มิลิตซา รากิช
มิลิตซา รากิช | |
---|---|
เกิด | 9 มกราคม ค.ศ. 1996 เบลเกรด สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย |
เสียชีวิต | 17 เมษายน ค.ศ. 1999 เบลเกรด | (3 ปี)
พลเมือง | ยูโกสลาฟ |
มีชื่อเสียงจาก | เด็กที่เสียชีวิตใสการทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียโดยเนโท |
มิลิตซา รากิช (เซอร์เบีย: Милица Ракић / Milica Rakić; 9 มกราคม 1996 – 17 เมษายน 1999) เป็นเด็กหญิงอายุสามขวบที่เสียชีวิตจากระเบิดลูกปรายในเบลเกรดระหว่างเนโททิ้งระเบิดในยูโกสลาเวีย
ชีวประวัติ
[แก้]มิลิตซา รากิช เกิดในเบลเกรดเมื่อวันที่ 9 มกราคม 1996[1] บิดามารดาชื่อว่าฌาร์กอ (Žarko) และดูชิตซา (Dušica) เธอมีพี่ชายหนึ่งคน ชื่ออาเล็กซา (Aleksa)[2]
ระหว่างเวลา 21:30–22:00 น. ของวันที่ 17 เมษายน 1999 รากิชวัยสามขวบถูกสะเก็ดระเบิดจากระเบิดลูกปรายขณะอยู่ในห้องน้ำ บนชั้นสองของอะพาร์ตเมนต์เลขที่ 8 ถนนดิมิตริยา ลาซารอวา ราเช ในบาตัยนิตซา ย่านชานเมืองของเบลเกรด[3] บ้านของเธอตั้งอยู่ห่างจากฐานทัพอากาศบาตัยนิตซาประมาณ 1 กิโลเมตร (0.62 ไมล์) บาตัยนิตซาเป็นเป้าโจมตีของเนโทหลายครั้งระหว่างการทิ้งระเบิดในยูโกสลาเวียซึ่งดำเนินไประหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 1999[4] รากิชเสียชีวิตทันทีขณะที่ยังคงนั่งอยู่บนโถส้วมสำหรับเด็ก[5] ในการโจมตีครั้งเดียวกันนี้มีพลเมืองได้รับบาดเจ็บอีกห้าคน[6]
พิธีศพของเธอจัดขึ้นในวันที่ 19 เมษายน[2] ในวันเดียวกัน มิลัน ก็อมเนนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ เผยแพร่แถลงการณ์ระบุว่าเธอเสียชีวิตเพราะ "พวกขี้ขลาดจากเนโท"[7]
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]รากิชเป็นหนึ่งในเด็กทั้งหมด 89 คนที่เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดของเนโท ตามที่มีร์กอ สเว็ตกอวิช นายกรัฐมนตรีเซอร์เบีย กล่าวอ้าง[8] การเสียชีวิตของรากิชได้รับความสนใจและได้รับการรายงานอย่างมากในสื่อของเซอร์เบีย[9] ในทางกลับกัน เรื่องราวของเธอแทบไม่ได้รับการรายงานในสื่อข่าวของตะวันตกเลย[10] ในรายงานการทิ้งระเบิดในยูโกสลาเวียของเนโทฉบับสุดท้ายยังไม่มีการระบุถึงการเสียชีวิตของรากิช แม้แต่ในหมวดหมู่ "อุบัติการณ์พิเศษ"[11] ผู้ตรวจการจากฮิวแมนไรตส์วอตช์ (เอชอาร์ดับเบิลยู) เดินทางไปเยี่ยมจุดที่เธอเสียชีวิตในวันที่ 7 สิงหาคม 1999 และตรวจสอบความเสียหาย รวมถึงสัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์ รายงานโดยผู้ตรวจการของเอชอาร์ดับเบิลยูระบุว่าระเบิดลูกปรายตกลงข้างอะพาร์ตเมนต์ที่รากิชอาศัยอยู่[3] เหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรกที่มีรายงานยืนยันว่าเนโทใช้ระเบิดลูกปรายในเซอร์เบีย ก่อนหน้านี้มีเพียงบันทึกการใช้ระเบิดลูกปรายแค่ในคอซอวอเท่านั้น[4] กระทรวงสาธารณสุขของยูโกสลาเวียยังมอบภาพถ่ายของเหตุการณ์ให้แก่เอชอาร์ดับเบิลยู ซึ่งต่อมาไปปรากฏอยู่ในหนังสือ หนังสือปกขาวว่าด้วยอาชญากรรมของเนโทในยูโกสลาเวีย ที่รัฐบาลยูโกสลาเวียจัดพิมพ์เผยแพร่[3]
สาธารณชนเซอร์เบียบางภาคส่วนได้เรียกร้องให้คริสตจักรออร์ทอดอกซ์เซอร์เบียประกาศให้รากิชเป็นนักบุญ[12]
ในปี 2004 อารามตเวอร์ด็อชใกล้กับเมืองเตรบิเญในประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เปิดตัวภาพปูนเปียกแสดงภาพรากิชประกอบจารึกที่เรียกขานเธอว่าเป็นนวมรณสักขี (neomartyr) ในช่วงเดียวกัน คริสตจักรออร์ทอดอกซ์เซอร์เบียได้ประกาศว่าจะพิจารณาประกาศให้เธอเป็นนักบุญหากคัลต์ของเธอมีผู้ติดตามอย่างกว้างขวาง[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "List of killed, missing and disappeared 1998–2000". Humanitarian Law Center. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Ilic, Srdjan (19 April 1999). "Kosovo Crisis: The Conflict". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Human Rights Watch (February 2000). "Civilian Deaths in the NATO Air Campaign". สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
- ↑ 4.0 4.1 Hudson, Robert C. (2007). "Lessons from Kosovo: Cluster Bombs and Their Impact Upon Post-Conflict Reconstruction and Rehabilitation". ใน Ferrándiz, Francisco; Robben, Antonius C.G.M. (บ.ก.). Multidisciplinary Perspectives on Peace and Conflict Research: A View from Europe. Bilbao, Spain: University of Deusto. p. 235. ISBN 9788498305203.
- ↑ Peric Zimonjic, Vesna (14 May 1999). "Yugoslavia: NATO Cluster Bombs Spray Death". Inter Press Service. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
- ↑ Krieger, Heike (2001). The Kosovo Conflict and International Law: An Analytical Documentation 1974–1999. Cambridge, England: Cambridge University Press. p. 502. ISBN 978-0-521800-716-.
- ↑ Norwegian People's Aid South Eastern Europe (2007). Yellow Killers: The Impact of Cluster Munitions in Serbia and Montenegro. Oslo, Norway: Norwegian People's Aid. p. 67. OCLC 350363422.
- ↑ "Serbia marks bombing anniversary". BBC News. 24 March 2009. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
- ↑ Atanasovski, Srđan (2016). "Recycled Music for Banal Nation: The Case of Serbia 1999–2010". ใน Mazierska, Ewa; Gregory, Georgina (บ.ก.). Relocating Popular Music: Pop Music, Culture and Identity. New York City: Palgrave Macmillan. p. 101, note 2. ISBN 978-1-13746-338-8.
- ↑ Sremac, Danielle (1999). War of Words: Washington Tackles the Yugoslav Conflict. Westport, Connecticut: Greenwood Publishing. ISBN 978-0-27596-609-6.
- ↑ Satjukow, Elisa (2017). ""These Days, When a Belgrader Asked, 'How are You Doing?', the Answer is, 'I'm Waiting': Everyday Life During the 1999 NATO Bombing". ใน Roth, Klaus; Kartarı, Asker (บ.ก.). Crises Related to Natural Disasters, to Spaces and Places, and to Identities. Cultures of Crisis in Southeast Europe. Münster, Germany: LIT Verlag. p. 338. ISBN 978-3-64390-791-2.
- ↑ Tolvaisis, Leonas (2013). "Historical Memories of Kosovo Serbs in the Post-War Period and Conflicting Serbian National Narratives About Kosovo" (PDF). Darbai Ir Dienos. Kaunas, Lithuania: Vytautas Magnus University: 215, note 13. ISSN 1392-0588.
- ↑ Pašić, P. (1 December 2004). "Mala Milica Rakić novi srpski svetac". Glas javnosti (ภาษาเซอร์เบีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.