ยุทธการที่แวลเบิชด์
ยุทธการที่เวลเบิซด์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามบัลแกเรีย - เซอร์เบีย | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
บัลแกเรีย วอเลเคีย[1] | เซอร์เบีย | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
พระเจ้าซาร์มีคาอิล ชิชมันแห่งบัลแกเรีย † บาซาราบที่ 1 (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่) |
พระเจ้าสเตฟาน อูรอสที่ 3 แห่งเซอร์เบีย | ||||||
กำลัง | |||||||
ประมาณ 55,000 ทหารชาวบัลแกเรีย 43,000 นาย[2] กองทหารรับจ้าง 12,000 นาย[3] |
ประมาณ 40,000: ทหารชาวเซอร์เบีย 35,000 นาย, ทหารชาวเยอรมัน 2,000 นาย และ ทหารรับจ้างชาวอิตาลี 3,000 นายจากอาณาจักรนาโปลี [3] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
สูญเสียอย่างหนัก | เล็กน้อย |
ยุทธการที่แวลเบิซด์ (บัลแกเรีย: битка при Велбъжд ; เซอร์เบีย: Битка код Велбужда) เป็นยุทธการระหว่างกองทัพบัลแกเรียและเซอร์เบียในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1330 ใกล้กับเมืองแวลเวิซด์ ปัจจุบันคือเมืองคยูสเทนดิล[4]
การขยายอำนาจและความรุ่งเรืองของอาณาจักรเซอร์เบีย ทำให้มหาอำนาจอื่นในคาบสมุทรบอลข่านเริ่มมีความกังวล โดยจักรวรรดิไบแซนไทน์และบัลแกเรียตกลงที่จะดำเนินยุทธการทางทหารร่วมกันเพื่อต่อต้านเซอร์เบียในปี ค.ศ. 1327[5] 3 ปีต่อมากองทัพเซอร์เบียและบัลแกเรียปะทะกันที่แวลเบิชด์ ชัยชนะของเซอร์เบียในครั้งนี้ทำให้สมดุลของอำนาจในคาบสมุทรบอลข่านเปลี่ยนไป 2 ทศวรรษ แม้ว่าบัลแกเรียจะไม่เสียดินแดนใดจากยุทธการครั้งนี้ แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งกองทัพเซอร์เบียในการพิชิตมาซิโดเนียได้ ส่งผลให้เซอร์เบียสามารถขยายอำนาจเข้าสู่มาซิโดเนีย และดินแดนของเซอร์เบียก็ขยายอำนาจได้กว้างไกลที่สุด พระเจ้าสเตฟาน อูรอสที่ 4 แห่งเซอร์เบีย จึงสถานาตนเองขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิด้วยความช่วยเหลือเชิงพิธีการจากบัลแกเรียในปี ค.ศ. 1346
อย่างไรก็ตาม ทศวรรษหลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1355 พระเจ้าสเตฟาน อูรอสที่ 4 สวรรคต จักรวรรดิของพระองค์ก็แตกออกจากกัน คล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นในบัลแกเรียเมื่อพระเจ้าซาร์อีวาน อเล็กซานเดอร์แห่งบัลแกเรียสวรรคตในปี ค.ศ. 1371 ดินแดนทั้ง 2 ถูกจักรวรรดิออตโตมันเข้ายึดครองในเวลาต่อมา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Vásáry 2005, p. 112.
- ↑ Cantacuzenos, I, pp. 429. 19
- ↑ 3.0 3.1 Nic. Gregoras. I, р. 455. 7-9.
- ↑ Ćirković 2004, pp. 62.
- ↑ Lawler, Jennifer (2011). Encyclopedia of the Byzantine Empire. McFarland. p. 299.
แหล่งข้อมูล
[แก้]- Йордан Андреев, Милчо Лалков, Българските ханове и царе, Велико Търново, 1996.
- Ćirković, Sima (2004). The Serbs. Malden: Blackwell Publishing.
- Fine, John Van Antwerp Jr. (1994) [1987]. The Late Medieval Balkans: A Critical Survey from the Late Twelfth Century to the Ottoman Conquest. Ann Arbor, Michigan: University of Michigan Press. ISBN 0472082604.
- Ostrogorsky, George (1956). History of the Byzantine State. Oxford: Basil Blackwell.
- Vásáry, István (2005). Cumans and Tatars: Oriental Military in the Pre-Ottoman Balkans, 1185-1365. Cambridge University Press.
- Васил Н. Златарски, История на българската държава през средните векове, Част I, II изд., Наука и изкуство, София 1970.