มีด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มีด คือเครื่องมือชนิดแรกๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างยาวนาน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแทบจะทุกกิจกรรม ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธุ์ หรือกลุ่มสังคมใดๆ ก็ตาม มีดเป็นเครื่องมือตัดเฉือนชนิดมีคมสำหรับใช้ สับ หั่น เฉือน ปาด บางชนิดอาจมีปลายแหลมสำหรับกรีด หรือแทง มักมีขนาดเหมาะสมสำหรับจับถือด้วยมือเดียว

ประเภทของมีดตามการใช้งาน[แก้]

ใช้เป็นอาวุธ[แก้]

ใช้เป็นเครื่องครัว[แก้]

มีดปังตอแบบจีนและมีดอีโต้แบบอเมริกาเหนือ
  • มีดเชฟ (chef's knife) หรือมีดฝรั่งเศส (French knife) มีดที่ใช้สำหรับเตรียมอาหาร ใช้สำหรับหั่นเป็นต้น
  • มีดตัดขนมปัง (bread knife) มีดที่มีฟันเลื่อยใช้ตัดขนมปัง
  • มีดปาดหน้าเค้ก (frosting spatula) มีดที่ไม่มีคมใช้สำหรับตกแต่งครีมบนเค้ก บางแห่งเรียกมีดชนิดนี้ว่า palette knife
  • มีดเลาะกระดูก (boning knife) มีดที่ใช้เลาะกระดูกหรือก้างออกจากเนื้อเป็ดไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อปลา
  • มีดแล่ (carving knife) มีดขนาดใหญ่ใช้สำหรับเฉือนอาหารออกเป็นชิ้นบางๆ มีดชนิดนี้บางกว่ามีดเชฟ ไม่เหมาะกับการหั่น
  • มีดปังตอ (cleaver) มีดปังตอ เป็นมีดขนาดใหญ่ ใบมีดหนา ใช้ตัดเนื้อที่ติดกระดูก หรือใช้สับ
  • มีดปอกผลไม้ (Utility knife, Paring knife) มีดขนาดเล็ก ใบมีดยาวตั้งแต่ 3-5 นิ้ว ใช้ปอกผิวผลไม้ หรือหั่นตัดผักผลไม้ชิ้นเล็กๆ
  • มีดไฟฟ้า (electric knife) เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีใบมีดเป็นใบเลื่อย
  • มีดบนโต๊ะอาหารเช่น มีดปาดเนย (butter knife) มีดสเต๊ก (steak knife)

ใช้เป็นเครื่องมือ[แก้]

  • มีดผ่ายางรถยนต์ เป็นมีดที่มีขนาดใหญ่และมีความคมมาก ใบมีดยาวประมาณ 9-12 นิ้ว ใช้ในการผ่ายางรถยนต์เพื่อจะนำยางไปทำอย่างอื่นต่อไป
  • มีดคัตเตอร์ มีทั้งเล่มเล็กขนาด L30 และเล่มใหญ่ขนาด L50 มีความคมปานกลางหรือมีความคมมาก เพราะใบมีดนี้ใช้ตัด กรีด เฉพาะชิ้นงานทั้งกระดาษ และวัสดุต่างๆ แต่มีข้อยกเว้นในการใช้คือห้ามใช้อาวุธป้องกันหรือใช้มีดเพื่อแหย่เล่นถึงบาดเจ็บจนตาย รวมทั้งห้ามตัดชิ้นวัสดุของแข็ง เช่น ประเภทแก้ว ประเภทยาง ประเภท PVC และประเภทโลหะทุกชนิด เพราะทำให้มีดคัตเตอร์นั้นไม่คมและผู้ใช้มีดคัตเตอร์นี้เกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บในการใช้งานได้

ส่วนประกอบของมีด[แก้]

  • ใบ
  • ด้าม
  • ปลาย
  • สัน
  • คม

ประวัติของมีดในประเทศไทย[แก้]

ค้นพบครั้งแรกราว 30,000 ปี ตามแหล่งโบราณคดีต่างๆ โดยวัสดุที่ใช้ทำมีดจะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย

มีดในยุคหิน[แก้]

มักทำจากกระดูกหรือหินที่กระเทาะให้มีความแหลมคมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือและอาวุธ โดยมีหลักฐานจากแหล่งโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆเช่น

  • แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่
  • ถ้ำในอำเภอไทรโยค ถ้ำต่างๆในบริเวณลุ่มน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี
  • ถ้ำผีแมนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • เพิงผาช้างที่อุทยานแห่งชาติ ออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่
  • แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
  • แหล่งโบราณคดีโนนป่าหวาย แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
  • แหล่งโบราณคดีโคกเจริญ แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
  • แหล่งโบราณคดีโนนเก่าน้อยในด้านตะวันออกของหนองหาน อำเภอกุมภวาปี
  • แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี


มีดในยุคสำริด[แก้]

ทำจากวัสดุสำริด ขึ้นรูปโดยการหล่อและการตี มักพบตามแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ซึ่งเป็นสายแร่ทองแดงเช่น

  • แหล่งโบราณคดีภูโล้น ริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีช่วงอายุประมาณ 3,750-3,425 ปี
  • แหล่งโบราณคดี บ้านนาดี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีพบการหล่อสัมฤทธิ์เป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีอายุประมาณ 2,700-2,400 ปี
  • แหล่งโบราณคดีในลุ่มน้ำมูล ที่มีการใช้สำริด เช่นที่บ้านประสาท บ้านหลุมข้าว อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา
  • แหล่งโบราณคดีแหล่งศูนย์การทหารปืนใหญ่ พบการใช้สำริดทำเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีอายุประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว
  • แหล่งโบราณคดีโนนป่าหวาย บ้านห้วยโป่งอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นแหล่งใหญ่ในการผลิตแร่ทองแดงประมาณ 3,500-3,000 ปีมาแล้ว
  • อ่างเก็บน้ำนิลกำแหง อายุประมาณ 3,301-2,900 ปี

อ้างอิง[แก้]