มุญัดดิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มุญัดดิด (อาหรับ: مجدد) เป็นคำศัพท์อิสลามสำหรับผู้ที่นำ "การฟื้นฟู" (อาหรับ: تجديد) ต่อศาสนา[1][2] ตามหะดีษของชาวมุสลิมที่เป็นที่นิยม หมายถึงบุคคลที่ปรากฏตัวในทุก ๆ ศตวรรษของปฏิทินอิสลาม เพื่อฟื้นฟูอิสลาม ชำระล้างองค์ประกอบภายนอกและคืนสู่ความบริสุทธิ์ดั้งเดิม ในยุคปัจจุบัน มูญัดดิดถูกมองว่าเป็นมุสลิมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษ[3] แนวคิดนี้มีพื้นฐานมาจากสุนัต (คำกล่าวของนบีมุฮัมมัดแห่งอิสลาม)[4] บันทึกโดย อะบูดาวูด รายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮ์ ซึ่งนบีมุฮัมมัดกล่าวว่า:

แท้จริงอัลลอฮ์จะะส่งมายังประชาชาตินี้ในทุกๆต้นร้อยปี นั่นคือบุรุษผู้ซึ่งจะฟื้นฟูศาสนาของประชาชาตินี้แก่มวลประชามุสลิม

— ซุนัน อะบีดาวูด, หะดีษหมายเลขที่ 4291[5]

อิคติลาฟ (ความขัดแย้ง) มีอยู่ในหมู่ผู้ตรวจสอบหะดีษที่แตกต่างกัน นักวิชาการเช่น อัซซะฮะบี และ อิบน์ ฮะญัร อัลอัสเกาะลานี ได้ตีความว่าคำว่า มุญัดดิด สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นคำพหูพจน์ (มุญัดดิดีน) ดังนั้นจึงหมายถึงกลุ่มคน[6][7]

บรรดามุญัดดิด อาจรวมถึงนักวิชาการที่มีชื่อเสียง, ผู้ปกครองที่เคร่งศาสนา และขุนศึก[2]

รายชื่อของบรรดามุญัดดิด[แก้]

รายชื่อของบรรดามุญัดดิด อ้างอิงจากซิยัร อะอ์ลาม อันนุบะลาอ์ โดย อัซซะฮะบี, เอานุลมับอูด โดย ชัมซิลฮักก์ อัลอะซีมอาบาดีย์, บางส่วนจากตัฟซีร อัลมะนาร โดย มุฮัมมัด เราะชีด ริฎอ และบางส่วนจากหนังสือของอัสซุยูฏี และอื่นๆ

ศตวรรษที่ 1:[แก้]

  1. อุมัร อิบน์ อับดิลอะซีซ (ฮ.ศ. 61-101)[8]
  2. ฮะซัน อัลบัศรี (ฮ.ศ. 21-110)[8]

ศตวรรษที่ 2:[แก้]

  1. มุฮัมมัด อิบน์ อิดรีส อัชชาฟิอี (ฮ.ศ. 150-204)[8]
  2. อะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล (ฮ.ศ. 164-241)[9]
  3. มุฮัมมัด อิบน์ อิสมาอีล อัลบุคอรี (ฮ.ศ. 194-256)[10]
  4. มุสลิม อิบน์ อัลฮัจญาจญ์ (ฮ.ศ. 199/206-261)[10]
  5. อะบูดาวูด อัสซิญิสตานี (ฮ.ศ. 202-275)[10]

ศตวรรษที่ 3:[แก้]

  1. อะฮ์หมัด อิบน์ ชุอัยบ์ อันนะซาอี (ฮ.ศ. 214-303)[8]
  2. อะบุลอับบาส อิบน์ ซุร็อยจญ์ (ฮ.ศ. 249-306)[8]
  3. มุฮัมมัด อิบน์ คุซัยมะฮ์ (ฮ.ศ. 223-311)[11]
  4. อะบุลฮะซัน อัลอัชอะรี (ฮ.ศ. 240-324)[12]

ศตวรรษที่ 4:[แก้]

  1. อะบุฏฏ็อยยิบ ซะฮ์ล อัศเศาะอ์ลูกีย์ (เสียชีวิต 404)[13]
  2. อัลฮากิม อันนัยซาบูรี (ฮ.ศ. 321-405)[12]
  3. อะบูฮามิด อัลอิสฟะรอยีนี (ฮ.ศ. 344-406)[8]
  4. อะบูอุษมาน อัศศอบูนี (ฮ.ศ. 373-449)[14]
  5. อิบน์ ฮัซม์ อัลอันดะลุซี (ฮ.ศ. 384-456)[15]

ศตวรรษที่ 5:[แก้]

  1. อะบูฮามิด อัลเฆาะซาลี (ฮ.ศ. 450-505)[8]
  2. ฮุซัยน์ อิบน์ มัสอูด อัลบะเฆาะวี (ฮ.ศ. 433/436-516)[16]
  3. อับดุลกอดิร อัลญัยลานี (ฮ.ศ. 470-561)[17]
  4. เศาะลาฮุดดีน อัลอัยยูบี (ฮ.ศ. 538-589)[18]

ศตวรรษที่ 6:[แก้]

  1. อับดุลเฆาะนี อัลมักดิซี (ฮ.ศ.541-600)[8]
  2. อิบน์ กุดามะฮ์ อัลมักดิซี (ฮ.ศ. 541-620)[16]

ศตวรรษที่ 7:[แก้]

  1. อิบน์ ดะกีก อัลอีด (ฮ.ศ. 625-702)[8]
  2. ชัยคุลอิสลาม อิบน์ ตัยมียะฮ์ (ฮ.ศ. 661-728)[19]
  3. อิบน์ ก็อยยิม อัลเญาะซียะฮ์ (ฮ.ศ. 691-751)[18]
  4. อะบูอิสฮาก อัชชาฏิบี (ฮ.ศ. 720-790)[18]

ศตวรรษที่ 8:[แก้]

  1. อับดุรเราะห์มาน อิบน์ ค็อลดูน (ฮ.ศ. 732-808)[20]
  2. อิบน์ อัลวะซีร อัลยะมะนี (ฮ.ศ. 775-840)[18]
  3. ตะกียุดดีน อัลมักรีซี (ฮ.ศ.764-845)[21]

ศตวรรษที่ 9:[แก้]

  1. อิบน์ อัลมุบัรร็อด อัลฮัมบะลี (ฮ.ศ. 840-909)[16]
  2. ซุลัยมาน อัลกอนูนี (ฮ.ศ. 900-974)[22]
  3. มุฮัมมัด อัลบิรกิวี (ฮ.ศ. 929-981)[18]

ศตวรรษที่ 10:[แก้]

  1. ชัมซุดดีน อัรร็อมลี (ฮ.ศ. 957-1004)[10]
  2. มัรอี อัลกัรมี (ฮ.ศ. 988-1033)[23]
  3. กอฎี ซาดิฮ์ มุฮัมมัด (เสียชีวิต 1045)[24]

ศตวรรษที่ 11:[แก้]

  1. อิบรอฮีม อัลกูรอนี (ฮ.ศ. 1023-1101)[10]
  2. ศอลิห์ อิบน์ มะฮ์ดี อัลมักบะลี (ฮ.ศ. 1047-1108)[18]
  3. ชาฮ์ วะลียุลลอฮ์ อัดดะฮ์ละวี (ฮ.ศ. 1114-1176)[10]
  4. มุฮัมมัด อิบน์ อิสมาอีล อัศศ็อนอานี (ฮ.ศ. 1099-1182)[25]

ศตวรรษที่ 12:[แก้]

  1. มุรตะฎอ อัซซะบีดี (ฮ.ศ. 1145-1205)[10]
  2. มุฮัมมัด อิบน์ อับดุลวะฮ์ฮาบ (ฮ.ศ. 1114-1206)[26]
  3. ศอลิห์ อิบน์ มุฮัมมัด อัลฟะลานี (ฮ.ศ. 1166-1218)[10]
  4. มุฮัมมัด อัชเชากานี (ฮ.ศ. 1229-1250)[18]

ศตวรรษที่ 13:[แก้]

  1. มุฮัมมัด ศิดดีก ฮะซัน ข่าน อัลก็อนเนาญี (ฮ.ศ. 1248-1307)[10]
  2. มุฮัมมัด นะซีร ฮุซัยน์ อัดดะฮ์ละวี (ฮ.ศ. 1220-1320)[10]
  3. มุฮัมมัด ญะมาลุดดีน อัลกอซิมี (ฮ.ศ. 1283-1332)[27]
  4. อับดุรเราะห์มาน อิบน์ นาศิร อัสซะอ์ดี (ฮ.ศ. 1307-1376)
  5. มุฮัมมัด อัลอะมีน อัชชันกีฏี (ฮ.ศ. 1325-1393)[28]

ศตวรรษที่ 14:[แก้]

  1. มุฮัมมัด ตะกียุดดีน อัลฮิลาลี (ฮ.ศ. 1311-1407)[29]
  2. อับดุลอะซีซ อิบน์ บาซ (ฮ.ศ. 1330-1420)[28]
  3. มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลอัลบานี (ฮ.ศ. 1333-1420)[28]
  4. มุฮัมมัด อิบน์ ศอลิห์ อัลอุษัยมีน (ฮ.ศ. 1347-1421)[28]

อ้างอิง[แก้]

  1. Faruqi, Burhan Ahmad (16 August 2010). The Mujaddid's Conception of Tawhid. p. 7. ISBN 9781446164020. สืบค้นเมื่อ 31 December 2014.
  2. 2.0 2.1 Meri, Josef W., บ.ก. (2006). Medieval Islamic Civilization: An Encyclopedia. Psychology Press. p. 678. ISBN 9780415966900.
  3. "Mujaddid – Oxford Islamic Studies Online". www.oxfordislamicstudies.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-03.
  4. Neal Robinson (2013), Islam: A Concise Introduction, Routledge, ISBN 978-0878402243, Chapter 7, pp. 85–89
  5. Abi Dawud 4291[ลิงก์เสีย]
  6. Fath al-Baari (13/295)
  7. Taareekh al-Islam (23/180)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 8.8 ซิยัร อะอ์ลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 14 หน้า 203 โดย ชัมซุดดีน อัซซะฮะบี
  9. มินอะอ์ลาม อัลมุญัดดิดูน หน้า 7 โดย ศอลิห์ อัลเฟาซาน
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 เอานุลมะอ์บูด เล่ม 11 หน้า 301-310 โดย มุฮัมมัด ชัมซุกฮักก์ อัลอาบาดี
  11. วีดิโอเทป: ซีรีส์ใหม่ หลักศรัทธาเบื้องต้น | ตอนที่ 4 : หลักการ ศรัทธาของชาวสะลัฟ โดย อามีน ลอนา
  12. 12.0 12.1 อิซาตุลคุฟาอ์ เล่ม 7 หน้า 77 โดย ชาฮ์วะลียุลลอฮ์ อัดดะฮ์ละวี
  13. ซิยัร อะอ์ลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 17 หน้า 208-209 โดย ชัมซุดดีน อัซซะฮะบี
  14. Ayub, Zulfiqar (2 May 2015). THE BIOGRAPHIES OF THE ELITE LIVES OF THE SCHOLARS, IMAMS & HADITH MASTERS Biographies of The Imams & Scholars. Zulfiqar Ayub Publications. p. 167.
  15. ดูเพิ่ม ตัฟซีร อัลมะนาร โดย มุฮัมมัด เราะชีด ริฎอ
  16. 16.0 16.1 16.2 أرشيف ملتقى أهل الحديث - قائمة المجددين من أهل السنة
  17. มัจญ์มูอ์ อัลฟะตาวา เล่ม 10 หน้า 455 โดย ชัยคุลอิสลาม อิบน์ ตัยมียะฮ์
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 18.6 วารสารอัลมะนาร ฉบับ 1 หน้า 3-4 โดย มุฮัมมัด เราะชีด ริฎอ
  19. มินอะอ์ลาม อัลมุญัดดิดูน หน้า 35 โดย ศอลิห์ อัลเฟาซาน
  20. อับเกาะริยาต อิบน์ ค็อลดูน หน้า 117 โดย อะลี อับดุลวาฮิด วาฟี
  21. Ahmad Bin Ali al-Maqrizi al-Shafi'i (d. 845H) on Tawhid, Shirk, Rububiyyah, Uluhiyyah, Shafaa'ah by Abu 'Iyaad Amjad Rafiq
  22. ชัซเราะตุซซะฮับ เล่ม 8 หน้า 373 โดย อิบน์ อัลอิมาด อัลฮัมบะลี
  23. อัสซุฮุล อัลวาบิละฮ์ หน้า 463 โดย อับดุลลอฮ์ บิน ฮุมัยด์
  24. السلفية العثمانية: إحيائية إسلامية في مواجهة البدع الصوفية[ลิงก์เสีย]
  25. ฟะฮะร็อส อัลฟะฮาริส วัลอัษบาต หน้า 513 โดย อับดุลฮัยย์ อิบน์ อับดุลกะบีร อัลกิตตานี
  26. มินอะอ์ลาม อัลมุญัดดิดูน หน้า 83 โดย ศอลิห์ อัลเฟาซาน
  27. เกาะวาอิด อัตตะห์ดีษ หน้า 9 โดย ญะมาลุดดีน อัลกอซิมี
  28. 28.0 28.1 28.2 28.3 العلماء المجددون شروطهم صفاتهم ونماذج منهم
  29. محاضرة واجب العلماء تجاه الدعوة جامعة الملك عبدالعزيز بجدة عام ١٤٠٤ هجري