหาความคิดที่ดีที่สุดในการสู้รบ โดยมีผู้เสนอดังนี้[13]

แต่ความคิดที่ยอมรับมากที่สุดคือ การขุดคูบริเวณทางตอนเหนือของมะดีนะฮ์ที่เสนอโดยซัลมาน ฟารซี โดยที่ชาวมุสลิมในมะดีนะฮ์ขุดคูเสร็จภายใน 6 วัน[14] โดยขุดทางตอนเหนือเท่านั้น ส่วนฝั่งอื่นของมะดีนะฮ์ถูกล้อมรอบโดยภูเขาหินและต้นไม้ ทำให้กองทัพขนาดใหญ่ (โดยเฉพาะทหารม้า) ไม่สามารถผ่านได้ ผู้หญิงและเด็กทุกคนถูกย้ายเข้าไปในตัวเมืองชั้นในให้หมด[6][14] พร้อมกับเก็บเกี่ยวพืชผลก่อนถึงฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อให้ฝ่ายสมาพันธ์ใช้แต่เสบียงของพวกเขาเท่านั้น[13][14]

มุฮัมหมัดได้ตั้งทหารประจำที่ภูเขาซาละอ์[6] เพื่อสกัดศัตรูที่กระโดดข้างสนามเพลาะ[11]

สุดท้าย กองทัพที่ปกป้องเมืองมะดีนะฮ์มีอยู่ 3,000 นาย[15] โดยรวมถึงชาวเมืองในมะดีนะฮ์ที่มีอายุมากกว่า 14 ปี ยกเว้นเผ่าบนูกุร็อยเซาะฮ์ (เพราะพวกเขาจัดหาเครื่องมือให้กับชาวมุสลิมในการขุดร่อง)[11]

การล้อมเมืองมะดีนะฮ์[แก้]

แผนที่สงครามค็อนดัก (สงครามสนามเพลาะ) แบบย่อ

การล้อมเมืองมะดีนะฮ์เริ่มขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ.627 และใช้เวลา 27 วัน[1] เนื่องจากพวกเขาไม่เคยเจอสนามเพลาะมาก่อน พวกเขาจึงต้องอาศัยม้าในการกระโดดข้างสนามเพลาะ แต่ถูกฝ่ายมุสลิมยิงธนูสวนกลับ[4] แต่มีคนหนึ่งที่ข้ามสนามเพลาะนี้ได้คือกลุ่มทหารของอัมร์ อิบน์ อับดุลวัดด์ (เป็นชายที่มีค่าพอๆ กับทหาร 1000 นาย[16]) และอิกริมะฮ์ อิบน์ อบูญะฮัล โดยการหาบริเวณที่แคบที่สุดของคู จากนั้นจึงท้าให้มีใครซักคนมาสู้กับเขา อะลี อิบน์ อบูฏอลิบได้ตอบรับคำท้าและสู้รบจนเป็นฝ่ายชนะ[17]

ปัญหาในมะดีนะฮ์[แก้]

มุฮัมหมัดพยายามที่จะเก็บความลับเกี่ยวกับบนูกุร็อยเซาะฮ์ แต่อย่างไรก็ตาม มีข่าวลือว่ามีการโจมตีครั้งใหญ่มาจากเผ่ากุร็อยเซาะฮ์ ซึ่งทำลายความสัมพันธ์ไปมาก[18]

ตอนนี้ฝ่ายมุสลิมเริ่มประสบปัญหาหลายด้าน เช่น: เสบียงเริ่มน้อยลง และในช่วงกลางคืนอากาศหนาวมากขึ้น การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้สถานะการณ์แย่ลงกว่าเดิม[19] จนกระทั่งการละหมาดห้าเวลาถูกทอดทิ้งไป เหลือแค่ช่วงกลางคืนเท่านั้นที่ชาวมุสลิมสามารถละหมาดได้[18] รายงานจากอิบน์ อิสฮากว่า สถานะการณ์ตึงเครียดมากขึ้น และมีความกลัวอยู่ทุกที่[20]

การตอบรับของมุสลิม[แก้]

มุฮัมหมัดได้ส่งคนไป 100 คนไปในเมืองทันทีหลังจากได้ยินข่าวลือมาจากเผ่ากุร็อยเซาะฮ์ หลังจากนั้นจึงส่งทหารม้า 300 นาย (ทหารม้าไม่จำเป็นต้องอยู่ในสนามเพลาะ)[13] การที่กองทัพได้กล่าวคำสรรเสริญเสียงดัง ทำให้เกิดภาพลวงตาว่าเป็นกองทัพขนาดใหญ่[21]

ในตอนนั้นเอง นุอัยม์ อิบน์ มะซูดได้มาเยี่ยมมุฮัมหมัด โดยที่เขาเป็นผู้นำที่สมาพันธ์เชื่อถือได้ แต่ไม่มีใครรู้ว่าเขาเข้ารับอิสลามอย่างลับๆ แล้ว มุฮัมหมัดได้บอกให้เขาหยุดสงครามนี้โดยการสร้างความแตกแยกในสมาพันธ์

นุอัยม์ยอมรับแผนนี้ โดยที่เขาเริ่มไปหาพวกบนูกุร็อยเซาะฮ์ก่อน แล้วเตือนเรื่องความตั้งใจในของส่วนที่เหลือของสมาพันธ์ ถ้ายุทธวิธีนี้ล้มเหลว ฝ่ายสมาพันธ์ไม่กลัวที่จะทิ้งชาวยิว พร้อมกับให้สันติภาพกับมุฮัมหมัด แล้วพวกกุร็อยเซาะฮ์ต้องนำตัวประกันจากฝ่ายสมาพันธ์ ข้อเสนอแนะนี้ทำให้พวกเขาเริ่มมีความกลัวแล้ว[13][19]

จากนั้น นุอัยม์ได้ไปหาอบูซุฟยาน แล้วเตือนว่าพวกบนูกุร็อยเซาะฮ์ได้ยอมรับมุฮัมหมัดแล้ว และต้องการตัวประกัน เพื่อเป็นการตอบแทนในสิ่งที่ทำลงไป แต่ฝ่ายสมาพันธ์กลับไม่ส่งตัวประกันซักคน

หลังจากนั้น นุอัยม์ได้เผยแพร่ข้อความแบบเดียวกับให้กับเผ่าอื่นๆ ทุกเผ่าในสมาพันธ์[13][19]

ฝ่ายสมาพันธ์แตกแยก[แก้]

แผนการของนูอัยม์ได้ผล หลังจากที่พวกเขาโต้เถียงกันแล้ว ฝ่ายสมาพันธ์ได้ส่งอิกริมะฮ์ไปยังพวกกุร็อยเซาะฮ์ เป็นการส่งสัญญาณว่าพวกเขาจะโจมตีเป็นกลุ่ม แต่ทางเผ่าบนูกุร็อยเซาะฮ์ได้ขอให้ฝ่ายสมาพันธ์ส่งตัวประกันมาให้พวกเขา เพื่อเป็นข้อตกลงว่าจะไม่ทิ้งพวกเขา แต่พวกเขากลับปฏิเสธสัญญานี้[13][19]

อบูซุฟยานได้ส่งฮุยัย อิบน์ อัคตับตามที่เผ่าบนูกุร็อยเซาะตามสัญญา แต่เขาถูกนำตัวกลับไป แล้วถูกอบูซุฟยานตีตราว่า "คนทรยศ" จากนั้นฮุยัยจึงรีบหนีไปยังที่มั่นของเผ่ากุร็อยเซาะฮ์[13][19]

ส่วนเผ่าบนูคอฟาตานและกลุ่มอื่นๆ จากแคว้นนัจญ์ได้รับการประนีประนอมโดยการเจรจากับมูฮัมหมัด เนื่องจากว่าพวกเขาได้เข้าร่วมกลุ่มนี้เพื่อปล้นสดม มากกว่าที่จะมีส่วนอคติเกี่ยวกับอิสลาม พวกเขาเริ่มสูญเสียความหวังที่จะชนะ, เบื่อหน่ายต่อสงครามที่เยือดเยื้อ โดยกองทัพทั้งสองฝ่ายตีตราว่ามีการทะเลาะวิวาทและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน[19]

เสบียงของฝ่ายสมาพันธ์เริ่มหมดลง ม้าและอูฐของพวกเขาตายลงเนื่องจากความหิวโหยและบาดแผล หลายวันผ่านไปสภาพแวดล้อมเริ่มมีอากาศหนาวและชื้น มีพายุลูกใหญ่พัดถล่มค่ายอย่างหนัก ทำให้ฝ่ายสมาพันธ์ไม่มีไฟใช้ แต่ฝ่ายมุสลิมมีบ้านไว้กันพายุลูกใหญ่ไว้แล้ว ค่ายของฝ่ายศัตรูถูกถอนรากถอนโคนหมด ทั้งทรายและฝนได้พัดใส่หน้าพวกเขาอย่างหนัก และกลัวถึงลางบอกเหตุต่อพวกเขา

เช้าวันต่อมา ไม่มีฝ่ายสมาพันธ์เหลืออีกเลย[22]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Watt, Muhammad at Medina, p. 36f.
  2. Islamic Occasions. "Battle of al - Ahzab (Tribes), Battle of Khandaq (Dirch, Moat, Trench". สืบค้นเมื่อ 20 June 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 Rodinson, Muhammad: Prophet of Islam, p. 208.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Watt, Muhammad: Prophet and Statesman, pp. 167–174.
  5. The Sealed Nectar by Safi-ur-Rahman.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Nomani, Sirat al-Nabi, pp. 368–370.
  7. Sa'd, Ibn (1967). Kitab al-tabaqat al-kabir. Vol. 2. Pakistan Historical Society. pp. 82–84. ASIN B0007JAWMK.
  8. Mubarakpuri, The Sealed Nectar, pp. 196–198. (online)
  9. Muhammad Saed Abdul-Rahman, Tafsir Ibn Kathir Juz' 21 (Part 21): Al-Ankaboot 46 to Al-Azhab 30 2nd Edition, p. 122, MSA Publication Limited, 2009, ISBN 1861797338. (online)
  10. 10.0 10.1 al-Halabi, al-Sirat al-Halbiyyah, p. 19.
  11. 11.0 11.1 11.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Watt35-6
  12. 12.0 12.1 Lings, Muhammad: his life based on the earliest sources, pp. 215f.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ramadan
  14. 14.0 14.1 14.2 Rodinson, p. 209.
  15. Glasse & Smith, New Encyclopedia of Islam: A Revised Edition of the Concise Encyclopedia of Islam, p. 81.
  16. Tabqaar ibn-e-Sadd 1:412, Anwaar Mohammadiya minal mawahib Page 84.
  17. Razwy, Sayed Ali Asgher. "A Restatement of the History of Islam & Muslims": 171. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  18. 18.0 18.1 Peterson, Muhammad. Prophet of God, p. 123f.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ghatafanLings
  20. Peters Muhammad and the Origins of Islam, p. 221f.
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ huyayyLings
  22. Lings, pp. 227f.

สารานุกรม[แก้]

ข้อมูลปฐมภูมิ
  • Guillaume, Alfred, The Life of Muhammad: A Translation of Ibn Ishaq's Sirat Rasul Allah. Oxford University Press, 1955. ISBN 0-19-636033-1
ข้อมูลทุติยภูมิ

เว็บไซต์[แก้]