ม่วงเทพรัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ม่วงเทพรัตน์
พรรณไม้มงคลพระราชทานนามเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Angiosperms
ชั้น: Asterids
อันดับ: Gentianales
วงศ์: Gentianaceae
สกุล: Exacum
สปีชีส์: E.  affine

ม่วงเทพรัตน์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Exacum affine, Persian Violet, Persian gentian, Persian, Arabian, German violet (Exacum affine) Balf.f. ex Regel)[1] พรรณไม้พระราชทานนาม โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พระราชกรณียกิจด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช[แก้]

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การเก็บรวบรวมข้อมูลพืชและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เมื่อทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงดูงานด้านนี้ในต่างประเทศ พระองค์ก็จะทรงนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาพระราชทานแก่นักวิชาการไทยเสมอ.

ความเป็นมา[แก้]

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชเนื่องในพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชิ้นส่วนของพืชเพื่อให้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551[2] สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเนื้อเยื่อพืชชนิดหนึ่งเพื่อให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ (อพ.สธ.) เก็บรักษาและขยายพันธุ์ตามศักยภาพ จนประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์เป็นอย่างดี ด้วยลักษณะดอกที่มีสีม่วงงดงาม จึงมีผู้นิยมนำไปขยายพันธุ์ปลูกไว้ชื่นชม เนื่องใน "โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 5 รอบ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" จึงได้ทูลเกล้าขอพระราชทาน ชื่อสามัญไทย ให้กับพืชชนิดนี้ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อไทยว่า“ม่วงเทพรัตน์” เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ม่วงเทพรัตน์ เป็นไม้ประดับชอบแสงแดด[3] พืชพื้นท้องถิ่นหายากบนเกาะ Socotra เกาะในหมู่เกาะ Yemen ในมหาสมุทรอินเดีย

  • ลำต้น มีความสูงไม่เกิน 60 เซนติเมตร
  • ใบ มีสีเขียวเข้ม รูปไข่ ยาวไม่เกิน 4 เซนติเมตร
  • ดอก มีสีม่วงอมฟ้า ลักษณะของดอกเมื่อบานเต็มที่มีลักษณะคล้ายดาว ดอกจะออกในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ผลิ สามารถกระตุ้นการออกดอกด้วนการปลิดดอกแห้งออกเพื่อกระตุ้นการออกดอกใหม่
  • เกสร มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเห็นได้ชัดเจน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • เมล็ด มีเมล็ดหลังดอกแห้งใช้เพื่อขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์[แก้]

สามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยการ ปักชำและใช้เมล็ด

ลักษณะดิน[แก้]

ชอบดินที่รักษาความชื้นได้ดีแต่ไม่อุ้มน้ำ

สารสำคัญ[แก้]

ส่วนเหนือดิน (Aerial part) ประกอบด้วย สารหลัก 2 กลุ่ม คือ

และ

  • สาร Caffeic
  • สาร Chlorogenic
  • สาร Ferulic
  • สาร Gallic
  • สาร Gentisic
  • สาร กลุ่ม Coumaric ได้แก่ o-coumaric, p-coumaric
  • สาร p-hydroxybenzoic
  • สาร Rosmarinic
  • สาร Salicylic
  • สาร Sinapic
  • สาร Syringic
  • สาร Vanillicacids 3,4
  • สารกลุ่ม Acetophenone Glycosides (affinoside, gentiopicroside, 2'-O-EIZ-p-coumaroylloganin, glucopaeonol) 5,
  • สาร paeonol 6
  • สารกลุ่มแทนนิน 1

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา[แก้]

  • ใช้ต้านไวรัส สำหรับฤทธิ์ต้านไวรัส: งานวิจัยในหลอดทดลองได้พิสูจน์พบว่าสารสกัดเมทานอลจากส่วนเหนือดินมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสหวัด [human influenza virus A/WSN/33 (H1N1)] และเชื้อไวรัสเริม (herpes simplex virus; HSV-1 strain KOS) ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 0.7 และ 12.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนสารสกัดน้ำมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสหวัด ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 3.1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร แต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสเริม1,3 และสารสำคัญคือ สารกลุ่ม phenolic acids3
  • ใช้ต้านโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ฤทธิ์ดึงดูดแมลง[แก้]

ฤทธิ์ดึงดูดแมลง สารสำคัญที่มีฤทธิ์ดึงดูดแมลง โดยเฉพาะผีเสื้อ คือ สาร paeonol6

สัญลักษณ์ของสิ่งปลูกสร้าง[แก้]

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับพระราชทานนามอาคารและศูนย์การแพทย์ด้วยพระนาม “สมเด็จพระเทพรัตน์” ทางคณะกรรมการประจำคณะฯ จึงพิจารณาให้ขอใช้ดอกม่วงเทพรัตน์เป็นสัญลักษณ์ประจำอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ซึ่งทางโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อนุญาตให้ใช้ได้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553 [4]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Mothana RAA, Mentel R, Reiss C, Lindequist U. Phytochemical screening and antiviral activity of some medicinal plants from the island Soqotra. Phytotherapy Res 2006;20:298-302.
  • Shankar R, Rawat MS, Deb S, Sharma BK. Jaundice and its traditional cure in Arunachal Pradesh. JPSI 2012;1(3):93-7.
  • Skrzypczak-Pietraszek E, Slota J, Pietraszek J. The influence of L-phenylalanine, methyl jasmonate and sucrose concentration on the accumulation of phenolic acids in Exacum affine Balf. f. ex Regel shoot culture. Acta Biochimica Polonica 2014;61(1):47-53.
  • Khadem S, Marles RJ. Monocyclic phenolic acids; hydroxy-and polyhydroxybenzoic acids: occurrence and recent bioactivity studies. Molecules 2010;15:7985-8005.
  • Kuwajima H, Shibano N, Baba T, Takaishi K, Inoue K, Shingu T. An acetophenone glycoside from Exacum affine. Phytochemistry 1996;41(1):289-92.
  • Matsumoto M. 2'-Hydroxy-4'-methoxyacetophenone (Paeonol) in Exacum affine ev. Biosci Biotech Biochem 1994;58(10):1892-3.
  • Mothana RAA, Lindequist U. Antimicrobial activity of some medicinal plants of the island Soqotra. J Ethnopharmacol 2005;96:177-181.
  • Mothana RAA, Grunert R, Lindequist U, Bednarski PJ. Study of the anticancer potential of Yemeni plants used in folk medicine. Pharmazie 2007;62(4):305-7.

http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/Plant/Mpri2013/pdf/Persian%20Violet.pdf[ลิงก์เสีย]

  • Trisonthi C, Trisonthi P. Ethnobotanical study in Thailand, a case study in Khun Yuam District Maehongson Province. Thai Journal of Botany 2009;1(1):1-23.
  • Jeeshna MV, Paulsamy S. Phytochemistry and bioinformatics approach for the evaluation of medicinal properties of the herb, Exacum bicolor Roxb. IRJP 2011;2(8):163-8.
  • Ashwini AM, Majumdar M. Qualitative phytochemical screening and in vitro anthelmintic activity of Exacum bicolor Roxb., an endemic medicinal plant from Western Ghats in India. Acta Biologica Indica 2014;3(1):510-4.

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-26. สืบค้นเมื่อ 2018-11-08.
  2. http://www.scimath.org/article-chemistry/item/4720-2015-03-16-04-12-15
  3. http://akitia.com/%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-exacum-affine/11/07/2010/
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-26. สืบค้นเมื่อ 2018-11-08.