มุซัยลิมะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุซัยลิมะฮ์
مُسَيْلِمَةُ
ฉากการสังหารมุซัยลิมะฮ์โดยวะฮ์ชี อิบน์ ฮัรบ์ใน ทอรีฆนอเม
เกิดอัลยะมามะฮ์
เสียชีวิตค.ศ. 632
อัลยะมามะฮ์
สุสานไม่ทราบ
ชื่ออื่นมัสละมะฮ์ อิบน์ ฮะบีบ มุซัยลิมะฮ์ อัลกัษษาบ
คู่สมรสซะญาห์ บินต์ อัลฮาริษ
บุตรไม่มี
บิดามารดา
  • ฮะบีบ (บิดา)
  • ไม่ทราบ (มารดา)

มุซัยลิมะฮ์ (อาหรับ: مُسَيْلِمَةُ) หรือ มัสละมะฮ์ อิบน์ ฮะบีบ (อาหรับ: مَسْلَمَةُ بْنُ حَبِيبٍ; เสียชีวิต ค.ศ. 632) เป็นนักเทศน์ในด้านเอกเทวนิยม[1][2][3]จากเผ่าบะนูฮะนีฟะฮ์[4][5] เขาอ้างตนเองเป็นศาสดาในอาระเบียเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยเป็นหัวหน้าในช่วงสงครามริดดะฮ์ มุสลิมถือว่าเขาเป็นศาสดาจอมปลอม หรือ "จอมโกหก" (อาหรับ: اَلْكَذَّابُ)[6]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ชื่อจริงของมุซัยลิมะฮ์คือ มัสลามาฮ์ บิน ฮาบีบ แต่มุสลิมเรียกเขาเป็นมุซัยลิมะฮ์ ซึ่งเป็นชื่อเล่นของมัสละมะฮ์[7][8]

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

มุซัยลิมะฮ์เป็นบุตรของฮะบีบ จากเผ่าบะนูฮะนีฟะฮ์ หนึ่งในเผ่าที่ใหญ่ที่สุดในอาระเบีย ซึ่งอาศัยอยู่ในแคว้นนัจญด์ บะนูฮะนีฟะฮ์เป็นตระกูลที่นับถือศาสนาคริสต์ของบะนูบักร์ และดำรงอยู่อย่างอิสระก่อนการปรากฏตัวของอิสลาม[9]

ในบันทึกแรกที่มุซัยลิมะฮ์มีส่วนเกี่ยวข้องคือการป้กป้องเผ่าของตนเองโดยให้พวกเขานับถือศาสนาอิสลามในช่วงปลายฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 9

อ้างตนเป็นศาสดาและคำสอน[แก้]

คำสอนของเขาเกือบสูญหายไป แต่ยังมีการทบทวนอย่างเป็นกลางอยู่ในแดเบสทอเนแมซอเฮบ[10] โดยมีรายงานว่า เขาให้ละหมาด 3 ครั้งต่อวัน โดยหันไปทิศใดก็ได้ เขาให้ถือศีลอดในเวลากลางคืนในเดือนเราะมะฎอน แทนที่จะเป็นตอนกลางวัน ห้ามการขลิบปลายอวัยวะเพศ มุซัยลิมะฮ์ประกาศว่าทาสคนใดที่เข้ารับศาสนาของตนจะกลายเป็นไท และยังกล่าวอีกว่าการใส่ชื่อเขาหรือชื่อศาสดาคนใดในการละหมาดเป็นเรื่องที่ผิด[11]

มุซัยลิมะฮ์ ผู้ที่นักประวัติศาสตร์มุสลิมกล่าวหาว่ามีความสามารถในการร่ายคาถา[12] สร้างปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้คนด้วยสิ่งนี้ เช่น ใส่ไข่ลงในขวด, ตัดขนนกแล้วติดที่เดิมให้มันบินใหม่ได้ และใช้ความสามารถนี้ดึงดูดผู้คนให้สนใจเขามากขึ้น

มุซัยลิมะฮ์ได้แบ่งปันโองการที่เขาอ้างว่ามาจากอัลลอฮ์[13] แล้วบอกผู้คนว่ามุฮัมมัดได้แบ่งอำนาจให้กับเขา หลังจากนั้น ผู้คนเริ่มเชื่อว่าเขาเป็นศาสดาเหมือนกับศาสดามุฮัมมัดและนำทางให้เผ่าของเขาดีขึ้น มุซัยลิมะฮ์จึงเริ่มทำภารกิจเหมือนกับศาสดาของอัลลอฮ์ และแบ่งปันโองการที่เขาอ้างว่าเป็นโองการในอัลกุรอ่าน โดยอายะฮ์ส่วนใหญ่ที่เขาอ้างมีเนื้อหาสรรเสริญเผ่าบนีฮานีฟะฮ์มากกว่าชาวกุเรช

วันหนึ่งเขาเขียนจดหมายถึงมุฮัมมัดในช่วงปลายฮ.ศ.10 ความว่า:

มุฮัมมัดจึงตอบกลับมาว่า:

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ในช่วงสงครามริดดะฮ์ที่เกิดขึ้นหลังศาสดามุฮัมหมัดเสียชีวิต ซะญาห์ บินต์ อัลฮาริษประกาศตนเองเป็นศาสดาหญิงหลังเรียนรู้ว่ามุซัยลิมะฮ์และฏุลัยฮะฮ์ได้ประกาศเป็นศาสดาแล้ว[15] ผู้คน 4,000 คนรวมตัวไปที่มะดีนะฮ์กับเธอ ส่วนที่เหลือค่อยสมทบไป อย่างไรก็ตาม เธอได้ยกเลิกแผนโจมตีมะดีนะฮ์หลังรู้ว่ากองทัพของคอลิด อิบน์ อัลวะลีดเอาชนะฏุลัยฮะฮ์ อัลอะซะดี (ผู้อ้างตนเองเป็นศาสดาอีกคน)[16] ภายหลัง เธอกับมุซัยลิมะฮ์จึงร่วมมือกำจัดภัยของคอลิด ต่อมา ทั้งคู่แต่งงานและซะญาห์ยอมรับเขาเป็นศาสดาด้วย คอลิดเอาชนะกลุ่มกบฏที่หลงเหลือของซะญาห์และค่อยไปต่อสู้กับมุซัยลิมะฮ์

เสียชีวิต[แก้]

มุซัยลิมะฮ์สู้รบและเสียชีวิตในยุทธการที่ยะมามะฮ์

อ้างอิง[แก้]

  1. Margoliouth, D. S. (1903). "On the Origin and Import of the Names Muslim and Ḥanīf". Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. 5: 467–493. doi:10.1017/S0035869X00030744. JSTOR 25208542. S2CID 162441218.
  2. Beliaev, E. A. (1966). Arabs, Islam and Arabian Khalifat in the middle ages (2nd ed.). Moscow. pp. 103–108.
  3. Petrushevskii, I. P. (1966). Islam in Iran in VII–XV centuries. Leningrad. pp. 13–14.
  4. Fattah, Hala Mundhir; Caso, Frank (2009). A Brief History of Iraq (ภาษาอังกฤษ). Infobase Publishing. ISBN 9780816057672.
  5. Emerick, Yahiya (2002-04-01). Critical Lives: Muhammad (ภาษาอังกฤษ). Penguin. ISBN 9781440650130.
  6. Ibn Kathīr, Ismāʻīl ibn ʻUmar (2000). Ṣafī al-Raḥmān Mubārakfūrī (บ.ก.). al-Miṣbāḥ al-munīr fī tahdhīb tafsīr Ibn Kathīr. Vol. 1. Riyadh, Saʻudi Arabia: Darussalam. p. 68.
  7. "مسلمة الحنفي في ميزان التاريخ لجمال علي الحلاّق" (ภาษาอาหรับ). Elaph. 14 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 September 2017.
  8. "مسلمة الحنفي في ميزان التاريخ لجمال علي الحلاّق" (ภาษาอาหรับ). Elaph. 14 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 September 2017.
  9. El-Badawi, Emran (2013). The Qur'an and the Aramaic Gospel Traditions. Routledge. p. 69. ISBN 9781317929338.
  10. "The DABISTÁN, or SCHOOL OF MANNERS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-26. สืบค้นเมื่อ 2014-07-20.
  11. Dabestan-e Mazaheb, Chapter VII
  12. The Life of the Prophet Muhammad [May Peace and the Blessings of Allah Be Upon Him] : Al-Sira Al-Nabawiyya By Ibn Kathir, Trevor Le Gassick, Muneer Fareed, pg. 67
  13. The Life of the Prophet Muhammad: Al-Sira Al-Nabawiyya By Ibn Kathir, Trevor Le Gassick, Muneer Fareed, pg. 69
  14. Poonawala, Ismail K. The History of Al Tabari By Ṭabarī. p. 107.
  15. E.J. Brill's first encyclopedia of Islam, 1913–1936 By M. Th. Houtsma, p665
  16. The Life of the Prophet Muhammad: Al-Sira Al-Nabawiyya By Ibn Kathir, Trevor Le Gassick, Muneer Fareed, pg. 36.
  • บทความนี้เรียบเรียงจากเนื้อหาที่ปรากฏใน สารานุกรมนัททอลล์ฉบับ ค.ศ. 1907 (The Nuttall Encyclopædia) ซึ่งในปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ